พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างเบียดบังสินค้าของผู้เสียหาย แม้รับค่าคอมมิชชั่น ไม่ใช่เหตุผิดสัญญาแพ่ง
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้า ให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินมามอบให้ผู้เสียหาย จำเลยรับสินค้าไปจากผู้เสียหายแล้ว มิได้นำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า แต่นำไปจำนำ และขายฝาก เป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครอง ของจำเลยโดยทุจริต ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะเป็นลูกจ้าง ผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์ ของผู้เสียหายแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต จำเลยย่อม มีความผิดฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรกฎีกาของจำเลยที่ว่า พนักงานของผู้เสียหายไม่มีเงินเดือน แต่จะได้รับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นของการขายและเปอร์เซ็นต์ จากการขายเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่ใช่ลูกจ้างผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จึงไม่เป็นสาระสำคัญ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความยักยอกทรัพย์: ผู้เสียหายทราบความผิดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 การร้องทุกข์ล่าช้าทำให้คดีขาดอายุความ
การที่ผู้เสียหายมอบเงินจำนวน 250,000 บาท ให้จำเลยผู้เป็นสมุห์บัญชีธนาคารและเป็นเพื่อนบ้านไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายที่ธนาคารตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2536 แต่จำเลยก็ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้ในวันนั้นหรือในวันรุ่งขึ้นแล้วผัดผ่อนเรื่อยมา ซึ่งอย่างช้าภายในเดือนสิงหาคม 2536 ผู้เสียหายก็ต้องทราบว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้ว ฉะนั้น การที่ ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 แต่ผู้เสียหายเพิ่งร้องทุกข์เมื่อวันที่6 กันยายน 2538 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 และเมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อม ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงาน อัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์โดยอาศัยความไว้วางใจจากนายจ้าง แม้จะบรรเทาผลร้าย แต่เจตนาไม่จริงใจ ศาลฎีกายืนโทษ
จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอก แม้จะเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงนักและเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ได้กระทำโดยอาศัยโอกาสที่จำเลยได้รับมอบหมายหน้าที่และความไว้วางใจจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยให้เป็นผู้เก็บเงินจากลูกค้า อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง หลังจากที่จำเลยกระทำผิดและถูกจับมาดำเนินคดี จนศาลพิพากษาลงโทษ จำเลยก็หาได้บรรเทาผลร้ายให้แก่ผู้เสียหายไม่ การที่จำเลยนำเงิน 9,360 บาทไปวางไว้ที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ก็เป็นการกระทำหลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำเลยแล้ว การวางทรัพย์ของจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้รับการรอการลงโทษจากศาลฎีกาเท่านั้นหาใช่มีเจตนาแท้จริงที่จะบรรเทาผลร้ายให้แก่ผู้เสียหายไม่ อีกทั้งผู้เสียหายก็ยังติดใจดำเนินคดีต่อจำเลยอยู่ กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายเป็นทายาท และความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียน นักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสื้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4),28(2) หนังสือสัญญาพินัยกรรมระบุว่าผู้ตายเป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินตามฟ้องทั้ง 3 แปลง แต่ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2แทน โดยมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้นำที่ดินทั้ง 3 แปลงไปเป็นมรดกของผู้ตายโดยมิได้ระบุในรายการทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีมูลความผิดฐานยักยอก ส่วนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นมิได้เป็นทายาทของผู้ตายและมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาพินัยกรรมด้วยเชื่อว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้นำมาระบุไว้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352,83แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อกับคดีอาญา ยักยอกทรัพย์ สิทธิเรียกร้องแยกจากกัน
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6706/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความหมาย 'ทรัพย์ของบริษัท' ในข้อบังคับบริษัท – การยักยอกทรัพย์
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือ ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของบริษัทหรือของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัท... คำว่า "บริษัท" มิได้หมายถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงทรัพย์ที่บริษัทครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่า ของขวัญนาฬิกาตั้งโต๊ะที่โจทก์เบียดบังเอาไปเป็นของผู้ที่นำมามอบให้แก่บริษัท ข. ขณะที่ของขวัญนั้นอยู่ในความครอบคองดูแลและรับผิดชอบของจำเลย และจำเลยมอบให้โจทก์ครอบครองดูแลแทน ซึ่งจำเลยจะต้องนำของขวัญดังกล่าวไปมอบให้บริษัท ข. กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปตามข้อบังคับดังกล่าวอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อดังกล่าวของจำเลยในกรณีร้ายแรงแล้ว แต่กรณีมิใช่เป็นการยักยอกทรัพย์ของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6706/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์: ขอบเขตคำว่า 'บริษัท' ในข้อบังคับบริษัท
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือ ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของบริษัทหรือของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัท คำว่า"บริษัท" มิได้หมายถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงทรัพย์ที่บริษัทครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่า ของขวัญนาฬิกาตั้งโต๊ะที่โจทก์เบียดบังเอาไปเป็นของผู้ที่นำมามอบให้แก่บริษัท ข. ขณะที่ของขวัญนั้นอยู่ในความครอบครองดูแลและรับผิดชอบของจำเลย และจำเลยมอบให้โจทก์ครอบครองดูแลแทน ซึ่งจำเลยจะต้องนำของขวัญ ดังกล่าวไปมอบให้บริษัท ข. กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปตามข้อบังคับดังกล่าวอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อดังกล่าวของจำเลยในกรณีร้ายแรงแล้ว แต่กรณีมิใช่เป็นการยักยอกทรัพย์ของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: ผู้จัดการสหกรณ์นำเงินค่าข้าวไปใช้ส่วนตัว มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้นำปลายข้าวหักจำนวน 360 กระสอบของโจทก์ร่วมไปขายให้แก่ ค. นั้นจำเลยไม่ได้ทำในนามส่วนตัว แต่ได้ทำในนามของโจทก์ร่วมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม ดังนั้น เงินที่ค.ส่งมาชำระค่าสินค้าโดยผ่านเข้าบัญชีของจำเลยจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วม แม้ ค.จะส่งฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของจำเลยแต่ก็เพื่อให้จำเลยนำไปชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมอีกทีหนึ่งโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ จำเลยได้ และเมื่อฟังว่าเงินในบัญชีของจำเลยเป็นเงิน ค่าสินค้าของโจทก์ร่วมที่ผู้ซื้อสินค้ามาชำระให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมจึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาเงินนั้นไว้ไม่ให้สูญหาย แต่จำเลยกลับถอนเงินจำนวนนั้นไปเสียไม่ส่งคืนให้โจทก์ร่วมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กรณีหาใช่ผู้ซื้อสินค้าฝากเงิน ค่าสินค้าไว้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปชำระให้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนใดไปชำระก็ได้ตามฎีกาของจำเลยไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อ จากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลได้สอบถามจำเลยว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่จนกระทั่งบัดนี้แม้โจทก์จะฎีกาอ้างว่าได้มีคำพิพากษาแล้วในคดีอาญาก่อนก็ตามแต่ไม่ปรากฏเป็นที่กระจ่างชัดว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ศาลจึงไม่อาจนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการผ้าป่าร่วมกันรับผิดชอบเงิน หากยักยอกทรัพย์ ส.ง.ร. มีสิทธิร้องทุกข์ได้ แม้หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากร
สำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุดจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตามแต่เงินผ้าป่า 150,000 บาท เป็นเงินที่ชาวบ้านนำไปทอดให้สำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุดซึ่งพระภิกษุ ป. เป็นเจ้าคณะสงฆ์อยู่ในขณะนั้น พระภิกษุ ป. จึงมีหน้าที่ดูแลเงินผ้าป่าดังกล่าว เมื่อพระภิกษุ ป. มอบให้พระภิกษุ ข.เป็นผู้เลือกชาวบ้านเป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบจำนวนเงินนั้นส.ง.ร. และจำเลยได้รับเลือกเป็นกรรมการและร่วมกันรับมอบเงินจำนวนดังกล่าวไปเก็บรักษา หากจำนวนเงินดังกล่าวสูญหาย กรรมการทั้งสี่ต้องร่วมกันรับผิดต่อสำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุด แม้กรรมการแต่ละคนจะได้รับเงินเพียงบางส่วนไปเก็บรักษาก็เป็นการแบ่งความรับผิดชอบกันเองภายหลังจากรับเงินทั้งจำนวนมาแล้ว การที่จำเลยรับมอบเงินจำนวน40,000 บาท ไปเก็บรักษาแล้วยักยอกเงินจำนวนนั้นไปส.ง.ร. จึงเป็นผู้เสียหายในอันที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โดยถือว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของสำนักสงฆ์ห้วยน้ำผุดซึ่งอยู่ในความครอบครองของส.ง.ร. และจำเลย แม้หนังสือมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์จะไม่ได้ปิดแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เนื่องจาก ประมวลรัษฎากรฯมาตรา 118 ห้ามมิให้รับฟังหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ปิดแสตมป์เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น มิได้ห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญาด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการยักยอกทรัพย์ จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทผู้เสียหาย ไม่ใช่ผู้ครอบครองทรัพย์
เมื่อจำเลยเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนบริษัทผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ดังนั้น แม้จำเลยกับ จ. จะไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท และนำไปขายโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ป. กับ ร.โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทผู้เสียหาย และเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินพิพาทไป การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก