พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินร่วม การคืนเงินให้ผู้เสียหาย และสิทธิในเงินที่คืน
จำเลยถูกฟ้องหาว่ายักยอกเงินจำนวน 44,000 บาทซึ่งจำเลยกับผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยให้การรับสารภาพและได้นำเงินจำนวน 44,000 บาท มาวางศาลและแถลงขอให้ผู้เสียหายมารับส่วนของผู้เสียหายจำนวน 22,000 บาทไปได้ เช่นนี้เงินจำนวน 22,000 บาท จึงเป็นของผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายก็ไม่ทำให้เงินจำนวนนี้กลับกลายเป็นของจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิมาขอรับคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของประธานกรรมการสุขาภิบาลต่อความเสียหายจากการยักยอกเงิน เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการรับเงิน
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินของสุขาภิบาลกำหนดให้ต้องมีกรรมการควบคุมการไปรับเงินธนาคาร หากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลตั้งกรรมการไปรับเงินร่วมกับจำเลยที่ 1 กรรมการ ก็อาจควบคุมดูแลมิให้จำเลยที่ 1 ปลอมใบขอถอนเงินและรับเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวจึงเป็น เหตุโดยตรงที่ทำให้สุขาภิบาลโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลต่อการยักยอกเงิน และการฎีกาที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ตามฎีกาปรากฏว่า จำเลยที่ 1เป็นผู้ฎีกาแต่ผู้เดียว โดยทนายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทนายจำเลยที่ 2 ด้วยเป็นผู้ลงชื่อแทน แม้ฎีกาจะมีข้อความเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย แต่เมื่อไม่ปรากฏรายชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ฎีกาด้วย ฎีกาดังกล่าวก็เป็นฎีกาของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว
ฎีกาที่คัดลอกแต่ข้อความในอุทธรณ์มาเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สมุห์บัญชีเป็นผู้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบเงินให้สมุห์บัญชีแล้ว คณะกรรมการรักษาเงินจะตรวจสอบจากสมุห์บัญชีอีกต่อหนึ่งเป็นขั้นตอนไป เหตุทุจริตเกิดขึ้นเพราะสมุห์บัญชีไม่ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ จำเลยที่ 4 ที่ 5 ในฐานะปลัดสุขาภิบาลและกรรมการรักษาเงิน ไม่มีความจำเป็นต้องล้วงไปตรวจสอบถึงการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
ฎีกาที่คัดลอกแต่ข้อความในอุทธรณ์มาเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สมุห์บัญชีเป็นผู้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบเงินให้สมุห์บัญชีแล้ว คณะกรรมการรักษาเงินจะตรวจสอบจากสมุห์บัญชีอีกต่อหนึ่งเป็นขั้นตอนไป เหตุทุจริตเกิดขึ้นเพราะสมุห์บัญชีไม่ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ จำเลยที่ 4 ที่ 5 ในฐานะปลัดสุขาภิบาลและกรรมการรักษาเงิน ไม่มีความจำเป็นต้องล้วงไปตรวจสอบถึงการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันจากการยักยอกเงินและสิทธิในการไล่เบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ ไป ต้องร่วมกันรับผิดชอใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแก่สหกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคแรก ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่จะต้องรับผิดยิ่งหย่อนกว่ากันจึงต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันตามมาตรา 432 วรรคสาม เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินที่ยักยอกให้สหกรณ์ฯ ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของสหกรณ์ฯ มาไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 229 (3), 266 การที่โจทก์ใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ฯ ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ฯ จากจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้ชำระให้ไปแล้ว มิใช่ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกมา จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นการมาศาลด้วยมืออันไม่บริสุทธิ์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับสหกรณ์ฯ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อสหกรณ์ฯ นี้เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ จึงใช้สิทธิของสหกรณ์ฯ บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงิน: ความผิดสำเร็จรายวัน ไม่ถือเป็นกรรมเดียว
เจ้าพนักงานยักยอกเงิน เป็นความผิดสำเร็จแต่ละวันที่ไม่นำเงินส่งตามหน้าที่เป็นรายกระทง ไม่ใช่รวมกันทุกวันเป็นความผิดกรรมเดียว
คำสั่งนายอำเภอให้เจ้าพนักงานรับเงินรวบรวมส่งต่อไปตามระเบียบย่อมมีหน้าที่รักษาเงินในระหว่างนั้น ชั่วเวลาสั้นหรือยาวก็ตามการรับเงินรวบรวมส่งต่อไปเป็นการจัดการทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ด้วย
คำสั่งนายอำเภอให้เจ้าพนักงานรับเงินรวบรวมส่งต่อไปตามระเบียบย่อมมีหน้าที่รักษาเงินในระหว่างนั้น ชั่วเวลาสั้นหรือยาวก็ตามการรับเงินรวบรวมส่งต่อไปเป็นการจัดการทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารรับเช็คลงวันล่วงหน้าและภาระความรับผิดต่อการยักยอกเงินของพนักงาน
คนของโจทก์รับเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไว้ โดยออกเช็คส่วนตัวลงวันล่วงหน้าเข้าบัญชีธนาคารแทน ธนาคารพาณิชย์จะรับเช็คลงวันล่วงหน้าได้หรือไม่ และวันที่ในใบรับเช็คจะต้องตรงกับวันที่ที่ลงในเช็คหรือไม่นั้นไม่มีระเบียบหรือกฎข้อบังคับของธนาคารหรือของทางราชการวางไว้ธนาคารจำเลยที่ 2 ย่อมถือปฏิบัติในการบริการความสะดวกแก่ลูกค้าโดยการรับเช็คลงวันล่วงหน้าไว้เพื่อเรียกเก็บเงินให้ในเมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดโดยที่ธนาคารจำเลยที่ 2 ยอมรับเสี่ยงภัยในความเสียหายนั้นเองได้ โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหาย เพราะรับเช็คลงวันล่วงหน้าจากคนของโจทก์ จึงไม่ทราบว่าคนของโจทก์ยักยอกเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายจากการยักยอกเงิน และขอบเขตการตีความสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ายักยอกเอาเงินไปโดยไม่นำส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีแล้วจำเลยที่ 3 ไม่ได้ติดตามตรวจสอบเรียกเงินหรือบิลใบเสร็จรับเงินจากจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่เพื่อนำมาลงบัญชีเงินสดรับจ่ายประจำวันเสนอให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ปลัดสุขาภิบาลในฐานะกรรมการรักษาเงินทำการตรวจสอบจำเลยที่ 4 ที่ 5 ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 โดยตรงจำเลยที่ 4 ที่ 5 ตรวจสอบหลักฐานบัญชีการรับจ่ายเงินตามปกติไม่มีข้อบกพร่อง การที่จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไปจึงไม่เป็นผลอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 4 ที่ 5
ข้อที่ว่าต้องตีความในสัญญาค้ำประกันมิให้เป็นที่เสียหายแก่ผู้ค้ำประกันนั้นเมื่อสัญญาค้ำประกันมีข้อความแจ้งชัดไม่มีข้อจำกัดเฉพาะการขับรถจึงไม่จำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่นและการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไว้ว่าจะรับผิดชดใช้เงินที่ยักยอกให้แก่โจทก์นั้น ก็หาเข้าลักษณะที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันจะทำให้จำเลยที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอีกต่อไปไม่
ข้อที่ว่าต้องตีความในสัญญาค้ำประกันมิให้เป็นที่เสียหายแก่ผู้ค้ำประกันนั้นเมื่อสัญญาค้ำประกันมีข้อความแจ้งชัดไม่มีข้อจำกัดเฉพาะการขับรถจึงไม่จำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่นและการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไว้ว่าจะรับผิดชดใช้เงินที่ยักยอกให้แก่โจทก์นั้น ก็หาเข้าลักษณะที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันจะทำให้จำเลยที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอีกต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ทุจริตยักยอกเงินธนาคาร ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานธนาคารโจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินที่ผู้จัดการธนาคารสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินฝากจากลูกค้าซึ่งการรับเงินดังกล่าวเป็นการที่จำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำมามอบให้พนักงานธนาคารโจทก์เพื่อนำเข้าบัญชีของลูกค้าซึ่งต่อมาโจทก์ได้ชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าไปแล้วดังนี้ แม้ขณะจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ยังมิได้ใช้เงินให้แก่ลูกค้าก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการโดยใช้ฉบับที่ซ้ำกับเอกสารที่ส่งเงินแล้ว และความผิดร่วมยักยอกเงิน
จำเลยทำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีรถยนต์ที่ ช. นำมาชำระ แม้ จำเลยจะได้ประทับตราชื่อของจำเลยเป็นผู้รับเงินและมีรายการเสียภาษี ตามความเป็นจริงทุกประการก็ตามแต่จำเลยใช้ฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จรับเงินเหล่านั้นซ้ำกับฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงที่มี การนำส่งเงินภาษีที่เก็บได้ต่อทางราชการโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผู้ที่ได้ พบเห็นใบเสร็จเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นใบเสร็จที่ใช้ฉบับที่และเล่มที่ตามลำดับ ไม่ซ้ำกับฉบับที่และเล่มที่ของใบเสร็จอื่น ๆและได้มีการส่งเงินตามใบเสร็จเหล่านั้นต่อทางราชการตามระเบียบด้วยจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เพราะเป็นเอกสารที่ทางราชการทำขึ้น
ใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารสิทธิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่889/2492)
ใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารสิทธิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่889/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระงับข้อพิพาท ยักยอกเงิน vs ยืมเงิน สิทธิฟ้องอาญาหยุดนิ่งตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าได้มอบเงินให้จำเลยไปลงหุ้นจำนวน 350,000 บาท จำเลยได้ยักยอกเงินจำนวนนั้นไป ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เมื่อปรากฎว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันตามเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไป 350,000 บาทแล้ว ไม่สามารถใช้หนี้จำเลยให้บุคคลอื่นชำระหนี้แทนโยจำเลยเช็คเป็นประกันแก่บุคคลนั้นไว้ โจทก์ตกลงตามนั้น แสดงว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเอกสารหมาย ล.1 ขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องเงินที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในข้อหาฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)