คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยื่นคำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14524/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: กำหนดเวลา 90 วัน และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
ตามคำร้องขอของผู้ร้องที่อ้างว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยผู้คัดค้าน ข้อ 7.1 ระบุว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เป็นการร้องขอตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) ข้อ 7.2 ระบุว่า องค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (จ) และในข้อ 7.3 ระบุว่า การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง จึงต้องดำเนินการภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ความว่าเมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้วได้แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวในวันที่ 6 สิงหาคม 2557 ซึ่งเกินกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องย่อมขาดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
สำหรับข้อคัดค้านของผู้ร้องว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11560/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นเอกสารเท็จในชั้นยื่นคำร้อง ไม่ถึงขั้นความผิดแสดงหลักฐานเท็จ แต่เข้าข่ายแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การยื่นเอกสารเท็จในชั้นยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยในคดีดังกล่าวถึงแก่ความตาย ยังไม่ถึงชั้นพิจารณาพยานหลักฐานว่าจำเลยในคดีดังกล่าวถึงแก่ความตายไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานต้องยื่นต่อศาลแรงงานเดิมภายใน 15 วัน มิได้ยื่นโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานจะอุทธรณ์ได้เฉพาะในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ทั้งการอุทธรณ์นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 54 วรรคสองอีกด้วย โจทก์นำอุทธรณ์มายื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง มิได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นศาลแรงงานที่มีคำสั่งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแจ้งสิทธิขอพิจารณาใหม่และการยื่นคำร้องเป็นหนังสือ
แม้โจทก์มิได้แจ้งสิทธิในการยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 40 วรรคแรก ไม่มีผลทำให้การประเมินไม่ชอบเนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับประเมินในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่โดยขยายระยะเวลาเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
การโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือโดยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่แบบ ภ.ร.ด.9 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 25 และมาตรา 26 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จำนวนภาษีที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนยื่นคำร้องขอคืนตามกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10) และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.85/2542 โดยไม่มีอำนาจนำราคาขายยาสูบสูงสุดที่กำหนดโดยอธิบดีกรมสรรพสามิตตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาใช้เป็นฐานภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเหตุให้โจทก์รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบุหรี่ซิกาแรตที่โจทก์นำเข้าและจำหน่ายเพิ่มขึ้น และตั้งแต่มีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดราคายาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2549 โดยอาศัยความตามมาตรา 23 ดังกล่าว เมื่อระหว่างวันที่ 18 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โจทก์ต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มในจำนวนที่เพิ่มขึ้นแล้วเป็นเงิน 78,880,000 บาท โจทก์กำลังเตรียมยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอ้างว่า ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มต้องคำนวณโดยอ้างอิงจากจำนวนเต็มของราคาขายปลีกตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79/5 (2) พอถือได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ชำระไปแล้ว อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 (3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 9 ระบุเงื่อนไขให้ต้องขอคืนภาษีอากรตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ จึงจะดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน 8 เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 84/1 และ 84/2 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่อการคืนเงินภาษี: การพิจารณาบทบัญญัติที่ใช้บังคับ ณ ขณะยื่นคำร้อง
ขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 ถึงปีภาษี 2554 ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 วินิจฉัยว่า ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การพิจารณาว่า กรณีจะต้องมีการคืนเงินภาษีตามที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 ถึงปีภาษี 2554 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 วินิจฉัยว่า มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 แต่เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 เป็นกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง และตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 55 วรรคสี่ ที่กำหนดว่า ในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ให้ศาลแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้องและให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเป็นวันอ่านเท่านั้น ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวคงทำให้ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่เวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคือวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 จึงไม่มีผลทำให้ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่มีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในปีภาษี 2552 ถึงปีภาษี 2554

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องค่าสินไหมทดแทนก่อนศาลยกคำร้องเพิกถอนการบังคับคดี ไม่ชอบตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคท้าย (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องคดีนี้บัญญัติไว้ใจความว่า ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ดำเนินการโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวเห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ ซึ่งกรณีนี้เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยื่นคำร้องขอดังกล่าวในคดีเดิมได้ โดยไม่ต้องนำไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก แต่มีการระบุเงื่อนเวลาไว้ว่า ศาลต้องยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนการบังคับคดีอันเป็นมูลเหตุแห่งการร้องขอของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นเสียก่อน และต้องยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้ร้อง อันเป็นมูลเหตุที่โจทก์ใช้อ้างให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นการยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในขณะที่ศาลยังไม่ได้สั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้ร้อง ซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคท้าย (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์และการครอบครองปรปักษ์: การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องให้ปล่อยทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ซึ่งตามมาตรา 288 (เดิม) ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอก่อนการขายทอดตลาด แต่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ให้ยื่นคำร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่ที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แม้มาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 จะบัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวนวิธีการบังคับของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความบัญญัติต่อไปว่า และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่เริ่มดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจนถึงที่สุดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 การยื่นคำร้องขัดทรัพย์นับแต่นั้นจึงต้องดำเนินการตามความในมาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมาตรา 323 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยื่นคำร้องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก คดีนี้เมื่อมีการยึดที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างก่อนวันที่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ใช้บังคับเช่นนี้ การที่จะให้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับ ก็ไม่มีกฎหมายระบุให้เป็นเช่นนั้น กรณีถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้ว และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
of 5