พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานระหว่างพิจารณา: จำเลยต้องโต้แย้งหากไม่เห็นด้วย มิฉะนั้นเสียสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะไม่มาศาลหลายครั้งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ต้องแถลงโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เมื่อจำเลยไม่แถลงโต้แย้ง จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินระหว่างพิจารณาคดี และผลต่อเนื่องหลังคดีถึงที่สุด จำเลยยังไม่ทราบคำบังคับ
เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นอายัดเงินของจำเลยไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด ศาลชั้นต้นอนุญาต จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นมีผลต่อไปจนกว่าคดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง และสั่งว่าหากติดใจอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาชำระ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย โจทก์ยื่นคำแถลงว่า ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยยังไม่ทราบคำบังคับ ขอให้แจ้งคำบังคับให้จำเลยทราบ ดังนี้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยยังไม่ทราบคำบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา ต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้อายัดเงินของจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาคงมีผลต่อไปจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 (2) จำเลยไม่มีสิทธิ ขอให้ถอนการอายัดเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การฟ้องคดีใหม่ระหว่างที่คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน โดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดเจนขึ้นดังนี้สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดของจำเลยแต่การที่โจทก์ฟ้องคดีใหม่ในระหว่างที่คดีเดิมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกานั้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา: การขาดนัดพิจารณาและการยกคำร้อง เนื่องจากเหตุผลไม่สมควร
ในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน โจทก์ไม่มาศาล ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้วดำเนินการสืบพยานจำเลยได้ 3 ปาก จำเลยขอเลื่อนคดีก่อนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งต่อไป โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยปกติในระหว่างการพิจารณา จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาที่ไม่ได้รับการโต้แย้ง ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี และให้งดการส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ จำเลยจึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาในปัญหาสองข้อนี้ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับคำให้การตามมาตรา 199 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่เมื่อไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงมีคำสั่งไม่รับคำให้การมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นการสั่งตาม มาตรา199 เป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างการพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันไม่เข้ากรณีที่ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ตาม มาตรา227,228 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้วพิพากษาคดีไปนั้นจึงไม่ชอบ และหามีผลแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองประโยชน์โจทก์ระหว่างพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบเด็กได้ แม้ไม่ต้องรอรายงานเจ้าพนักงานคุมประพฤติ
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คดีแพ่ง ให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้น อยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบเด็กได้ แม้ยังไม่มีคำพิพากษา
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องอำนาจฟ้องระหว่างการพิจารณาคดี โดยการยื่นหนังสือยินยอมของคู่สมรส
โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว และศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎกมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ: ความแตกต่างระหว่างคำสั่งไม่รับคำคู่ความกับคำสั่งระหว่างพิจารณา และผลต่อการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การของจำเลยเพราะยื่นเกินกำหนด8 วัน นับแต่วันรับหมายเรียกเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3)แต่จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องใหม่ของให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยยื่นคำให้การที่ได้ยื่นไว้ ศาลชั้นต้นไต่สวน (โดยสอบข้อเท็จจริงจากทนายจำเลย)แล้วมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ คำสั่งตอนหลังนี้ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จะอุทธรณ์ให้ทันทีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226