คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้ประกาศ คณะปฏิวัติฯ ไม่ใช้บังคับ แต่ระเบียบ ก.พ.ร. ยังให้สิทธิ
บริษัทจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่ พนักงาน ซึ่งเลิกจ้างโจทก์ทำงานมาแล้วประมาณ6 ปี จำเลยเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่าย ค่าชดเชย แก่โจทก์ ตามระเบียบดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4058/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อการกระทำของผู้ขับรถในขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้จะนอกเหนือจากระเบียบ
จำเลยที่ 1 เริ่มต้นโดยการขับรถยนต์ตามหน้าที่ตราบใดที่ยังไม่นำรถเข้าเก็บถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่เสร็จสิ้น แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะขับรถไปเที่ยวดื่มสุรากับเพื่อน ๆ ก็ต้องถือว่าอยู่ในระหว่างทำงานในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจะปัดความรับผิดของตนโดยอ้างระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนมาใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเลื่อนขั้นเงินเดือน: ผู้อำนวยการใช้อำนาจขัดระเบียบเมื่อมีมติเลื่อนขั้นแล้ว
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่า กรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้วผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่มีเหตุตามระเบียบ ผู้อำนวยการไม่มีอำนาจ
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่าการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่ากรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้ว ผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ค่าชดเชยการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่12 กันยายน พ.ศ.2534 ข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 46 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2514 ข้อ 46 จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายค่าชดเชย: รัฐวิสาหกิจต้องใช้ระเบียบใหม่แทนประกาศเก่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 ข้อ 2ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 56 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2514 ข้อ 46จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างผิดสัญญาจ้างจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ/คำสั่งของนายจ้าง อายุความตาม ปพพ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย
คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้น เป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายจ้าง รวมถึงอายุความฟ้องในกรณีผิดสัญญาจ้าง
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้นเป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้าง และอายุความของคดีแรงงาน
คำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดสัญญาจ้าง โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างให้รับผิด เนื่องจากจงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อุทธรณ์ว่าจำเลยปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์โดยเคร่งครัดแล้วการกระทำของจำเลยไม่เป็นประมาทเลินเล่อก็ดี เหตุที่เกิดขึ้นตามฟ้องเป็นเหตุสุดวิสัยก็ดีให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ย้อนหลัง5 ปี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรงก็ดี เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกจ้างมิใช่ตัวแทนจำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 มิใช่ตัวการตัวแทน แต่เป็นนายจ้างกับลูกจ้างนั้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของสมาคมในการกำหนดระเบียบการแข่งขันและอำนาจในการพิจารณารับสมัครเข้าร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นสมาคม การดำเนินงานมีคณะกรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งข้อบังคับต่าง ๆ ของสมาคมให้อำนาจจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกได้ และจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับกีฬาแข่งนกไว้ ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวข้อ 2 กำหนดว่าสมาคมสงวนสิทธิที่จะไม่รับนกของผู้หนึ่งผู้ใดเข้าร่วมการแข่งขันหรือบอกเลิกรับนกกับผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลล่วงหน้า และผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้นดังนั้นโจทก์หรือผู้ใดจะส่งนกพิราบเข้าแข่งขันกับจำเลยที่ 1 ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ หาได้มีกฎหมายใดบังคับให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องรับนกของโจทก์เข้าแข่งขันไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงทึ่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กลั่นแกล้งโจทก์ การที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันมีมติไม่รับนกของโจทก์เข้าร่วมแข่งขัน จะฟังว่าจำเลยทั้งสิบสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์มิได้
of 22