พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรัฐวิสาหกิจมีกำหนดเวลา การเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์วันหยุดพักผ่อนประจำปี
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาระหว่างรัฐวิสาหกิจกับพนักงานอาจมีได้และไม่อยู่ในบังคับแห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 ที่กำหนดเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างไว้ในข้อ 45 วรรคหนึ่งโดยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานในกรณีที่เลิกจ้าง ตามความในวรรคสามที่กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า"ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการซึ่งรัฐวิสาหกิจและพนักงานตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และให้หมายความรวมถึงกรณีที่สัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จ หากรัฐวิสาหกิจและพนักงานจะตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีก ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกด้วย ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่ารัฐวิสาหกิจจำเลยประกอบธุรกิจและมีวัตถุประสงค์ในการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ให้แก่บุคคลทั่วไป จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ขับรถยนต์ งานที่จำเลยให้โจทก์ทำไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 กำหนดไว้ในข้อ 8 วรรคหนึ่งว่า พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ และข้อ 20 กำหนดว่า ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดต่อไปนี้ (3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี และข้อ 21กำหนดว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจเลิกจ้างพนักงานโดยพนักงานมิได้มีความผิดตามข้อ 46 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่พนักงานมีสิทธิได้รับตามข้อ 8 และข้อ 20 ด้วย ดังนี้ รัฐวิสาหกิจจึงมีหน้าที่ต้องกำหนดวันที่ที่จะให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าหรือจัดให้พนักงานได้หยุดพักผ่อนประจำปี ตามจำนวนวันที่กฎหมายกำหนดเมื่อรัฐวิสาหกิจมิได้กำหนดหรือจัดให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่พนักงานที่ต้องไปทำงานโดยไม่ได้หยุดดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่พนักงานผู้นั้นถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดตามข้อ 46รัฐวิสาหกิจไม่อาจอ้างได้ว่าพนักงานไม่ใช้สิทธิหยุดงานเองจึงไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อการที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปหรือไม่ต่อสัญญาจ้างมิใช่ผลของการสิ้นสุดแห่งสัญญา แต่เป็นการเลิกจ้าง และไม่ปรากฎว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดตามข้อ 46 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34 ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวงพ.ศ. 2501 มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยผู้ใช้กระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการค้าเรียกค่าสินค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1)(7) ที่จะต้องใช้อายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222-3225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และเป็นโมฆะเมื่อรัฐวิสาหกิจไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งดำเนินกิจการที่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของประชาชน รัฐจึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น คู่กรณีจะต้องนำเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนที่รัฐกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยและจำเลยตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการเงินระหว่างโจทก์และจำเลยโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมอยู่ในบังคับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมเป็นเหตุให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่มีผลบังคับตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
การประปาส่วนภูมิภาคโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นหน่วยงานของ รัฐบาล มีระเบียบในการเบิกจ่ายเงินไม่เหมือนหน่วยงานของเอกชน และเมื่อเบิกจ่ายแล้วต้องจัดส่งมายังสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความย่อมมีความล่าช้าอยู่บ้าง ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมในการยื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบังไปรษณีย์ภัณฑ์: การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่จัดการไปรษณีย์ภัณฑ์ย่อมเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519มาตรา15บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่บุรุษไปรษณีย์มีหน้าที่ปิดเปิดถุงไปรษณีย์ภัณฑ์และคัดเลือกไปรษณีย์ภัณฑ์เข้าด้านจ่ายได้เบียดบังเอาจดหมายต่างประเทศต้นทางเยอรมันและบราซิลเป็นของตนโดยทุจริตและตั้งใจกักหรือหน่วงเหนี่ยวไปรษณีย์ภัณฑ์ในระหว่างทางไปรษณีย์ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ.2477มาตรา58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผลกระทบต่อการคำนวณเงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860 บาท คูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำเหน็จที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าชดเชยเลิกจ้างรัฐวิสาหกิจ-การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531 ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับ ดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้น เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างลูกจ้างพิเศษเกิน 120 วัน ไม่เข้าข้อยกเว้นมาตรฐานสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างพิเศษนอกอัตรากำลัง ตามปริมาณงานและกำลังเงินงบประมาณที่จะจัดจ้างเป็นคราว ๆ ไปโดยมีสัญญาจ้างกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดระยะเวลาของการจ้างและการต่อสัญญาการจ้างทุกครั้งไว้ชัดแจ้งแน่นอนแต่ละครั้งไม่เกิน 120 วัน แม้การที่จำเลยไม่ต่อสัญญาจ้างกับโจทก์ด้วยเหตุครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างและต้องลดอัตรากำลังลงเพราะหมดความจำเป็นก็ตาม แต่ระยะเวลาการจ้างที่จำเลยต่อสัญญากับโจทก์อีกรวม 2 ครั้งนั้น รวมแล้วเกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกจึงหาได้เข้าข้อยกเว้นตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานพิเศษนอกอัตรากำลังเกินระยะเวลาตามสัญญา ทำให้ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างพิเศษนอกอัตรากำลังตามปริมาณงานและกำลังเงินงบประมาณที่จะจัดจ้างเป็นคราวๆไปโดยมีสัญญาจ้างกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดระยะเวลาของการจ้างและการต่อสัญญาการจ้างทุกครั้งไว้ชัดแจ้งแน่นอนแต่ละครั้งไม่เกิน120วันแม้การที่จำเลยไม่ต่อสัญญาจ้างกับโจทก์ด้วยเหตุครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างและต้องลดอัตรากำลังลงเพราะหมดความจำเป็นก็ตามแต่ระยะเวลาการจ้างที่จำเลยต่อสัญญากับโจทก์อีกรวม2ครั้งนั้นรวมแล้วเกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกจึงหาได้เข้าขัอยกเว้นตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534ข้อ45วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทางกฎหมายขององค์การค้าของคุรุสภา: ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
องค์การค้าของคุรุสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2493ตามมติของคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา ไม่ใช่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่มีผลใช้บังคับภายหลังจากที่มีการจัดตั้งองค์การค้าของคุรุสภาแล้ว และตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 มาตรา 4, 6กำหนดให้คุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงศึกษาธิการ และให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นแก่กระทรวง-ศึกษาธิการในเรื่องการจัดการศึกษาโดยทั่วไป รวมทั้งการปกครองดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ประกอบอาชีพครูโดยเฉพาะ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลหรือดำเนินการใด ๆ แก่ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2534 มาตรา 26 ก็ไม่ได้บัญญัติให้คุรุสภาเป็นส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ถือไม่ได้ว่าคุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นรัฐ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4