พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยยังไม่รับผิดต่อความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารอันเป็นรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งนี้ แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของ ย. ได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวของ ย. และ ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรของ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับบุคคลทั้งสองนั้น อันจะเป็นเหตุให้ ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. ต้องรับผิด ในเมื่อตามฟ้องไม่ปรากฏว่า ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้เอาประกันภัยไม่มีความรับผิดต่อผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารอันเป็นรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งนี้แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของ ย.ได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวของ ย.และย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรของ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับบุคคลทั้งสองนั้น อัน เป็นเหตุให้ ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ต้องรับผิด ในเมื่อตามฟ้องไม่ปรากฏว่าย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้เอาประกันภัยไม่มีความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารอันเป็นรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งนี้ แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของ ย.ได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวของย.และย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรของ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับบุคคลทั้งสองนั้น อันจะเป็นเหตุให้ ย.กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ.ต้องรับผิดในเมื่อตามฟ้องไม่ปรากฏว่าย. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และการรับประกันภัยรถยนต์จากผู้ครอบครองรถ
โจทก์สองคนฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน60,619 บาท โดยโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคารวมเป็นเงิน 27,500 บาทและโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยเรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์และค่าลากจูงรถยนต์คันเกิดเหตุไปทำการซ่อมรวมเป็นเงิน 30,809 บาทดังนี้ไม่ใช่เป็นหนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้ โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทขนส่งและไปรษณีย์ กรณีสิ่งของสูญหาย และการรับประกันภัย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคิดดอกเบี้ยของผู้รับประกันภัย: เริ่มนับจากวันที่ชำระค่าสินไหมทดแทน ไม่ใช่วันเกิดเหตุ
ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้นับตั้งแต่วันที่ตนได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปไม่ใช่นับตั้งแต่วันทำละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยต่อ สัญญาประกันภัย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับประกันภัย โจทก์ และบริษัทคนกลาง อำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับต่างประเทศในด้านการทำประกันภัยต่อ ระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาที่ทำกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นและไม่ทักท้วง จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ในการทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ เมื่อสัญญาเหล่านั้นเกี่ยวด้วยการรับประกันภัยอันอยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารที่อ้าง และทนายจำเลยที่ 1 คัดค้านมิให้ศาลรับฟัง แต่เมื่อประธานกรรมการจำเลยที่1 เบิกความทนายจำเลยที่ 2 ได้ถามพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว พยานเบิกความรับรองศาลชั้นต้นรับเอกสารนี้ไว้และสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าอ้าง จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารแล้ว ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
ตามเอกสารท้ายฟ้องมีข้อความว่า โจทก์เป็นผู้ถือบันทึกประกันภัยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัย โดยยอมรับส่วนการประกันภัย และยอมให้โจทก์มีอำนาจผูกพันบัญชีของจำเลยที่ 1และมีอำนาจออกกรมธรรม์ประกันภัยในนามของจำเลยที่ 1 อันเกี่ยวกับการประกันภัยโดยตรงและการประกันภัยโดยทางอ้อมเมื่อได้ความตามฟ้องว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับการรับประกันภัยเกิดขึ้น และมีหนี้ผูกพันเกี่ยวด้วยการปฏิบัติตามสัญญานั้นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด แต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ดังนั้นจึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่ 1 จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์มีความประสงค์เช่นนั้น และปรากฏตามฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ อ้างความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 และบริษัทคนกลางมีเอกสารท้ายฟ้องประกอบแสดงรายละเอียดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในแต่ละงวด แต่ละปี รวมเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้น และขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระตามยอดเงินตรงกับเอกสารท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความกรณีใดบ้าง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในแต่ละประเภทมีกำหนดเวลาต่างกันคำให้การจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ในกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินตราต่างประเทศหรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษา ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวไม่มี ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารที่อ้าง และทนายจำเลยที่ 1 คัดค้านมิให้ศาลรับฟัง แต่เมื่อประธานกรรมการจำเลยที่1 เบิกความทนายจำเลยที่ 2 ได้ถามพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว พยานเบิกความรับรองศาลชั้นต้นรับเอกสารนี้ไว้และสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าอ้าง จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารแล้ว ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
ตามเอกสารท้ายฟ้องมีข้อความว่า โจทก์เป็นผู้ถือบันทึกประกันภัยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัย โดยยอมรับส่วนการประกันภัย และยอมให้โจทก์มีอำนาจผูกพันบัญชีของจำเลยที่ 1และมีอำนาจออกกรมธรรม์ประกันภัยในนามของจำเลยที่ 1 อันเกี่ยวกับการประกันภัยโดยตรงและการประกันภัยโดยทางอ้อมเมื่อได้ความตามฟ้องว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับการรับประกันภัยเกิดขึ้น และมีหนี้ผูกพันเกี่ยวด้วยการปฏิบัติตามสัญญานั้นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด แต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ดังนั้นจึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่ 1 จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์มีความประสงค์เช่นนั้น และปรากฏตามฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ อ้างความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 และบริษัทคนกลางมีเอกสารท้ายฟ้องประกอบแสดงรายละเอียดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในแต่ละงวด แต่ละปี รวมเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้น และขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระตามยอดเงินตรงกับเอกสารท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความกรณีใดบ้าง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในแต่ละประเภทมีกำหนดเวลาต่างกันคำให้การจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ในกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินตราต่างประเทศหรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษา ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวไม่มี ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดไปรษณีย์: รับประกันภัยตามจริง, ไม่เกิน 3,950 บาท, ผู้ขนส่งชั้นสองไม่ต้องรับผิด
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนจึงมิใช่ผู้ขนส่งตามป.พ.พ.และตามป.พ.พ.มาตรา609การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องบังคับตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520 ตามข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์รับประกันมีได้เฉพาะจดหมายรับประกันการขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุหากมีราคามากกว่า3,950บาทก็ขอให้รับประกันได้ไม่เกินกว่านั้นฉะนั้นเมื่อผู้ฝากส่งได้ฝากส่งของประเภทจดหมายรับประกันและของที่ฝากส่งสูญหายจำเลยที่1คงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในไปรษณียนิเทศเท่าที่รับประกันไว้เท่านั้นหาต้องรับผิดจนเต็มราคาสิ่งของที่ฝากส่งไม่ บริษัทสายการบินอลิตาเลีย จำกัดจำเลยที่2ขนส่งของให้จำเลยที่1ตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งและมิได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์จำเลยที่2จึงมิใช่ผู้รับขนส่งให้ผู้ฝากส่งและกรณีมิใช่การขนส่งหลายทอดเมื่อจำเลยที่2ขนส่งของไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่าได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัย: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ประมาท แม้จะมีการต่อสู้เรื่องความประมาทของฝ่ายอื่น
จำเลยที่ 2 กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะ คำเบิกความของส.พยานโจทก์เบิกความไม่แน่ชัดจำเลยที่2 ไม่สามารถเข้าใจ คำฟ้องของโจทก์ได้ดีโดยจำเลยที่2 ไม่ได้โต้แย้งเลยว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างใด ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 โต้แย้งปัญหาในเรื่องการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลเท่านั้นจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้อง ของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถบรรทุกคันเกิดเหตุ มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายในนามของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่จำเลยที่2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะเหตุที่เกิดขึ้นคดีนี้ไม่ใช่เป็น ความประมาทของคนขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุ แต่เป็นความประมาท ของโจทก์ที่ขึงสายโทรศัพท์ห้อยต่ำมากีดขวางทางจราจรและโจทก์ เสียหายไม่ถึงตามฟ้องศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทของ จำเลยที่ 2 ในปัญหานี้ไว้ด้วยเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแทน จำเลยที่ 1 ตกไป เพราะจำเลยที่ 2 เป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ ตั้งประเด็นต่อสู้กับโจทก์ไว้แล้วจะเกณฑ์ให้จำเลยที่ 2 ไปว่ากล่าว เอากับจำเลยที่ 1ในการที่จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว หาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์ ดังกล่าวนั้นจึงไม่ชอบ