คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมรับมรดกและขายฝากที่เกิดจากการแจ้งเท็จและกระทำการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาท
โจทก์เป็นบุตรและทายาทผู้รับมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 2 มิใช่บุตร แต่ยื่นขอรับมรดกที่ดินมีโฉนดของผู้ตายโดยแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นบุตร แล้วจดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วต่อมาได้จดทะเบียนสละสิทธิการไถ่คืน ทั้งนี้ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสมคบคิดกันกระทำมิชอบในเรื่องการขายฝาก และไม่ไถ่การขายฝากโจทก์ก็มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อกันนั้นได้เพราะจำเลยที่ 2 ได้สิทธิทางทะเบียนมาโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมรับมรดกและขายฝากที่เกิดจากการแจ้งเท็จและขาดความยินยอมจากทายาท
โจทก์เป็นบุตรและทายาทผู้รับมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 2 มิใช่บุตรแต่ยื่นขอรับมรดกที่ดินมีโฉนดของผู้ตายโดยแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นบุตร แล้วจดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วต่อมาได้จดทะเบียนสละสิทธิการไถ่คืน ทั้งนี้ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสมคบคิดกันกระทำมิชอบในเรื่องการขายฝาก และไม่ไถ่การขายฝากโจทก์ก็มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อกันนั้นได้เพราะจำเลยที่ 2 ได้สิทธิทางทะเบียนมาโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จที่ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ และการขอรับมรดกโดยอ้างความเป็นภริยาโดยพฤตินัย ไม่ทำให้โจทก์เสียหาย
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น แม้ข้อความที่แจ้งจะเป็นเท็จแต่มิได้เกี่ยวข้องพาดพิงถึงโจทก์ ก็ไม่อาจทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยื่นคำร้องขอรับมรดกโดยอ้างว่าเป็นภริยาของผู้ตายนั้น แม้โดยนิตินัยจำเลยจะไม่ใช่แต่โดยพฤตินัยจำเลยเป็นภริยาของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จทำให้โจทก์ผู้เป็นทายาทเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและการขอรับมรดก หากไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น แม้ข้อความที่แจ้งจะเป็นเท็จแต่มิได้เกี่ยวข้องพาดพิงถึงโจทก์ ก็ไม่อาจทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยื่นคำร้องขอรับมรดกโดยอ้างว่าเป็นภริยาของผู้ตายนั้น แม้โดยนิตินัยจำเลยจะไม่ใช่ แต่โดยพฤตินัยจำเลยเป็นภริยาของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จทำให้โจทก์ผู้เป็นทายาทเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกสัญญาเมื่อมีผู้รับมรดกปฏิเสธความเป็นหุ้นส่วนเดิม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอแสดงบัญชี
สามีโจทก์กับสามีจำเลยร่วมทุนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียน สามีโจทก์ตาย โจทก์รับมรดกและเข้าสวมสิทธิเป็นหุ้นส่วนแทน โดยความยินยอมของสามีจำเลย ห้างหุ้นส่วนจึงยังไม่เลิก ต่อมาสามีจำเลยตาย จำเลยเป็นผู้รับมรดก กลับปฏิเสธว่าสามีโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนกับสามีจำเลย ดังนี้ ห้างหุ้นส่วนนั้นย่อมเลิกจากกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5)
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้ว ก็จะต้องจัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แม้จำเลยจะเข้าดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็มิได้เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย โดยมิได้ฟ้องขอให้ชำระบัญชี ศาลจะพิพากษาให้ชำระบัญชีไม่ได้ เพราะเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการเช่าที่ดินและสิทธิของผู้รับมรดก
ซ.เช่าที่ดินจากการรถไฟฯ แล้วปลูกห้องลงบนที่ดินที่เช่า ซ.ตาย ทายาททำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกโจทก์ที่ 1 รับมรดก และโจทก์ที่ 2,3 รับโอนทรัพย์มรดกมาจากทายาทโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ จำเลยยื่นหนังสือขอโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อการรถไฟฯในนาม ซ. ให้จำเลย และจำเลยก็ยื่นหนังสือขอรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อจาก ซ. ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยใช้อุบายหลอกลวงการรถไฟฯ ให้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยซึ่งเป็นการแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลซึ่งเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 บุคคลที่จะบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะก็คือการรถไฟฯ ซึ่งเป็นผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 ตราบใดที่การรถไฟฯ ยังมิได้บอกล้างนิติกรรมที่ได้ทำขึ้นก็ยังถือว่าเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์โจทก์ในคดีนี้แม้จะฟังว่าเป็นผู้รับมรดกนายซิวก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯ กับนายซิวมีอายุการเช่าเพียง 1 ปีและต้องทำสัญญาเช่าใหม่ทุกปีหลังจากนายซิวตายแล้วสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯกับนายซิวจึงเป็นอันระงับเพราะการตายของนายซิว และสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้โจทก์มิได้ทำสัญญาเช่าที่ดินต่อการรถไฟฯ จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิในการเช่าที่ดินโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลสั่งบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้โจทก์ และไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลสั่งทำลายเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการเช่าที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ในคดีมรดก การรับมรดกย่อมสืบได้เมื่ออ้างว่าเป็นสินบริคณห์
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่ และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมาจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่เป็นประเด็นขั้นที่สองเมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก จำเลยย่อมนำสืบได้ว่าจำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลยหาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์ ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์เมื่อผู้ตายตาย จำเลยจึงขอโอนรับมรดกจำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ สิทธิรับมรดกบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
การใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องฝ่ายเดียว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำเช่นนั้นได้ มิใช่ว่าจะยื่นคำร้องฝ่ายเดียวได้ทุกกรณีไป
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาผู้วายชนม์ตามกฎหมายโดยชอบแล้ว จึงไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องมายื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของบิดาผู้วายชนม์อีก
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 พ.ศ.2497 ข้อ 8(1) เป็นเรื่องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีโฉนดแล้วโดยการครอบครองด้วยอำนาจปรปักษ์ หาได้บัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ และสิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
การใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องฝ่ายเดียว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำเช่นนั้นได้. มิใช่ว่าจะยื่นคำร้องฝ่ายเดียวได้ทุกกรณีไป.
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาผู้วายชนม์ตามกฎหมายโดยชอบแล้ว. จึงไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องมายื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของบิดาผู้วายชนม์อีก.
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 พ.ศ.2497 ข้อ 8(1) เป็นเรื่องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีโฉนดแล้วโดยการครอบครองด้วยอำนาจปรปักษ์. หาได้บัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับมรดกโดยเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อมีผู้คัดค้านสิทธิและศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ. ว.ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว. ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของ ช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน) จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดก และสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไปดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรค 2 มิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรค 3
of 9