คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยสมรู้ร่วมคิด เจ้าพนักงานบังคับคดีส่อเจตนาช่วยเหลือผู้เข้าสู้ราคา
การที่ ฉ. เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดปรึกษากับ ป.ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง แล้วได้เรียก พ. ผู้เข้าสู้ราคาเข้าไปคุย แม้ ม.ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองให้มาดูแลการขายทอดตลาดไม่ได้ยินการคุยกัน ต่อจากนั้น ฉ. ประกาศถาม พ. อีกว่า จะให้ราคาสูงกว่า 38,000,000 บาท หรือไม่พ. ได้ยืนขึ้นเสนอให้ราคาเป็น 40,000,000 บาท การกระทำของ ฉ. และ พ.ดังกล่าวส่อเจตนาว่า ฉ. ได้เรียก พ. ไปแนะนำให้เสนอราคาเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่ผู้คัดค้านประเมินไว้เพื่อที่ ป. จะอนุมัติให้ ฉ. ขายให้แก่ พ. นั่นเอง การที่พ. เสนอราคาเพิ่มเป็น 40,000,000 บาท แล้ว ป. อนุมัติให้ขายได้ เช่นนี้ส่อพิรุธเป็นข้อสงสัยได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยสมรู้ราคากับ พ. ผู้เข้าสู้ราคา ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ การขายทอดตลาดทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยองพ.ศ.2527มาตรา5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา5นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบลถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้างๆราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไปส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522มาตรา6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วยเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยไม่ชอบด้วยมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯนั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใดจึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯใช้บังคับประมาณ3เดือนอันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
เมื่อฟ้องโจทก์ได้ความเพียงว่าผู้ให้เช่านาขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ในราคา 775,000 บาท โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ซื้อก่อน โจทก์ร้องเรียนต่อคชก.ตำบลเพื่อขอใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาท คชก.ตำบลมีมติให้จำเลยผู้ซื้อขายนาพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โดยมิได้มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิขอซื้อในราคาที่จำเลยซื้อมาหรือราคาตลาดซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า และ คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดให้จำเลยขายในราคาดังกล่าวแล้ว การใช้สิทธิของโจทก์จึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขและขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ไม่อุทธรณ์วิธีบังคับคดี ย่อมไม่อุทธรณ์ผลการขายทอดตลาด
คำร้องของจำเลยมิได้อ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีดังกล่าวแต่ประการใด กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจะมาขอยกเลิกการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือรื้อฟื้นให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างว่าขายได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยจำนองทรัพย์สินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะเมื่อไม่ตกลงราคาใหม่หลังถูกเวนคืน สิทธิกลับสู่ฐานะเดิม
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทตามเอกสารหมายจ.4แต่ตามเอกสารหมายจ.7มีข้อความว่าจำเลยขอรังวัดที่ดินพิพาทในส่วนที่ถูกเขตชลประทานแสดงว่าที่พิพาทที่จำเลยจะขายให้โจทก์จะต้องถูกทางราชการเวนคืนบางส่วนโจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาเพิ่มเติมสัญญาจะซื้อขายว่าคู่สัญญาขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อขยายเวลาไปเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้ให้เหลือเป็นราคาที่พิพาทที่เหลือไว้จะโอนกรรมสิทธิ์ได้จริงโดยไม่ถูกเวนคืนแสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าที่พิพาทที่จะซื้อขายต้องถูกเวนคืนให้กรมชลประทานแต่โจทก์ไม่ได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่โดยไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่พิพาทและราคาตามเอกสารหมายจ.4แต่จะต้องเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้และเลื่อนกำหนดเวลาการโอนไปถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมายจ.4โดยปริยายและมุ่งประสงค์ที่จะซื้อขายที่พิพาทกันต่อไปตามจำนวนเนื้อที่ที่เหลือจากการถูกเวนคืนโดยให้เลื่อนการโอนไปเพื่อเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงกันไว้อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคหนึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้นเมื่อครบกำหนดการโอนแล้วปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้ไปที่สำนักงานที่ดินแต่ก็ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้จึงไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมายจ.4ยกเลิกโดยปริยายและสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้นโจทก์จำเลยจึงไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์และโจทก์จะกลับมาอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่า และการชดใช้เงินแทน
การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านแต่มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านใช้เงินแทนด้วยเหตุที่โดยสภาพแล้วมิอาจให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นผู้เช่าดังเดิมได้นั้น เป็นการสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว
ขณะที่จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้ผู้คัดค้าน สิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่ายังไม่ครบกำหนด ยังมีประโยชน์สามารถตีราคาเป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อผู้คัดค้านรับโอนไปย่อมเป็นการรับโอนทรัพย์สินจากจำเลยและย่อมได้รับประโยชน์ตลอดเวลาแห่งสิทธิการเช่าดังกล่าวซึ่งคำนวณราคาเป็นเงินได้ การเพิกถอนการโอนจึงอาจบังคับได้โดยให้ผู้คัดค้านชดใช้เงินแทนตามราคาที่คำนวณได้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินและผลของการไม่ตกลงราคาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองให้การเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้
โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาท จำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้ แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันที จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดย ส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทน ส. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย อันเป็นการเถียงสิทธิครอบครอง เป็นคดีมีทุนทรัพย์ การพิจารณาว่าคดีจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ-แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีราคาไม่เกินสองแสนบาท คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีข้อที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินพิพาท และประเด็นการนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ 17,000 บาทและจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ด้วยที่ดินพิพาท โดยถือว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยตกลงขายที่ดินให้โจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสองได้ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคดีที่โต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การหรือนำสืบโต้แย้งราคาที่ดินพิพาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีราคา17,000 บาท และถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีนี้ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยแล้ว ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้องก้าวล่วงไปฟังข้อเท็จจริงว่าการตกลงชำระหนี้ด้วยที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 656 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากหนังสือสัญญา โดยฟังว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. และการวางเงินชดเชยที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจ-กฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ
of 20