พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินทดรองราชการโดยใช้เอกสารปลอม และการหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
จำเลยทำบันทึกว่าถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปราชการต่างจังหวัด ซึ่งไม่เป็นความจริง และขอยืนเงินทดรองราชการ ได้เขียนเตรียมไว้ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น และมีลายเซ็นปลอมของผู้บังคับบัญชาจนจำเลยสามารถเบิกเงินของกรมตำรวจไปได้ เป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและโดยทุจริต ไม่ใช่เป็นการกู้ยืนเงินตามธรรมดา
การที่จำเลยอ้างว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปราชการต่างจังหวัด และทำหนังสือขอยืมเงินทดรองราชการ ได้ทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งอนุมัติ ผู้บังคับบัญชาลำดับสูงและเจ้าหน้าที่การเงินก็ได้สั่งอนุมัติ และจ่ายเงินทดรองราชการให้ตามที่จำเลยเสนอมา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยทำบันทึกเสนอให้ยืมเงินทดรองราชการ ข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น และมีลายเซ็นของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำไปใช้โดยรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
การที่จำเลยอ้างว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปราชการต่างจังหวัด และทำหนังสือขอยืมเงินทดรองราชการ ได้ทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งอนุมัติ ผู้บังคับบัญชาลำดับสูงและเจ้าหน้าที่การเงินก็ได้สั่งอนุมัติ และจ่ายเงินทดรองราชการให้ตามที่จำเลยเสนอมา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยทำบันทึกเสนอให้ยืมเงินทดรองราชการ ข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น และมีลายเซ็นของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำไปใช้โดยรู้ว่าเป็นเอกสารปลอม ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทางราชการ ปลอมเอกสาร และการรับผิดของเจ้าพนักงาน
(1) เมื่อโจทก์บรรยายว่า จำเลยเป็นเสมียนตรามีหน้าที่จัดทำ รักษา และรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการเบิกจ่ายเงิน และมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินไป มีรายการต่าง ๆ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเงินนั้นอยู่ในความรับผิดของจำเลย ทั้งระบุวันเวลาทำผิดแต่ละรายการไว้ด้วย นั้น ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนที่ว่าจำเลยรับมาจากใคร ที่ไหน เมื่อใด เป็นรายละเอียดไม่ต้องกล่าวไว้
(2) เมื่อเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายว่ารู้การกระทำของจำเลยเมื่อใด
(3) เมื่อพยานโจทก์และจำเลยเบิกความตรงกันว่า เสมียนตรามีหน้าที่ทำบัญชีเงิน รับเงินและจ่ายเงินของแผนกมหาดไทย แม้นายอำเภอจะสั่งให้คนอื่นเป็นหัวหน้าแต่ก็เพื่อช่วยคอยสอดส่องควบคุมอีกชั้นหนึ่งโดยมิได้ให้จำเลยพ้นจากหน้าที่เสมียนตราไป เช่นนี้ จำเลยก็ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ฯลฯ ที่แก้ไขแล้ว
(4) บัญชีเงินต่าง ๆ ของทรงราชการกระทรวงมหาดไทย เช่น แบบ 2 บัญชีรายรับจ่ายเงินเบ็ดเตล็ด และแบบ 7 บัญชีเงินการจร มีช่องที่ผู้รับเงินจะต้องลงชื่อ เมื่อลงแล้วและรับเงินไปแล้ว ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ ทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากทางราชการอีก ซึ่งตรงตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) จึงเป็นเอกสารสิทธิทางราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266
(5) ผู้ไม่มีสิทธิ แต่ได้ลงชื่อของผู้มีสิทธิในช่องบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามแบบ 2,แบบ 7 ย่อมเป็นการปลอมหนังสือ และเป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดี.
(2) เมื่อเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายว่ารู้การกระทำของจำเลยเมื่อใด
(3) เมื่อพยานโจทก์และจำเลยเบิกความตรงกันว่า เสมียนตรามีหน้าที่ทำบัญชีเงิน รับเงินและจ่ายเงินของแผนกมหาดไทย แม้นายอำเภอจะสั่งให้คนอื่นเป็นหัวหน้าแต่ก็เพื่อช่วยคอยสอดส่องควบคุมอีกชั้นหนึ่งโดยมิได้ให้จำเลยพ้นจากหน้าที่เสมียนตราไป เช่นนี้ จำเลยก็ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ฯลฯ ที่แก้ไขแล้ว
(4) บัญชีเงินต่าง ๆ ของทรงราชการกระทรวงมหาดไทย เช่น แบบ 2 บัญชีรายรับจ่ายเงินเบ็ดเตล็ด และแบบ 7 บัญชีเงินการจร มีช่องที่ผู้รับเงินจะต้องลงชื่อ เมื่อลงแล้วและรับเงินไปแล้ว ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ ทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากทางราชการอีก ซึ่งตรงตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) จึงเป็นเอกสารสิทธิทางราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266
(5) ผู้ไม่มีสิทธิ แต่ได้ลงชื่อของผู้มีสิทธิในช่องบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามแบบ 2,แบบ 7 ย่อมเป็นการปลอมหนังสือ และเป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีถูกปลดออกจากราชการ: ละเมิดสิทธิรับราชการ vs. ผิดสัญญาจ้าง
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย แต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงาน: การแต่งตั้งเป็นกรรมการจัดงานพิเศษมิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในราชการ
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานที่ดินอำเภอได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดงานปีใหม่ และเป็นกรรมการจำหน่ายบัตรผ่านประตูนั้น หาทำให้ผู้เสียหายมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องช่วยเหลือนายอำเภอปฏิบัติงานพิเศษเป็นการส่วนตัวเท่านั้นฉะนั้น การพยายามทำร้ายผู้เสียหายที่ไม่ยอมให้ผ่านประตูเข้าไปในบริเวณงานโดยไม่มีบัตร จึงมีความผิดตามมาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 296 ประกอบด้วยมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยยักยอกเงินเบิกจ่ายของราชการ ไม่ถือเป็นตัวแทนของผู้บังคับบัญชา
จำเลยที่ 1 รับราชการแขวงการทางจังหวัด เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ผู้กำกับแขวงการทางซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อจากโจทก์มาใช้ในราชการแขวงการทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินนั้นเสียดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 ก็เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบการจำเลยที่ 1 หาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ จะนำกฎหมายเรื่องตัวการตัวแทนมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ของทางราชการ: ผู้คุมตรีเบียดบังน้ำมันรถ
จำเลยเป็นผู้คุมตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลนักโทษ และยังมีหน้าที่ขับรถยนต์ของเรือนจำด้วย พัศดีเรือนจำให้จำเลยเอารถยนต์ของเรือนจำไปบรรทุกแกลบ จำเลยก็ขับไป เมื่อจำเลยมีหน้าที่ขับรถยนต์ก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันรถยนต์ด้วย การที่จำเลยเบียดบังเอาน้ำมันในรถยนต์จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง แม้จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้
เอกชนเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้ากองปกครองท้องถิ่น ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ยักยอกทรัพย์ ตามฟ้องแสดงว่า เงินที่จำเลยรับมอบมานั้นเป็นเงินของรัฐบาล เมื่อจำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ ก็ยังคงเป็นเงินรัฐบาลอยู่ หากจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนก็เป็นการเบียดบังเอาเงินรัฐบาล โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการลงนามเบิกจ่ายเงินราชการ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการรับจ่ายเงินโดยตรง
จำเลยเพียงแต่เซ็นในใบยืมตามหน้าที่และภายในขอบเขตแห่งหน้าที่ของตนตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเพื่อให้งานได้ดำเนินไปได้โดยเรียบร้อยจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างใดกับเงินนั้นเลยโดยประธานกรรมการมอบหมายหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการคลังควบคุมเงินจำนวนนี้เอาไปดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหารถือว่าจำเลยมิได้อยู่ในฐานะของผู้ยืมตามกฎหมาย และจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวแต่ถ้าจำเลยกระทำการนอกเหนือหน้าที่ของตน จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ทางราชการ: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้รายละเอียดการรับเงินและยักยอกไม่ชัดเจน
คดีมีความผิดฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตยักยอกทรัพย์ความว่า จำเลยได้รับเงินผลประโยชน์ไว้ตามหน้าที่ราชการในระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2495 ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2497 รวมเป็น 219,310 บาท 95 สตางค์ แล้วในระหว่างนั้นเวลากลางวัน จำเลยได้ยักยอกเอาไว้เป็นประโยชน์ตนเองเสีย 2,357 บาท 89 สตางค์ จำเลยจะได้รับเงินกี่คราวและวันไหนบ้างเป็นรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งโจทก์อาจไม่อยู่ในวิสัยที่จะจำแนกให้ปรากฏได้ และจำเลยจะยักยอกเอาเงิน 2,357 บาท 89 สตางค์นั้นไปกี่คราว วันไหนบ้าง เป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจไม่อยู่ในวิสัยที่จะจำแนกได้เช่นเดียวกัน ดังนี้ ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงินค่าธรรมเนียมและปลอมแปลงเอกสารราชการ
บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานเป็นเสมียนของเทศบาล มีหน้าที่เกี่ยวแก่การเงินและเขียนใบอนุญาตฆ่าสัตว์ เขียนแล้วรับเงินส่งเป็นรายได้เทศบาล จำเลยเขียนใบอนุญาให้ฆ่าสัตว์แล้วรับเงิน แล้วยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว อันเป็นผิดก.ม.ลักษณะอาญา ม.131 และ319 ใช้ได้ไม่เคลือบคลุม เพราะจำเลยอาจทำผิดได้ทั้งสองอย่าง
จำเลยเป็นเสมียนเทศบาลมีหน้าที่เขียนอาชญาบัตรฆ่าสัตว์ แล้วรับเงินค่าธรรมเนียมส่งเป็นรายได้เทศบาล ย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย.
จำเลยเป็นเสมียนเทศบาลมีหน้าที่เขียนอาชญาบัตรฆ่าสัตว์ แล้วรับเงินค่าธรรมเนียมส่งเป็นรายได้เทศบาล ย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย.