พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล: ค่าบริการสำนักงานใหญ่, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2735/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนสร้าง/ซื้อ/พิมพ์ภาพยนตร์ เป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี และรายจ่ายไม่มีหลักฐานผู้รับเงินก็เช่นกัน
โจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ ซื้อภาพยนตร์จากต่างประเทศและเป็นผู้พิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวขึ้นมาใหม่เป็นหลายชุด ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวย่อมเป็นทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นการขายภาพแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น รายจ่ายของโจทก์ในการสร้างภาพยนตร์ ซื้อภาพยนตร์มาจากต่างประเทศและพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือเป็นรายจ่ายในการขยายออกซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) รายจ่ายที่ไม่ปรากฏชื่อหรือที่อยู่ของผู้รับเงิน แม้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรองว่าได้จ่ายไปจริงก็ตาม เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเงินบำเหน็จพนักงานและค่าซ่อมแซมอาคาร: การลงบัญชีตามเกณฑ์สิทธิและข้อห้ามทางภาษี
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานให้โจทก์เป็นเวลานานทั้งเพื่อเป็นการอุปการะเลี้ยงดูทายาทของพนักงานผู้นั้นด้วย มีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและมีเหตุอันควร ทั้งการจ่ายเงินรายนี้ก็เป็นการจ่ายตามระเบียบ กฎเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ตามมติที่ประชุมกรรมการโจทก์ จึงไม่เป็นการให้โดยเสน่หาตามความหมายของมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะลงบัญชีที่เรียกว่า สตาฟ รีไทร์เมนท์ เบเนฟิต รายจ่ายส่วนนี้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ.2519 และตกลงให้ พ.รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ.ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ.2520 โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ.จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ.เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ.2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิและ 65 ตรี (9)
รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ.2519 และตกลงให้ พ.รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ.ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ.2520 โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ.จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ.เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ.2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิและ 65 ตรี (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเพื่อตอบแทนพนักงานถึงแก่กรรมและค่าซ่อมแซมอาคาร: การลงบัญชีรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิและข้อห้ามตามประมวลรัษฎากร
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานให้โจทก์เป็นเวลานานทั้งเพื่อเป็นการอุปการะเลี้ยงดูทายาทของพนักงานผู้นั้นด้วยมีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและมีเหตุอันควร ทั้งการจ่ายเงินรายนี้ก็เป็นการจ่ายตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ตามมติที่ประชุมกรรมการโจทก์ จึงไม่เป็นการให้โดยเสน่หาตามความหมายของมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะลงบัญชีที่เรียกว่าสตาฟรีไทร์เมนท์เบเนฟิต รายจ่ายส่วนนี้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ. 2519 และตกลงให้ พ. รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ. ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ. 2520โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ. จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ. เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ. 2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์รายจ่ายทางภาษี: ใบรับเงินที่ไม่สมบูรณ์และการกำหนดราคายางโดยอาศัยประกาศ
ใบรับเงินซึ่งเป็นหลักฐานการจ่ายเงินของโจทก์มีแต่ชื่อตัวผู้รับเงินซึ่งเป็นผู้ขาย โดยไม่ระบุนามสกุลและบ้านเลขที่ของผู้รับเงินหรือผู้ขาย แสดงว่าโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ตัวผู้ขายยางให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ น่าเชื่อว่าโจทก์ทำใบรับเงินเหล่านี้ขึ้นเอง ต้องถือว่ารายจ่ายของโจทก์ตามใบรับเงินที่โจทก์นำมาให้ตรวจสอบนั้นเป็นรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็น ผู้รับเงิน รายจ่ายที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสามรอบระยะเวลาบัญชีตามใบรับเงินเหล่านี้จึงไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)เมื่อใบรับเงินที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งหมดรับฟังไม่ได้ ราคายางที่โจทก์ซื้อตามที่ระบุในใบรับเงินย่อมรับฟังไม่ได้ตามไปด้วย เมื่อจำเลยกำหนดราคายางขึ้นมาโดยอาศัยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหลัก ย่อมเป็นการกำหนดราคาที่มีเหตุผล ทั้งราคายางตามประกาศดังกล่าวก็ระบุไว้โดยละเอียดเป็นรายเดือนทุกเดือนในสามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวตามประเภทของยาง การกำหนดราคายางที่จำเลยกระทำในกรณีนี้จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายซื้อขายยางไม่สมบูรณ์-พิสูจน์ไม่ได้-ราคายางตามประกาศกรมฯชอบแล้ว-ศาลฎีกายกฟ้อง
ใบรับเงินซึ่งเป็นหลักฐานการจ่ายเงินของโจทก์มีแต่ชื่อตัวผู้รับเงินซึ่งเป็นผู้ขาย โดยไม่ระบุนามสกุลและบ้านเลขที่ของผู้รับเงินหรือผู้ขาย แสดงว่าโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ตัวผู้ขายยางให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ น่าเชื่อว่าโจทก์ทำใบรับเงินเหล่านี้ขึ้นเอง ต้องถือว่ารายจ่ายของโจทก์ตามใบรับเงินที่โจทก์นำมาให้ตรวจสอบนั้นเป็นรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสามรอบระยะเวลาบัญชีตามใบรับเงินเหล่านี้จึงไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)เมื่อใบรับเงินที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งหมดรับฟังไม่ได้ ราคายางที่โจทก์ซื้อตามที่ระบุในใบรับเงินย่อมรับฟังไม่ได้ตามไปด้วย เมื่อจำเลยกำหนดราคายางขึ้นมาโดยอาศัยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหลัก ย่อมเป็นการกำหนดราคาที่มีเหตุผล ทั้งราคายางตามประกาศดังกล่าวก็ระบุไว้โดยละเอียดเป็นรายเดือนทุกเดือนในสามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวตามประเภทของยาง การกำหนดราคายางที่จำเลยกระทำในกรณีนี้จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าจ้างทำของต้องมีผู้รับจริงจึงหักลดหย่อนได้ ค่ารับรองสมเหตุสมผลหักลดหย่อนได้
รายจ่ายค่าจ้างทำของที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2514,2515 และโจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่าได้จ่ายไปจริงโดยมีหลักฐานการจ่ายมาแสดง มีการลงบัญชี และเป็นค่าใช้จ่ายที่พอสมควรจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้จ่ายไปจริง เพียงแต่กล่าวอ้างว่าค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปนั้นเป็นจำนวนสูงเกินสมควร รายจ่ายดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 ถึง 2515 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษของพนักงานที่ยังไม่ได้จ่ายจริง ถือเป็นเงินสำรองตามประมวลรัษฎากร ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ตามระเบียบสำหรับพนักงานของโจทก์ เงินบำเหน็จพิเศษไม่มีลักษณะเป็นกองทุนเพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบ แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงานเพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอนเงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่ การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ 6 เดือน มาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงานและบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานจึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง เงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) ซึ่งบัญญัติมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่ไม่ใช่รายจ่ายทางภาษี และการไม่มีเจตนาสุจริตในการเสียภาษี ทำให้ไม่ได้รับลดเงินเพิ่ม
แม้เงินบำเหน็จพิเศษที่ธนาคารโจทก์จ่ายให้พนักงานจะไม่มีลักษณะเป็นเงินกองทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) เพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบก็ตาม แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงาน เพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอน เงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ6 เดือนมาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงาน และบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงาน จึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริงเงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามมาตรา65 ตรี (1) ซึ่งไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงนำเงินบำเหน็จพิเศษมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้วถึงแม้จะมิได้นำมา กล่าว ในคำขอท้ายฟ้อง ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยแล้ว การที่โจทก์ออกระเบียบว่าด้วยบำเหน็จและระเบียบว่าด้วยหลักประกันตัวพนักงาน ด้วยวิธีกำหนดให้เงินบำเหน็จพิเศษและเงินประจำตัวมีจำนวนเท่ากัน เพื่อประโยชน์ที่จะอาศัยวิธีการทางบัญชีนำเงินบำเหน็จพิเศษซึ่งมิได้มีการจ่ายมาเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยกว่าความเป็นจริงนั้น เรียกไม่ได้ว่าโจทก์และเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นในการตีความกฎหมายต่างกันโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษของพนักงานที่ยังไม่ได้จ่ายจริง ถือเป็นเงินสำรองตามประมวลรัษฎากร ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ตามระเบียบสำหรับพนักงานของโจทก์ เงินบำเหน็จพิเศษไม่มีลักษณะเป็นกองทุนเพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบ แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงานเพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอนเงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่ การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ 6 เดือน มาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงานและบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานจึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง เงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) ซึ่งบัญญัติมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.