คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบทรัพย์สินที่ได้มาไม่สมเหตุสมผลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการ โดยพิจารณาจากรายได้ที่แท้จริงและแหล่งที่มา
การส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินตามมาตรา20แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯไม่จำเป็นต้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษไล่ออกเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเสียก่อนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นวิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอันเป็นวิธีการทางวินัยไม่ใช่การลงโทษทางอาญาที่บุคคลจะต้องรับโทษต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้กฎหมายนี้จึงใช้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ได้ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหรือบุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมาตรา21จัตวาที่ว่าแม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปด้วยเหตุอื่นนอกจากตายก็ให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้แต่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน1เดือนนับแต่ผู้นั้นพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมีเจตนารมณ์ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะแสดงทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การประเมินรายได้จากหนังสือคืน, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการคืนเงินวางชำระ
บัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 ชนิด 6 กำหนดให้รายรับที่ได้จากการขายสมุด เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ ผู้ขายทอดแรกต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ส่วนข้อยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี(7)กำหนดให้รายรับจากการขายหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสารที่จำหน่ายแก่สาธารณชน ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า หนังสือนิตยสารสาวสยามของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นนวนิยาย มากกว่าข่าวสารจึงมิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสาร ไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 79 ตรี(7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6 บัญชีคุมสินค้าของโจทก์มิได้ระบุว่ามีหนังสือคงเหลือ การที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์เพิ่มโดยถือว่าโจทก์รับหนังสือที่เหลือจากการขายคืนมาเป็นจำนวนร้อยละ 20 และขายได้กิโลกรัมละ 1 บาท โดยอาศัยตัวเลขจากถ้อยคำของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ได้ให้ไว้ในชั้นไต่สวน จึงชอบด้วยกฎหมาย หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์จะระบุว่าโจทก์เพิ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2525 แต่หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2520รายจ่ายที่เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทนับแต่วันดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเอง ตามมาตรา 65 ตรี ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ในข้อที่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ และไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเมื่ออุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 จึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคำสั่งศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการบริหารงานกิจการร่วมค้า ถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ช. เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ช. จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม. มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้าซ. แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการพนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ. มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ.และกิจการร่วมค้าซ. มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้าซ. โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ. จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ก)และ(ฉ) การรับจ้างทำของด้วยดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้าซ. จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้า ซ. เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะ ถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ. เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511 มาตรา 105 และปรากฏตามมาตรา 104 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักร อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกันก็ตาม แต่ตามมาตรา 106 (5) จำเลยยังมีอำนาจซื้อ จัดหา จำหน่าย ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน และอาจมีรายได้จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 107 (5) และในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และรายจ่าย หากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนิน-งานต่อไป เช่นนี้ แสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้น โดยมิใช่เป็นกิจการให้เปล่า กิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะ: การคำนวณจากเงินเดือนรายได้ของผู้ตาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความตายของผู้ตายทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีของผู้ตายต้องขาดรายได้จากผู้ตายเท่ากับเงินเดือนที่ผู้ตายได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรายเดือนเดือนละ 8,960 บาท หรือปีละ107,520 บาท เป็นเวลา 14 ปี รวมเป็นเงิน 1,505,280 บาท เป็นการบรรยายฟ้องถึงเรื่องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเอง ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าขาดไร้อุปการะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี "รายได้" จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ สำหรับการขายสินค้าไปเพียงใด ในราคาเท่าใด สามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไป การที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้า และไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้า สำหรับบทบัญญัติตามมาตรา 79 ทวิ (6) ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ประกอบการค้า ตามประเภทการค้า 1 และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้า ขาดจากบัญชีคุมสินค้า หรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้า ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้น ก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้า จะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่มีสินค้าคงเหลือปลายงวด
ประมวลรัษฎากรมาตรา65ให้จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปกล่าวคือตรวจสอบจากปริมาณสินค้าคงเหลือต้นงวดบวกด้วยปริมาณสินค้าที่ซื้อมาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่มีเพื่อขายทั้งสิ้นแล้วหักด้วยปริมาณสินค้าที่เหลือปลายงวดรวมทั้งบิลขายและบัญชีขายก็จะทราบถึงปริมาณและราคาของสินค้าที่ขายไปแต่การที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การถือเป็นรายได้จากการไม่มีบัญชีคุมสินค้าและสินค้าคงเหลือ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปการที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้าสำหรับบทบัญญัติตามมาตรา79ทวิ(6)ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่าถ้าผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า1และประเภทการค้า2แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ามีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าหรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้าให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้นก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้าจะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางภาษีของภริยาเมื่อแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและมีรายได้ตามมาตรา 40(1) เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรมาตรา57ตรีวรรคแรกใช้บังคับเฉพาะจนกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้นฉะนั้นหากภริยาไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)เพียงอย่างเดียวซึ่งภริยาได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีโดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา57ตรีแล้วก็มิใช่กรณีการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีซึ่งสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีและถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า7วันแล้วภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นตามมาตรา57ตรีวรรคแรกเมื่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่มีเงินได้ถึงประเมินประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)และจำเลยได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา57เบญจแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา57ตรีมาใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินรายได้, การปรับปรุงแก้ไข, และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา19,20แห่งประมวลรัษฎากรส่วนมาตรา31วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรนั้นมิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้
of 15