คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ริบทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในคดีการพนัน: ศาลมีอำนาจริบได้แม้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ หากทรัพย์สินนั้นเป็นของกลางที่ใช้ในการพนัน
ในเรื่องริบทรัพย์นั้น แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18บัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่ก็เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่น แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดจะไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 ศาลก็ชอบที่จะสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้
ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 10 ทรัพย์สินพนันกันซึ่งจับได้ในวงการเล่นนั้น เป็นทรัพย์สินที่ต้องริบโดยเด็ดขาดเว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมิได้เอาออกพนัน ส่วนทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นพนัน ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะสั่งริบหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในคดีพนัน แม้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจริบได้ โดยแยกพิจารณาทรัพย์สินพนันกับเครื่องมือ
ในเรื่องริบทรัพย์นั้น แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18บัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่ก็เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ ต่างกับโทษสถานอื่น แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดจะไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 ศาลก็ชอบที่จะสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้
ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 10 ทรัพย์สินพนันกันซึ่งจับได้ในวงการเล่นนั้น เป็นทรัพย์สินที่ต้องริบโดยเด็ดขาดเว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมิได้เอาออกพนัน ส่วนทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นพนัน ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะสั่งริบหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้าข้าวเกินปริมาณที่แจ้งและบทบัญญัติการริบทรัพย์ในความผิดเกี่ยวกับการค้าข้าว
จำเลยมีความผิดฐานมีข้าวสารและข้าวเหนียวรวมกันเกินกว่า1,000 กิโลกรัม ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศ ข้าวที่มีไว้ทั้งหมดจึงเป็นข้าวที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดที่จำเลยได้กระทำ ต้องถูกริบตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489 มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดศุลกากร การพิจารณาการขอคืนทรัพย์ของผู้ร้องที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 (คือมาตรา 27) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิมิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบทรัพย์ที่มิได้เป็นความผิดในตัว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เป็นเรื่องที่ให้ริบทรัพย์ชนิดที่กฎหมายบัญญัติว่าถ้าทำหรือมีไว้แล้วก็ต้องเป็นความผิด เมื่อปืนของกลางเป็นปืนที่มีทะเบียนถูกต้องจำเลยซึ่งมิใช่เจ้าของปืนนำมาครอบครองไว้ จึงคงเป็นความผิดในส่วนที่ตนมิได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 32 อันจะพึงสั่งริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายริบทรัพย์ เพราะปืนมีทะเบียนถูกต้อง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เป็นเรื่องที่ให้ริบทรัพย์ชนิดที่กฎหมายบัญญัติว่าถ้าทำหรือมีไว้แล้วก็ต้องเป็นความผิด. เมื่อปืนของกลางเป็นปืนที่มีทะเบียนถูกต้องจำเลยซึ่งมิใช่เจ้าของปืนนำมาครอบครองไว้. จึงคงเป็นความผิดในส่วนที่ตนมิได้รับอนุญาตเท่านั้น. จึงไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 32 อันจะพึงสั่งริบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตามที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าสลากและสินค้า, การริบทรัพย์, และข้อยกเว้นการริบเมื่อเจ้าของไม่มีส่วนรู้เห็น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ลักลอบนำสลากกินแบ่งของสหพันธ์รัฐมลายาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยวิธีซ่อนเร้น ด้วยการละเว้นไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง นั้น ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดว่าการผ่านศุลกากรโดยถูกต้องจะต้องทำอย่างไรก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากร ก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบขนของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใดก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่ นั้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองกรรมสิทธิ์
ในขณะนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอน และไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำาจกระทำได้
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นผู้มิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด ได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้ จึงเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 มาตรา 113 และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำพิพากษาฎีกาเรื่องความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวย่อมนำมาเปรียบเทียบกับคดีนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ และการริบทรัพย์ของบุคคลที่มิได้กระทำผิด
เมื่อยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอนและไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่นั้นได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้จึงเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญฯฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495มาตรา 113 เทียบได้กับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องการริบทรัพย์ของบุคคลผู้มิได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวฯ
of 9