คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดีรื้อถอนและการดำเนินการแทน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่าถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น โดยประมาทเลินเล่อและทุจริต เจ้าของที่ดินมีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนได้
ที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1 อยู่ติดกันเป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่มีรั้วหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตไว้การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของ จำเลยที่ 1 โดยเพิกเฉยไม่ตรวจสอบแนวเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ให้แน่นอนเสียก่อน จึงเป็นการ กระทำที่ส่อแสดงถึงความไม่รอบคอบและประมาทเลินเล่อ นอกจากนี้ในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทต่อเทศบาล ก็ไม่ปรากฏหลักฐานสำเนาโฉนดที่ดินและบัตรประจำตัวประชาชน คงมีแต่หนังสือให้ความยินยอมให้ก่อสร้างของโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินข้างเคียงเท่านั้น ซึ่งปรากฏว่าลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นลายมือชื่อปลอมพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยทั้งสองรู้หรือควรจะรู้แต่ต้นแล้วว่าอาคารพิพาท รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสอง ก่อสร้างอาคารพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทแล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่ จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาตทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้วดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่าง อันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า10 เมตร ทุกด้านเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้านซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินแล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่าให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่ากรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารขัดกับผังเมืองรวมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลยโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนน อันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ.2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 41(พ.ศ.2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้น เมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 323 (พ.ศ.2540) และฝ่าฝืน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารขัดผังเมืองรวม การยกกฎกระทรวงใช้บังคับย้อนหลัง และสิทธิในการรื้อถอนอาคาร
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลย โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนนอันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ใน ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่ และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผัง แสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้นเมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและการรื้อถอนอาคาร ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นหากไม่ได้กำหนดไว้
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารและการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร: การรับฟังพยานหลักฐานและการแจ้งคำสั่ง
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อนและการที่ส.หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้านโดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้วตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43(1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายกำแพงจากก่อสร้างอาคารติดกัน: การรื้อถอนหรือก่อสร้างใหม่
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ 1 นิ้วช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอนเข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลย ผนังกำแพงเอนจากแนวตั้งฉากประมาณ 4 เซนติเมตร และเอนเข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอนมากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอนประมาณ 15เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด 22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่ หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาท รวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้ว กรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากอาคารข้างเคียง: การรื้อถอนกำแพง vs. ก่อสร้างใหม่ และขอบเขตอำนาจฟ้อง
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง 4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ1 นิ้ว ช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอน*เข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลยผนังกำแพงเอน*จากแนวตั้งฉากประมาณ4เซนติเมตรและเอน*เข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอน*มากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอน*ประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทรวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้วถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้วกรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก
of 40