พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งรื้อถอนอาคารและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้คำสั่งไม่เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ยังถือว่ามีความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529นายกเทศมนตรีตำบลนาสาร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคาร ทั้งหมด แล้วให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยได้บังอาจฝ่าฝืน" ซึ่งหมายความว่า วันที่ 2 กันยายน 2529 เป็นวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ ดัดแปลงต่อเติมนั้น และเป็นวันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้ว อีกด้วย จึงมิใช่ฟ้องที่ไม่ได้แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งในวันใดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) บทบัญญัติมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดว่า คำสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เมื่อคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีใจความว่า จำเลยได้ต่อเติมอาคาร ด้านหลังโดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษ ตามกฎหมาย และให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มีลักษณะเป็นคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถึงแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้ใช้แบบตามที่กำหนดไว้ ท้ายกฎกระทรวงก็ไม่เหตุให้ผู้ฝ่าฝืนไม่มีความผิด แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้กำหนดระยะเวลาให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมน้อยกว่า 30 วัน ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก บัญญัติไว้ก็ตาม ก็เป็นเพียงเหตุให้ไม่ต้องรื้อถอนอาคารก่อนครบกำหนด 30 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่รื้อถอน และระยะเวลาที่กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยยังเพิกเฉยเสีย จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลย ย่อมมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบ เนื่องจากเจ้าของที่ดินรับโอนหลังการก่อสร้างผิดกฎหมาย
แม้จำเลยให้การในข้อแรกว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การในข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับ ข้อกล่าวอ้างตามฟ้องประการแรกว่าส. ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจะกระทำการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ คำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดว่าเป็นการปฏิเสธฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า ได้มีการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนที่อนุญาตจริง ตามฟ้องและยังมิได้รื้อถอนตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง ที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องประการหลัง จำเลยได้ให้การยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโดยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลง พร้อมอาคารพิพาทและจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งของโจทก์ที่ให้ทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่เกินจากแบบแปลนที่โจทก์อนุญาตให้ทำการก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดแล้วและจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องทั้งสองประการดังกล่าวโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)และโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งได้ตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจศาลในการบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความรับผิดของเจ้าของที่ดินกับผู้ก่อสร้าง
บทบัญญัติตามมาตรา 42 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมิได้บังคับเป็นการเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องให้เจ้าของอาคารร่วมรับผิดในการรื้อถอนเสมอไปแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับผิดในการรื้อถอน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารมิได้ยินยอมอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารโรงจอดรถที่ต้องถูกรื้อถอน ทั้งเป็นผู้มาแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบถึงการปลูกสร้างที่ผิดแบบ จึงไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการรื้อถอนด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวต้องรับผิดในการรื้อถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3982/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต: อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น และอายุความฟ้องร้อง
แม้จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอาคารขณะที่โจทก์ทราบเรื่องการก่อสร้างต่อเติมอาคารก็ตามแต่ข้อหาตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยสามีจำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติม ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 ประกอบมาตรา 40 ให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมหรือจำเลยเจ้าของผู้ครอบครองอาคารให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องบังคับได้และไม่ขัดต่อมาตรา 71 เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและคำเบิกความพยานโจทก์เพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้แล้วก็อาจมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยที่เหลือได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเจ้าของผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมเป็นการบังคับให้จำเลยกระทำการทางแพ่ง ไม่ได้ฟ้องให้ลงโทษจำเลยทางอาญา เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้เป็นพิเศษจึงต้องถือหลักอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย
การที่ ฮ. บิดาจำเลยได้ยกโครงหลังคาอาคารด้านหลังตึกแถวจากเดิม สูง 4 เมตรเป็น 6 เมตร เปลี่ยนเสากลางจากสูง 6 เมตรเป็นสูง 7 เมตร และเปลี่ยนหลังคาสังกะสีซึ่งคลุมพื้นที่ว่างด้านหลังตึกแถวเป็นหลังคากระเบื้องโดยใช้กำแพงรั้วอิฐบล็อก เดิม และก่อสร้างรั้วอิฐบล็อก โปร่ง เสริมจากรั้วอิฐบล็อก เดิม สูงขึ้นอีก 1 เมตร และใช้สังกะสีกั้นเป็นผนังต่อจากกำแพงรั้วขึ้นไปจนถึงขอบหลังคา เป็นการขยายรูปทรงและสัดส่วนของโครงสร้างอาคารและต่อเติมส่วนต่าง ๆ ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม ถือว่าเป็นการดัด แปลงอาคารตามบทบัญญัติดังกล่าวและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) เมื่อจำเลยให้ ฮ.ดัด แปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทด้านหลังตึกแถวออกไปทั้งหมดได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซม และดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ ระบุใช้ โครงสร้างเดิมซึ่ง เป็นไม้แต่ ในการดำเนิน การ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยายความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 21 อีกด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้าน ทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่น ระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้าน ละ 3 เมตรที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ ว่ามีเหตุสมควรจะต้อง รื้อถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927-2929/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ แม้ผู้ซื้อเป็นผู้สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 40,42 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะสั่งให้ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานรวมทั้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองระงับการก่อสร้างที่ผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และหากการกระทำนั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนภายในเวลาที่กำหนด บทกฎหมายนี้ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรวมไปถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนดังกล่าวด้วย ดังนั้นแม้จำเลยซื้ออาคารจาก อ. มาโดยสุจริตโดยไม่ได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทในส่วนที่ผิดแบบแปลนก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ หากจำเลยต้องเสียหายอย่างใดก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเอากับผู้ที่ทำให้จำเลยต้องรับผิดรื้อถอนอาคารต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องมีเหตุอาคารผิดกฎหมาย หรือแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไป ซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลง และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาตจึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารต้องเป็นไปตามก.ม.ควบคุมอาคาร โดยต้องมีเหตุผิดก.ม.กระทรวง/ข้อบัญญัติท้องถิ่น และแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไปซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลงและยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาต จึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้.