พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางอายุความและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ศาลไม่อนุญาตให้เจ้าของที่ดินรื้อถอนเอง
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยึดทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390 ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิในที่ดินเมื่อมีการรุกล้ำจากโครงสร้างเดิม การตีความมาตรา 1312 และหลักการเทียบเคียงบทกฎหมาย
เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดในที่ดินของตนเอง ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลง ๆ ทำให้กันสาดของตึกที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม คดีนี้จำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องนำป.พ.พ. มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือจำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อกันสาด แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไปแต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น คงฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ กทม. กรณีทางระบายน้ำถูกรุกล้ำ และวิธีบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา89(6) กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ เมื่อคลองลาดยาวเป็นทางระบายน้ำอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครการที่จำเลยถมและปิดกั้นทางระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
การที่ศาลพิพากษาว่า การรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างและขุดดินส่วนที่มีการถม หากจำเลยไม่ปฏิบัติก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนและขุดดินออกเองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับ โดยเพิ่มมาตรา 296 ทวิ ว่าในกรณีนี้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องต่อศาลให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขุดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออก จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ศาลพิพากษาว่า การรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างและขุดดินส่วนที่มีการถม หากจำเลยไม่ปฏิบัติก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนและขุดดินออกเองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับ โดยเพิ่มมาตรา 296 ทวิ ว่าในกรณีนี้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องต่อศาลให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขุดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออก จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้เจ้าของเดิมไม่ทราบว่าถูกรุกล้ำ
ขณะที่จำเลยให้การนั้น ยังไม่สามารถกำหนดได้โดยแน่ชัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ทั้งได้ความว่าเนื้อที่ที่จำเลยทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เล็กน้อยเพียง2 ตารางวา การที่จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย หรือหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์แล้ว จำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยปรปักษ์เช่นนี้จำเลยย่อมให้การได้ เพราะมีเหตุผลในการต่อสู้คดีของจำเลยจะอ้างว่าจำเลยมิได้ให้การยืนยันในเรื่องการรุกล้ำหาได้ไม่ ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เมื่อจำเลยเข้าครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ หากครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 แล้ว หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่ว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำลำรางสาธารณะและการปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน: เหตุอันสมควรและข้อแก้ตัว
ช.ฟ้องจำเลยว่าสร้างรั้วรุกล้ำลำรางสาธารณประโยชน์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่ารั้วที่จำเลยสร้างรุกล้ำ ลำราง สาธารณประโยชน์ระหว่างที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนรั้วออกจากลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว ดังนี้ มีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจว่าตนมิได้สร้างรั้วรุกล้ำ ลำรางสาธารณประโยชน์ดังที่ถูกกล่าวหาทั้งจำเลยได้ให้ทนายความ มีหนังสือชี้แจงเหตุผลต่อนายอำเภอทันทีที่ทราบคำสั่งถือได้ว่าจำเลย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอโดยมีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีการโอนสิทธิ และการรุกล้ำทางภาระจำยอม
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ครบถ้วนและถูกต้อง แม้โจทก์ทำหนังสือสัญญายกที่ดินสามยทรัพย์ให้บุตร และต่อมาบุตรโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับทางภาระจำยอมรายเดียวกันนี้ก็ตาม สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้บังคับคดีนี้ต่อไป อันเป็นบุคคลสิทธิก็ยังคงมีอยู่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และคำพิพากษาตามยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ ปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภาระจำยอมและถมดินลงในลำกระโดงสาธารณะให้โจทก์ใช้แทนทางภาระจำยอมเดิมบางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภาระจำยอม และทำทางภาระจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ ปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภาระจำยอมและถมดินลงในลำกระโดงสาธารณะให้โจทก์ใช้แทนทางภาระจำยอมเดิมบางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภาระจำยอม และทำทางภาระจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทางภาระจำยอม: การรุกล้ำทางภาระจำยอมและการโอนกรรมสิทธิ์หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำพิพากษา
คดีมีประเด็นในชั้นบังคับคดีว่า จำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วหรือไม่นั้น ศาลมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งได้เพราะเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา148(1) จำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภารจำยอมและถม ดิน ลงในลำกระโดง สาธารณะ ให้โจทก์ใช้แทนทางภารจำยอมเดิม บางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปตามป.พ.พ. มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม และสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้ตลอดไป โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภารจำยอม และทำทางภารจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม แม้มีการโอนสิทธิ และการรุกล้ำทางภาระจำยอม
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ครบถ้วนและถูกต้อง แม้โจทก์ทำหนังสือสัญญายกที่ดินสามยทรัพย์ให้บุตร และต่อมาบุตรโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับทางภาระจำยอมรายเดียวกันนี้ก็ตาม สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้บังคับคดีนี้ต่อไป อันเป็นบุคคลสิทธิก็ยังคงมีอยู่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และคำพิพากษาตามยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ ปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภาระจำยอมและถมดินลงในลำกระโดงสาธารณะให้โจทก์ใช้แทนทางภาระจำยอมเดิมบางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภาระจำยอม และทำทางภาระจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ ปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภาระจำยอมและถมดินลงในลำกระโดงสาธารณะให้โจทก์ใช้แทนทางภาระจำยอมเดิมบางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภาระจำยอม และทำทางภาระจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น โดยสุจริตและเปิดเผย
ที่ดินและตึกแถวของโจทก์จำเลยอยู่ติดกันและเดิม เป็นของเจ้าของคนเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างเช่า จากเจ้าของเดิม ต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่า ตก เป็นของ ม. ส่วนที่ดินและตึกแถวที่จำเลยเช่าตก เป็นของ ช. แล้วต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่า ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์และส่วนที่จำเลยเช่า โอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ระหว่างที่ดินและตึกแถวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม.และ ช. นั้น จำเลยได้รื้อตึกแถวเก่าของตน แล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ภายในเขตแนวเดิม โจทก์รื้อครัวที่อยู่ด้าน หลังตึกแถวของโจทก์และติดกับผนังตึกด้าน ข้างตึกแถวจำเลยแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่พร้อมกันโดยใช้ผนังด้าน หลังของห้องครัวโจทก์กับผนังด้าน ข้างของตึกแถวจำเลยร่วมกัน และจ้างช่าง ปลูกสร้างคนเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือ ม. ทักท้วงห้ามปราม แม้ว่าบางส่วนของที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวนั้นจะอยู่ในโฉนด ที่โจทก์ซื้อ แต่จำเลยเข้าใจในขณะปลูกสร้างว่า ที่ดินตรงที่ปลูกสร้างนั้นเป็นที่ดินที่อยู่ในโฉนด ที่จำเลยเช่าจึงเป็นกรณีที่จำเลยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินตามสภาพที่เป็นอยู่ปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินโจทก์ที่จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิปลูกสร้างได้ เป็นการปลูกโดยสุจริต เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินในส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์สืบสิทธิของ ช. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่จำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ส่วนที่ถูกตึกแถวจำเลยปลูกรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้บางส่วนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น
ที่ดินและตึกแถวของโจทก์จำเลยอยู่ติดกันและเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันโจทก์จำเลยต่างเช่าจากเจ้าของเดิม ต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่าตกเป็นของ ม. ส่วนที่ดินและตึกแถวที่จำเลยเช่าตกเป็นของ ช. แล้วต่อมาที่ดินและตึกแถวที่โจทก์เช่าได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์และส่วนที่จำเลยเช่าโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ระหว่างที่ดินและตึกแถวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. และ ช. นั้น จำเลยได้รื้อตึกแถวเก่าของตนแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ภายในเขตแนวเดิม โจทก์รื้อครัวที่อยู่ด้านหลังตึกแถวของโจทก์และติดกับผนังตึกด้านข้างตึกแถวจำเลยแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่พร้อมกันโดยใช้ผนังด้านหลังของห้องครัวโจทก์กับผนังด้านข้างของตึกแถวจำเลยร่วมกัน และจ้างช่างปลูกสร้างคนเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือ ม. ทักท้วงห้ามปราม แม้ว่าบางส่วนของที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวนั้นจะอยู่ในโฉนดที่โจทก์ซื้อ แต่จำเลยเข้าใจในขณะปลูกสร้างว่าที่ดินตรงที่ปลูกสร้างนั้นเป็นที่ดินที่อยู่ในโฉนดที่จำเลยเช่า จึงเป็นกรณีที่จำเลยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินตามสภาพที่เป็นอยู่ปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินโจทก์ที่จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิปลูกสร้างได้ เป็นการปลูกโดยสุจริต เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินในส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์สืบสิทธิของ ช. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่จำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ส่วนที่ถูกตึกแถวจำเลยปลูกรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.