พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมสามีต่อการฟ้องคดีและการร่วมรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการประนีประนอมยอมความ
สามีโจทก์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องที่ดิน โดยสามีโจทก์ยินยอมรับผิดร่วมด้วยกับโจทก์ ในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินคดีทุกประการ ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันต่อศาลให้โจทก์ทำนาพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ยอมเสียค่าเช่าไร่ละ 7 ถังข้าวเปลือกคิดเป็นเงินถังละ13 บาท ถ้าจำเลยชนะคดีโจทก์จะนำค่าเช่าดังกล่าวชำระให้จำเลยภายใน 1 เดือนนับแต่เสร็จคดี การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยเช่นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่ฟ้อง ซึ่งสามีได้อนุญาตให้โจทก์กระทำได้ตามที่อนุญาตไว้นั่นเอง สามีโจทก์จะเถียงว่าข้อที่โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยต่อศาลเรื่องการทำนาพิพาทนั้น ไม่เกี่ยวกับการที่สามีโจทก์ได้อนุญาตให้กระทำได้นั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ไม่ยอมชำระค่าเช่า จำเลยย่อมมีสิทธินำยึดสินบริคณห์ระหว่างโจทก์กับสามีเพื่อบังคับคดีเอาชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่ต้องขอให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของโจทก์ก่อน สามีโจทก์จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วน/บริษัทร่วมรับผิดในละเมิด: ตราประทับ, ฟ้องเคลือบคลุม, การจ้างขับรถ
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คโดยชอบ แม้ผู้สั่งจ่ายไม่มีเงินฝาก ผู้สลักหลัง/อาวัลร่วมรับผิด แม้มีการถอนฟ้องคดีอาญา
ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่มีเงินฝากธนาคาร แต่ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็คของบุคคลอื่นเมื่อทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา 987, 988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมเป็นเช็คโดยชอบหากผู้ทรงนำไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังหรือผู้รับประกันด้วยอาวัลย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
(ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
(ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คโดยชอบแม้ไม่มีเงินฝาก ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังร่วมรับผิดต่อผู้ทรง
ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่มีเงินฝากธนาคาร. แต่ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็คของบุคคลอื่นเมื่อทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา 987, 988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมเป็นเช็คโดยชอบ.หากผู้ทรงนำไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้. ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังหรือผู้รับประกันด้วยอาวัลย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง.
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น. ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง. (ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่).
การที่ผู้ทรงเช็คเคยฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีอาญา แล้วถอนฟ้องเสีย โดยยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น. ไม่เป็นเหตุให้ผู้สลักหลังหรือรับประกันด้วยอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง. (ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมรับผิดในละเมิดจากการดำเนินกิจการร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเดินรถโดยสารประจำทางกับจำเลยที่1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมรถและเก็บค่าโดยสาร ถ้าจำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและตัวโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์เช่นเดียวกับตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนตามนัยมาตรา 1042และ 427 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการขับรถประมาท: ผู้โดยสารมีส่วนรับผิดด้วยหรือไม่?
เจ้าของรถให้ผู้ที่จะรับจ้างปืนคนขับรถของตนทดลอง+ขับรถดูก่อนเพื่อดูความสามารถโดยตนเอง ก็เป็นผู้นั่งควบคุมไปด้วยต้องรับผิดร่วมกันเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถไปชนผู้อื่นบาดเจ็บ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าอาคาร - การร่วมรับผิดของผู้เช่าและกรรมการผู้มีอำนาจ - อายุความค่าเช่าค้างชำระ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าปรับตามสัญญาเช่า จำเลยทั้งสองก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาเช่าตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระค่าเช่า และไม่ต้องชำระค่าปรับตามฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าตามฟ้องจริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้แล้วว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าตามฟ้องจริง โดยโจทก์ไม่จำต้องอ้างหนังสือสัญญาเช่าตามฟ้องเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ฎีกาว่าสัญญาเช่าตามฟ้องมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้ก็ตาม การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 563 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้า ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือนตามมาตรา 193/12
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 563 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้า ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือนตามมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11632/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการโอนสิทธิเรียกร้องและการมอบอำนาจโดยไม่มีสิทธิ จำเลยต้องร่วมกันรับผิดคืนเงิน
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2539 โจทก์ตรวจรับมอบผ้างวดที่ 1 ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบไว้เรียบร้อยแล้ว ครั้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2539 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกงและจงใจทำละเมิดต่อโจทก์โดยแสดงข้อความเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง กล่าวคือจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ไปขอรับค่าสินค้างวดที่ 1 จากโจทก์โดยแจ้งต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าสินค้างวดที่ 1 ซึ่งเป็นความเท็จ เพราะความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินค้านั้นไปให้ผู้อื่นก่อนแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าสินค้าจากโจทก์อีก การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. และเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือชดใช้เงินค่าสินค้าผ้างวดที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิด และให้คืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 438
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ร่วมเดินทางไปกับหัวหน้างานบัญชีของบริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง เพื่อไปส่งมอบหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่กองพลาธิการ กรมตำรวจ ย่อมบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่า การโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าสินค้าจากโจทก์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่บริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) มีผลสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง อันเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในการรับเงินค่าสินค้าผ้าจากโจทก์ตกเป็นของบริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) และจำเลยที่ 1 หมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวจากโจทก์แล้ว ดังนั้นต่อมาเมื่อโจทก์ตรวจรับมอบสินค้างวดที่ 1 จากจำเลยที่1 แล้ว เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ไปรับเงินค่าผ้าในงวดที่ 1 อีก ไม่ว่าจะเป็นเพราะความผิดพลาดในการตรวจสอบเอกสาร หรือความเข้าใจผิดใดก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากกองพลาธิการ กรมตำรวจ แทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวจากโจทก์ได้อีก การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาที่ไม่สุจริตอันถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ทำละเมิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 นิติบุคคลเจ้าของกิจการที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 1167 ประกอบมาตรา 427
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ร่วมเดินทางไปกับหัวหน้างานบัญชีของบริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง เพื่อไปส่งมอบหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่กองพลาธิการ กรมตำรวจ ย่อมบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่า การโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าสินค้าจากโจทก์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่บริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) มีผลสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง อันเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในการรับเงินค่าสินค้าผ้าจากโจทก์ตกเป็นของบริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) และจำเลยที่ 1 หมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวจากโจทก์แล้ว ดังนั้นต่อมาเมื่อโจทก์ตรวจรับมอบสินค้างวดที่ 1 จากจำเลยที่1 แล้ว เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ไปรับเงินค่าผ้าในงวดที่ 1 อีก ไม่ว่าจะเป็นเพราะความผิดพลาดในการตรวจสอบเอกสาร หรือความเข้าใจผิดใดก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากกองพลาธิการ กรมตำรวจ แทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวจากโจทก์ได้อีก การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาที่ไม่สุจริตอันถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ทำละเมิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 นิติบุคคลเจ้าของกิจการที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 1167 ประกอบมาตรา 427
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้และการร่วมรับผิดของจำเลย การพิสูจน์การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน
จำเลยที่ 1 ให้การยอมรับว่าได้กู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 13 จริง ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.15 ทั้งรับว่าได้ชำระคืนแก่ผู้ให้กู้ดังกล่าวตลอดมาเพียงแต่ชำระไม่ครบจำนวนตามที่ตกลงกัน ชำระไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดในสัญญาและต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ของจำเลยที่ 1 มิใช่ลายมือชื่อปลอมแล้ว แม้จำเลยที่ 3 จะได้ยกข้อต่อสู้ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้เงินดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 3 จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามที่ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบโดยแถลงไม่ขอสืบพยาน ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7896-8256/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้รับเหมาชั้นต้นและการร่วมรับผิดในค่าชดเชยกรณีการผลิตตามคำสั่ง
การที่บริษัท น. กำหนดรายชื่อผู้ขายวัตถุดิบและรายชื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่โรงงานของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและรูปแบบการผลิตรองเท้าของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่บริษัท น. สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการผลิตรองเท้าตั้งแต่กำหนดตัวผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดตัวผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จำเลยที่ 2 ไม่มีอิสระในการเลือกซื้อวัตถุดิบและเลือกจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จนถึงในกรณีการผลิตไม่ได้คุณภาพหรือรูปแบบตามความประสงค์ของบริษัท น. เจ้าหน้าที่ของบริษัท น. ที่ประจำอยู่ที่โรงงานก็แจ้งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขในส่วนโรงงานผลิตได้อีกด้วย ดังนั้นทุกขั้นตอนการผลิตของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในการควบคุมของบริษัท น. ทั้งนี้ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 ผลิตรองเท้าที่มีคุณภาพวัตถุดิบและคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญที่จำเลยที่ 2 ต้องทำให้สำเร็จประโยชน์ของบริษัท น. สัญญาระหว่างจำเลยที่ 2 กับบริษัท น. จึงไม่ใช่สัญญาอันมีวัตถุประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรองเท้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ตกลงรับผลิตรองเท้าจนสำเร็จประโยชน์ในการให้คุณภาพของรองเท้าที่จำเลยที่ 2 ผลิตมีมาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นของบริษัท น. ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างผลิตรองเท้าตามความหมายของคำว่า "ผู้รับเหมาชั้นต้น" ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5