คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร้องสอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก & ศาลต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์มรดกตามสัดส่วนเมื่อทายาทไม่ยินยอม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช.เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยร่วม: การยื่นคำให้การก่อนครบกำหนดเวลา และผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยเดิม
จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมพร้อมยื่นคำให้การมาก่อนที่จะครบกำหนดเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมได้ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิของจำเลยที่มีอยู่ในขณะที่ตนร้องสอด ไม่อาจถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ขณะที่ร้องสอดเข้ามาเมื่อปรากฎต่อมาว่าจำเลยมิได้ยื่นคำให้การ จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยร่วมเป็นไปในทางที่ขัดสิทธิของจำเลยเดิม ดังนั้นการยื่นคำให้การของจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 วรรคสอง ศาลต้องรับคำให้การของจำเลยร่วมไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นคู่ความที่สาม: สิทธิในการได้รับมรดก และขอบเขตคำร้องที่ชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของ ล. และ ส.เมื่อ ล.ถึงแก่กรรม ส.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ล.ให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปจึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาทในฐานะผู้ร้องเป็นบุตรของ ล.มีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์ ดังนี้การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้กับโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) แต่การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามบทมาตราดังกล่าว คำร้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่าสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งคำขอบังคับตามสิทธิที่ได้รับรองและคุ้มครองด้วย แม้ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่พิพาทเพราะผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์นั้น ถือได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแต่งตั้งทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดของ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ล.สืบแทน ส.ต่อไปนั้น มิใช่เป็นคำบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามนัยแห่งมาตรา 57 (1) จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีมรดก: สิทธิทายาท vs. คำขอระงับการพิจารณาคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของล.และส.เมื่อล.ถึงแก่กรรม ส.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของล.ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของล.ให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปจึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาทในฐานะผู้ร้องเป็นบุตรของล.มีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์ ดังนี้การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้กับโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) แต่การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามบทมาตราดังกล่าว คำร้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่าสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งคำขอบังคับตามสิทธิที่ได้รับรองและคุ้มครองด้วย แม้ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่พิพาทเพราะผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์นั้น ถือได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแต่งตั้งทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดของล.เป็นผู้จัดการมรดกของล.สืบแทน ส.ต่อไปนั้น มิใช่เป็นคำบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามนัยแห่งมาตรา 57(1)จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดในคดีล้มละลาย: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นการเป็นคู่ความก่อนเวลาอันควร
โจทก์ฟ้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยขอเข้าเป็นคู่ความในฐานะผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในชั้นพิจารณาคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว ไม่มีประเด็นแห่งคดีที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ร้องจะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ดังที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ไว้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าเพราะผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดี มีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีที่ว่าผู้ร้องจะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่ แล้วนำข้อวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวมาเป็นเหตุยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ และคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ถึงที่สุด ทั้งนี้ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อคัดค้านคำพิพากษาเรื่องหนี้มรดก ต้องยื่นระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่หลังมีคำพิพากษา
กรณีตามคำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งมิใช่กรณีที่จะร้องสอดในชั้นบังคับคดีเพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีมาแต่ต้น ผู้ร้องเป็นทายาทของ ป. เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3การร้องสอดของผู้ร้องมีลักษณะเข้ามาเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับมรดกของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งเป็นการเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องดังกล่าวขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หาใช่มายื่นภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: สิทธิของผู้ร้องในการเข้าร่วมดำเนินคดีเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว
แม้จะมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อีก ไม่มีประโยชน์ที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ศาลชอบที่จะให้จำหน่ายคดีผู้ร้องเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นจำกัด ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีล้มละลายของบริษัท จึงไม่มีสิทธิร้องสอด
การที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดล้มละลาย ย่อมมีผลกระทบเฉพาะต่อสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของจำเลยเท่านั้น หาได้มีผลทำให้ผู้ถือหุ้นซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายด้วยไม่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี ไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่: เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องฟ้องคดีใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิ
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยทั้งหมดและบริวารออกจากห้องแถวพิพาท และจำเลยทั้งหมดได้ออกจากห้องแถวพิพาทแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตามแต่การที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมดก็จะทำให้คดีล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี จึงสมควรให้ผู้สอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่ เมื่อคดีเดิมสิ้นผลไปแล้ว
แม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตาม แต่ได้ความตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องแถวพิพาท และจำเลยได้ส่งมอบห้องแถวพิพาทให้แก่โจทก์ อีกทั้งจำเลยไม่ได้อยู่ในห้องแถวพิพาทอีกต่อไปแล้ว ซึ่งผู้ร้องสอดมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่เป็นความจริงข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ดังนี้ หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
of 15