พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17227/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน และผลของการยกคำพิพากษาโดยศาลอุทธรณ์
เดิมศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุก มีกำหนด 1 ปี ซึ่งเกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิพากษาลงโทษ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว และย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ หากผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนยังเห็นควรลงโทษจำคุกจำเลยเกินกว่าหกเดือน ย่อมถือว่าเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31 (2) ต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในขณะทำคำพิพากษาฉบับใหม่นี้ตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะด้วยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3) โดยไม่อาจย้อนกลับไปให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในขณะที่มีคำพิพากษาฉบับเดิมลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะทำคำพิพากษาได้ เนื่องจากคำพิพากษาฉบับเดิมได้ถูกยกไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานกระทำชำเราและพรากเด็ก: ศาลฎีกายืนโทษจำคุกทุกกระทง เหตุพฤติการณ์ร้ายแรง
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกในอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย และลดโทษให้จำเลยสูงสุดถึงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 แม้ความผิดกระทงอื่นศาลล่างทั้งสองจะลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 3 ปี ก็สมควรลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดกระทงอื่น ๆ ให้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ควรลงโทษจำคุกความผิดกระทงหนึ่ง แต่ความผิดกระทงอื่น ๆ รอการลงโทษ เพราะจะเป็นการลักลั่นไม่เหมาะสม
สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้สมรสกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี แล้ว กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคท้าย
สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้สมรสกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี แล้ว กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21554/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 186(7)
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีบรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21427/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องปรับบทมาตราดังกล่าว
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทมาตราที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20031/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดในคดีที่ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงโทษจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่ เมื่อนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละตลอดชีวิต จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 25 ปี ดังนั้น เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อุทธรณ์ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน อีกทั้งไม่ปรากฏว่าความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน กับความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันอันศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานขึ้นพิจารณาได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ และฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ ขอให้ยกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 นั้น จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในส่วนความผิดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15658/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีเกี่ยวกับยาปลอมและเครื่องสำอาง รวมถึงการลงโทษจำคุก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ยาที่จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเป็นยาปลอมโดยใช้วัตถุเทียมในการผลิตยา และเป็นยาที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตไม่ตรงความจริง ส่วนตัวยาที่แท้จริงเป็นอย่างไร และวัตถุเทียมในการผลิตยาคือวัตถุอะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้ตอนต้นของฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การกระทำของจำเลยในความผิดฐานปลอมยา แต่ตอนท้ายบรรยายว่า เป็นยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ขัดแย้งกันเพราะยาปลอมก็คือยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และความผิดฐานผลิตยาปลอม ฐานผลิตยาโดยไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางปลอม และฐานผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางควบคุมพิเศษโดยไม่แสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนหรือแสดงฉลากที่แจ้งแหล่งผลิตอันเป็นเท็จนั้น ไม่มีองค์ประกอบความผิดว่าทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อจำเลยผลิตและมีไว้เพื่อขายยาปลอมและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และผลิตเพื่อขายหรือมีไว้เพื่อขายเครื่องสำอางย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14517-14520/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีและการลงโทษจำคุกกระทงละเดือน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเนื่องจากนับโทษต่อกันเกินคำขอ
ศาลสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์แยกฟ้องมารวมสี่สำนวน โดยโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษต่อกันไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 9 กระทง จำคุก 9 เดือน นั้น มีผลเท่ากับนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันทั้งสี่สำนวน จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11233/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานการสืบเสาะฯ รับฟังได้หากจำเลยไม่คัดค้าน การลงโทษจำคุกเหมาะสมกับพฤติการณ์ร้ายแรง
ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบ จำเลยมิได้โต้แย้ง ดังนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงที่ได้มาจากรายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวมาประกอบดุลพินิจไม่รอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ข้อเท็จจริงจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจึงหาได้เป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏนอกสำนวน และไม่ใช่พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่น ๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลยเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีนี้ที่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 และการลดโทษก่อนนำมารวมโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้" ข้อความของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่า อัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะพิจารณาลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทงแล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว