พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ ต้องปรับเรียงตัวผู้กระทำผิดและสัตว์ที่ฆ่า
การวางโทษปรับตาม พระราชบัญญัติอากรฆ่าสัตว์(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2496 มาตรา 4 นี้นั้นจะต้องวางเรียงตัวผู้กระทำผิดและเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่า จะวางโทษเรียงตัวสัตว์แต่ปรับจำเลยทุกคนรวมกันมาแล้วแบ่งแยกความรับผิดเรียงตัวในภายหลังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ ต้องแยกปรับตามตัวผู้กระทำผิดและสัตว์ที่ฆ่า
การวางโทษปรับตาม พระราชบัญญัติอากรฆ่าสัตว์(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2496 มาตรา 4 นี้นั้นจะต้องวางเรียงตัวผู้กระทำผิดและเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่า จะวางโทษเรียงตัวสัตว์แต่ปรับจำเลยทุกคนรวมกันมาแล้วแบ่งแยกความรับผิดเรียงตัวในภายหลังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453-1454/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับควบคู่กับจำคุกในความผิดเกี่ยวกับฝิ่น ศาลมีอำนาจยกโทษปรับได้ตามกฎหมายลักษณะอาญา
ความผิดฐานมีฝิ่น มูลฝิ่น เสพย์ฝิ่นนอกร้าน ตาม พ.ร.บ.ฝิ่นที่บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิด จำคุกและปรับนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว จะยกโทษปรับเสียก็ได้ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกาศยกเลิกไม่ลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว การลงโทษปรับเรียงตัวตามกฎหมาย
เดิมมีประกาศให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บไม้ขีดไฟ จำเลยทำผิดประกาศนั้น แล้วต่อมามีประกาศให้ยกเลิกประกาศเดิม ดังนี้ ไม่ใช่มีกฎหมายใหม่ยกเลิก กฎหมายเดิม จำเลยไม่พ้นผิด
ทำผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ศาลให้ปรับเรียงตัว ไม่ใช่ให้ปรับรวมกัน
ทำผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ศาลให้ปรับเรียงตัว ไม่ใช่ให้ปรับรวมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายไม่ถึงบาดเจ็บตามกฎหมาย การพิพากษาลงโทษปรับ
ฟ้องว่า จำเลยใช้เท้าเตะผู้เสียหายหนึ่งทีถูกขมับซ้ายบวมนูนจนสลบไปชั่วครู่หนึ่ง ปรากฏตามใบชันสูตรซึ่งระบุว่ามีแผลบวมนูนที่ขมับร่วมประมาณ 7 วันหายดังนี้ ยังแปลไม่ได้ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายถึงบาดเจ็บตาม ม.254
เพียงแต่ปรากฏว่ามีแผลบวมนั้นที่ขมับรักษาประมาณ 7 วันหายยังเรียกไม่ได้ว่าถึงบาดเจ็บการที่ผู้เสียหายลอบไปชั่วครู่หนึ่งนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำร้ายถึงบาดเจ็บตามกฎหมาย
เพียงแต่ปรากฏว่ามีแผลบวมนั้นที่ขมับรักษาประมาณ 7 วันหายยังเรียกไม่ได้ว่าถึงบาดเจ็บการที่ผู้เสียหายลอบไปชั่วครู่หนึ่งนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำร้ายถึงบาดเจ็บตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับกรณีความผิดต่อเนื่อง พ.ร.บ.ทะเบียนพานิช สิทธิศาลในการกำหนดค่าปรับ
การที่โจทฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ทเบียนพานิชนั้น สาลจะลงโทสรวมกันก็ได้ และจะกำหนดค่าปรับเท่าไรก็ได้เมื่อไม่เกินคั่นสูงที่กดหมายกำหนดไว้
กรนีทีกดหมายกำหนดไห้ปรับไม่เกินวันละ 20 บาท นั้น สาลจะปรับต่ำกว่า 1 บาทก็ได้
กรนีทีกดหมายกำหนดไห้ปรับไม่เกินวันละ 20 บาท นั้น สาลจะปรับต่ำกว่า 1 บาทก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับควบคู่กับจำคุกในคดียาเสพติด ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษปรับตามกฎหมายยาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์จะไม่ได้ลงโทษปรับ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์กับส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ..." ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียงสถานเดียว โดยมิได้ลงโทษปรับจำเลยด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8489/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำหลายกรรมต่างกัน การลงโทษปรับ
จำเลยที่ 2 จัดสร้างพระเครื่องและโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเช่าบูชาพระสมเด็จเหนือหัวตามสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ และป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หลายวันหลายเวลาโดยอาศัยช่องทางที่แตกต่างกันทั้งสถานที่และวิธีการชำระเงิน ซึ่งโจทก์ได้นำสืบถึงผู้เสียหายทั้ง 921 รายที่หลงเชื่อตามโฆษณาดังกล่าวและเช่าพระสมเด็จเหนือหัวที่จำเลยที่ 2 จัดทำขึ้นแต่ละรายไป ผู้เสียหายแต่ละคนต่างถูกหลอกลวงคนละวันคนละเวลา จำนวนเงินที่ถูกหลอกแตกต่างกัน ความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายจึงเป็นการกระทำที่แยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14325/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยไม่ขออนุญาต และการลงโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
แม้กฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตและการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 กันยายน 2552 อันมีผลใช้บังคับนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป แสดงว่าก่อนหน้าวันที่ 29 กันยายน 2552 นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้ แต่ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 บทเฉพาะกาล มาตรา 90 บัญญัติว่า "ผู้ใดประกอบกิจการโรงภาพยนตร์หรือร้านวีดิทัศน์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเมื่อยื่นคำขอแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตจากนายทะเบียน" ดังนี้ จำเลยประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ จำเลยต้องยื่นคำขอใบอนุญาตจากนายทะเบียน มิฉะนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 53 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นเวลาก่อนหน้าที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวประกาศใช้ จำเลยย่อมไม่อาจได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามกฎหมายจากนายทะเบียนหาได้ไม่
จำเลยเปิดร้านเกมและบริการอินเทอร์เน็ตในระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่นโดยทำเป็นธุรกิจและรับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีคำขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2552 เป็นคำขอโดยอาศัยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 82 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคหนึ่ง...ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่" ความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดจากการตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งแต่ละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลย กระทำความผิดเฉพาะวันที่ 4 เมษายน 2552 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ในคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามฟ้องต่อไป เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องได้ว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก จึงไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้
จำเลยเปิดร้านเกมและบริการอินเทอร์เน็ตในระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่นโดยทำเป็นธุรกิจและรับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีคำขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2552 เป็นคำขอโดยอาศัยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 82 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคหนึ่ง...ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่" ความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดจากการตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งแต่ละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลย กระทำความผิดเฉพาะวันที่ 4 เมษายน 2552 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ในคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามฟ้องต่อไป เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องได้ว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก จึงไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13592/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การพิจารณาโทษปรับสำหรับความผิดฐานพยายามนำของออกนอกราชอาณาจักร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามก็ดี... หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมาย และข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ก็ดี หรือหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" ดังนี้ ความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จ กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวสองในสามของโทษปรับที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นการไม่ชอบ