คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดเบี้ยปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุนต้องห้ามทางภาษี แต่ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากมีเหตุสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอมให้นำรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการ ลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็น รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรงส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงิน มาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผล โดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการ กู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากร วางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็น เพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้นหาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่า ผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้อง เสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตาม หลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัด ที่ศาลภาษีอากร พิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย ย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้น จากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาซื้อขายลดเช็ค ศาลฎีกาชี้ว่าดอกเบี้ยผิดนัดเกินอัตราตามสัญญา ลดลงได้เฉพาะส่วนที่เกิน
ข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มในกรณีลูกหนี้ผิดนัดนั้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปียังไม่ถูกต้อง เพราะตามสัญญามีข้อตกลงจะชำระดอกเบี้ยตามปกติโดยไม่ผิดนัดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีและถ้าผิดนัดจึงจะคิดเพิ่มขึ้นจากนี้ ดังนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับเฉพาะส่วนที่เกินจากร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปี การลดลงจึงลดลงได้ต่ำสุดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีจะลดลงให้ต่ำกว่านี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การลดเบี้ยปรับตามพฤติการณ์ และการไม่ติดใจอุทธรณ์
ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) นั้น หาได้ระบุไว้ในคำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นที่ได้สละแล้วมาฟ้องต่อศาลได้อีก แม้จำเลยจะมิได้ให้การและอุทธรณ์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จากการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่ของจำเลยพบว่าโจทก์ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว2 ครั้ง จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์แต่เมื่อโจทก์เพิ่งจะกระทำความผิดในเรื่องไม่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบเป็นครั้งแรกและโจทก์ได้จัดทำรายงานภาษีขายและภาษีซื้อสำหรับเดือนภาษีพิพาทถูกต้อง ทั้งกรณีดังกล่าวจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) หรือไม่ยังเป็นปัญหาซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยเองก็มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรเยี่ยงโจทก์ย่อมยากจะเข้าใจว่าจะต้องเสียเบี้ยปรับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ประกอบกับโจทก์ก็ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่ของจำเลย เป็นอย่างดีและยินยอมเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้เรียกเก็บในชั้นแรก การที่จะให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามจำนวน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้กำหนดมา ย่อมหนักเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้เหมาะสมตามพฤติการณ์แห่งรูปคดี โดยให้ลดเบี้ยปรับลง คงให้โจทก์เสียเพียงร้อยละ 25 ของเบี้ยปรับที่ถูกเรียกเก็บ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า, ค่าชดเชยยกเลิกสัญญา, และการลดเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงินประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 379, 381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้
สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน
เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกัน แต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้าเมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหายที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดกรณีเดียว
ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัท ป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่าในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222 ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่านั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ด้วยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก
แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 377 เพราะมิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้ จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้ว หลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย โจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหักออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการลดเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจปรับปรุงยอดหนี้ให้ถูกต้องได้
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่ เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่ จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลย ให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และ หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิด ดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหายดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมา สูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็น จำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงิน ดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาท ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้น จึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษา เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ และการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าข้อ 3 กำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 25 ของเดือน และยังมีข้อตกลงให้โจทก์เสียค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา 1 เดือน ตามสัญญาข้อ 10 อีกด้วย การกำหนดค่าปรับรายวันข้างต้นถือเป็นข้อตกลงในเรื่องค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 383
โจทก์ค้างชำระค่าเช่าระหว่างเดือนสิงหาคม 2532 ถึงวันสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงินจำนวน 21,987,855.76 บาท ซึ่งจำเลยคิดค่าปรับตามสัญญาถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงิน 1,852,413.67 บาทแต่ถ้าคิดค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา 1 เดือน เป็นต้นค่าปรับของค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่14 มกราคม 2533 รวม 87 วัน วันละ 4,400.35 บาท โดยค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 คิดเป็นเงิน 4,400,353.12 บาท ซึ่งถ้าคิดคำนวณเป็นร้อยละแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 36 ต่อปี และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดให้คิดสำหรับหนี้เงินระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี เว้นแต่จะพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นได้มากกว่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 383 แล้ว ถือได้ว่า การกำหนดเบี้ยปรับรายนี้สูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับลงโดยให้คิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน21,987,855.76 บาท กับดอกเบี้ยของค่าเช่าที่ค้างอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันครบกำหนดทวงถามจนถึงวันฟ้องแย้งเป็นเงิน 493,345.21 บาท และค่าเสียหายจำนวน 12,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 34,481,200.97 บาทจำนวนหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน34,481,200.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยนำเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท มารวมเข้าเป็นต้นเงิน34,481,200.97 บาท แล้วให้คิดดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวทั้งจำนวน โดยมิได้หักเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท ออกเสียก่อน กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคสองซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับและห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ตามสัญญาเช่าข้อ 3 กำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้า ภายในวันที่ 25 ของเดือน และยังมีข้อตกลงให้โจทก์เสียค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา1 เดือน ตามสัญญาข้อ 10 อีกด้วย การกำหนดค่าปรับรายวันข้างต้นถือเป็นข้อตกลงในเรื่องค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสีย ของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 โจทก์ค้างชำระค่าเช่าระหว่างเดือนสิงหาคม 2532ถึงวันสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงินจำนวน21,987,855.76 บาท ซึ่งจำเลยคิดค่าปรับตามสัญญาถึงวันที่14 มกราคม 2533 เป็นเงิน 1,852,413.67 บาท แต่ถ้าคิดค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา 1 เดือนเป็นต้น ค่าปรับของค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 รวม 87 วันวันละ 4,400.35 บาท โดยค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532คิดเป็นเงิน 4,400,353.12 บาท ซึ่งถ้าคิดคำนวณเป็นร้อยละแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 36 ต่อปี และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดให้คิดสำหรับหนี้เงินระหว่าง เวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี เว้นแต่จะพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นได้มากกว่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383แล้ว ถือได้ว่า การกำหนดเบี้ยปรับรายนี้สูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับลงโดยให้คิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน21,987,855.76 บาท กับดอกเบี้ยของค่าเช่าที่ค้างอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันครบกำหนดทวงถามจนถึงวันฟ้องแย้งเป็นเงิน 493,345.21 บาท และค่าเสียหายจำนวน 12,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 34,481,200.97 บาท จำนวนหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน แก่จำเลยจำนวน 34,481,200.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยนำเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท มารวมเข้าเป็นต้นเงิน 34,481,200.97 บาท แล้วให้คิดดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวทั้งจำนวน โดยมิได้หักเงิน ดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท ออกเสียก่อน กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ให้ถูกต้องตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและจัดหาที่ดิน ศาลลดเบี้ยปรับเกินส่วนและหักกลบกับค่าที่ดินค้างชำระ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลงรับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินของบุคคลอี่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลย-ทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว โดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสอง คดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลง ที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผลให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้ว ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน30 แปลง ตามสัญญา และเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลง แต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จากการประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไรจากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดินทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอนหรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจากเงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8292/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การนำสืบพยานหลักฐาน การปฏิบัติตามกฎหมายภาษี และการลดเบี้ยปรับ
บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข)หรือผู้แทนย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อ ม. รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รายนี้แทนผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีต้องถือว่าเป็นการกระทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กฎหมายบัญญัติหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้แทนไม่ เพราะหากผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้มอบหมายให้ผู้ใดเป็นผู้แทนกระทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นจะเป็นผู้แทนได้อย่างไรจึงต้องถือว่าผู้แทนได้กระทำในนามของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คนหนึ่งตามกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัด อันเป็นตำแหน่งหน้าที่ราชการในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ขณะออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีของโจทก์เมื่อวันที่23 กรกฎาคม 2534 นั้น มาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ว่า ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน คดีนี้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 เมื่อนับถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ซึ่งเป็น วันออกหมายเรียกยังไม่เกิน 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมี อำนาจออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนได้ แม้ต่อมาจะมีการแก้ไข บทบัญญัติดังกล่าวว่า การออกหมายเรียกข้างต้นจะต้องกระทำ ภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการโดยมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2534 เป็นต้นไปก็ตาม หาทำให้การ ออกหมายเรียกซึ่งกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นกลับกลาย เป็นหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับกับหมายเรียกก่อนหน้านั้น การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินรายนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2536 ข้อ 21 กำหนดให้ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตรวจสอบรีบดำเนินการตรวจสอบให้ แล้วเสร็จโดยเร็วกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบเกิน 1 ปีภาษี หรือรอบระยะเวลาบัญชีให้แล้วเสร็จอย่างช้าไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันออกหมายเรียกก็ดี แต่ยังมีข้อยกเว้นว่า หากตรวจสอบ ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็จะต้องชี้แจงเหตุผล เพื่อขออนุมัติขยายเวลาจนถึงวันที่ 23 มกราคม 2538 การที่ เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีรายนี้ ในวันที่ 23 มกราคม 2538 จึงชอบแล้ว ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการ การชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 เป็นกรณีให้โอกาสแก่ผู้มีหน้าที่ ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ ไม่ครบถ้วน หรือมิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ หรือหักไว้ ไม่ครบถ้วนหรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วน ได้มีโอกาส ยื่นรายการและชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรให้เป็นการ ถูกต้องต่อไปโดยผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม และไม่ต้องรับผิดทางอาญา สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือ นำส่งเท่านั้น แต่ถ้าผู้นั้นยังยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรไม่ถูกต้องแล้ว ภาษีอากรในส่วนที่ ไม่ถูกต้องก็จะไม่ได้รับประโยชน์ตามประกาศข้างต้น หาใช่ เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ก่อนหน้านั้น และได้ยื่นชำระภาษีเพิ่มเติมตามประกาศนี้แล้ว ก็เป็นอันพ้นผิดไม่ต้องถูกเรียกตรวจสอบประเมินภาษีใหม่ ในภายหลังอีกดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ โจทก์ไม่มีบัญชีคุมสินค้ามาแสดงเพื่อเป็นหลักฐานตรวจสอบเปรียบเทียบในชั้นตรวจสอบภาษีตลอดจนชั้นพิจารณาของศาล เจ้าพนักงานประเมินได้คำนวณหายอดขายสินค้าตาม หลักการทางบัญชีด้วยการนำสินค้าคงเหลือต้นงวดยกมาบวก ยอดซื้อสินค้าระหว่างปีหักด้วยยอดสินค้าคงเหลือปลายงวด จำนวนที่ได้ก็คือยอดสินค้าที่ขายไประหว่างปี ซึ่งหลักเกณฑ์ ดังกล่าวแล้วโจทก์ก็ยอมรับว่าถูกต้องสำหรับต้นทุนสินค้า เจ้าพนักงานประเมินก็ใช้วิธีคำนวณตามหลักฐานการสั่งซื้อ สินค้าหักด้วยส่วนลดรับตามงบกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชี ของโจทก์ ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนลดที่โจทก์ได้รับจากผู้ขาย สินค้าเป็นเพราะโจทก์ชำระเงินค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนด ไว้ล่วงหน้า และส่วนลดจากการขายสินค้าได้ตามเป้าที่ผู้ขาย กำหนด จึงมิใช่ส่วนลดที่โจทก์ได้รับทันทีที่โจทก์ซื้อสินค้า นั้น กรณีจะนำส่วนลดรับมาหักจากราคาสินค้าตามใบสั่งซื้อ ทันที แล้วถือเป็นราคาต้นทุนสินค้าย่อมไม่ถูกต้อง เพราะหาก คิดหักส่วนลดรับตั้งแต่โจทก์ซื้อสินค้าให้ครั้งหนึ่งก่อนแล้ว ยังมาคิดหักตามงบกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์ให้อีก ย่อมเป็นการซ้ำซ้อน การที่เจ้าพนักงานประเมินนำส่วนลดรับจากการซื้อสินค้าตามงบกำไรขาดทุนในรอบ ระยะเวลาบัญชีของโจทก์มาหักให้จากยอดขายสินค้าซึ่งเป็น การหักบัญชีครั้งเดียว จึงถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ดังนั้นการคำนวณต้นทุนสินค้าของเจ้าพนักงานประเมินย่อม ถูกต้องเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว การขายสินค้าของโจทก์ตามใบเสร็จรับเงินในช่องรายการ สินค้าแต่ละประเภทแต่ละรุ่นของสินค้า มีทั้งให้รายละเอียด ของสินค้าแต่ละรุ่นที่ขายและไม่ให้รายละเอียดของชนิดและ รุ่นของสินค้าแต่ละประเภทที่ขาย จึงไม่สามารถหายอดขายจาก จำนวนหน่วยของสินค้าที่ขายไป โดยวิธีตรวจสอบจากยอดสินค้า คงเหลือต้นงวดยกมาบวกยอดซื้อสินค้าระหว่างปีหักด้วยยอดขายสินค้าตลอดปีจะได้ยอดคงเหลือเป็นสินค้าปลายงวด(จำนวนหน่วยของสินค้า) จริงเท่าใด เจ้าพนักงานประเมินได้ ใช้วิธีแยกสินค้าแต่ละประเภท โดยไม่อาจแยกจำนวนรุ่นของ สินค้าได้และการจำหน่ายสินค้าใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) เมื่อปรากฏกรณีจำนวนสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมีจำนวนมากกว่า ยอดขายตามใบเสร็จรับเงินและไม่ปรากฏยอดสินค้าคงเหลือปลายปี ในแบบ ภ.ง.ด.50 ถือว่าโจทก์ขายสินค้าโดยไม่ลงบัญชีขายและ คิดคำนวณราคาขายตามใบเสร็จรับเงินของสินค้าชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าสินค้าที่มีไว้เพื่อขายแต่ละชนิดไม่ปรากฏยอดขาย อยู่ในใบเสร็จรับเงินและไม่ปรากฏยอดสินค้าคงเหลือปลายปีในแบบ ภ.ง.ด.50 ถือว่าโจทก์ขายสินค้าโดยไม่ลงบัญชีขายและ คิดคำนวณราคาขายตามราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาก่อนหัก ส่วนลดรับ โดยไม่บวกกำไรขั้นต้นแต่อย่างใด ทำให้ราคาขาย ที่ประเมินจะเท่ากับราคาซื้อก่อนหักส่วนลดรับจึงเป็นธรรม แก่โจทก์แล้ว โจทก์อ้างว่าโจทก์มีรายจ่ายค่าสังกะสี ปูนซีเมนต์กระเบื้องเคลือบและอิฐมอญ รวม 141,142 บาท อันเนื่องมาจากการรับติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์นั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์เคยให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีว่าโจทก์ยังมีเงินได้จากการขายเสาอากาศโทรทัศน์ ไม่มีการรับจ้างติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ ลูกค้าผู้ซื้อได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเป็นผู้ติดตั้งเอง ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีรายจ่ายดังกล่าวและมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร การที่โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้า โจทก์จะต้องจัดทำบัญชีคุมสินค้าและต้องเก็บรักษาไว้ที่สถานการค้าหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 5(1) ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 13และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ตรี แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติ ตามที่กฎหมายบัญญัติอันเป็นความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายโจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างประโยชน์อันใดเนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์ อีกทั้งโจทก์อ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ภาระการพิสูจน์ย่อมตก แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่อาจนำสืบให้เห็นเป็นดังข้ออ้างได้การที่เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณต้นทุนราคาสินค้ารายได้และรายจ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และ 2532จึงถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีบัญชีคุมสินค้ามาแสดงเพื่อเป็นหลักฐานตรวจสอบทั้งการขายสินค้าบางรายการไม่มีใบเสร็จรับเงิน ส่อแสดงว่าโจทก์ขายสินค้าโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินหรือมีการลงบัญชีขายสินค้า ไม่ครบถ้วนอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ย่อม ก่อความยุ่งยากแก่การตรวจสอบให้ถูกต้องได้ กรณีเป็นเรื่อง ที่โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด มิฉะนั้น จะเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงภาษีได้โดยง่าย แม้การตรวจสอบ จะใช้เวลายาวนาน แต่ย่อมขึ้นอยู่กับความยากง่ายและมี เอกสารหลักฐานอย่างพร้อมมูลด้วย ประกอบกับการตรวจสอบ ปรากฏว่า โจทก์บันทึกยอดขายสินค้าไว้ต่ำคิดเป็นเงิน จำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ ชำระเบี้ยปรับเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่มากแล้ว ไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหน่วยงานราชการ และเบี้ยปรับตามสัญญาที่สูงเกินส่วน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามป.พ.พ. สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ที่ 2ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าว เป็นการตกลงจะชำระเงิน280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
of 14