คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลวงสาธารณชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN และ LION MAN เพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN (ไลท์ แมน) ของโจทก์ไว้ 4 แบบ ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ตัวอักษรขนาดต่างกันและลักษณะของตัวอักษรก็ต่างกันด้วยตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่ตามแบบที่ 3 เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่าง ตามแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN ส่วนตามแบบที่ 4 นั้นเป็นรูปสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIHGT MAN อยู่ด้านบนคำว่า FOR WORK AND PLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างใช้กับกางเกงยีน ส่วนเครื่องหมายการค้า LION MAN (ไลออน แมน) ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 5-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3 กับแบบที่ 9 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่า ไลท์ แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษร ไลออน แมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์ แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้นก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่เฉพาะและมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่าไลท์ กับคำว่า ไลออน นั้นมีความหมายแตกต่างกันมาก ทั้งคำว่า ไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียวส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้ว เห็นได้ชัดว่าลักษณะของตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความคล้ายคลึงจนทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่น สีพ่นรถ ภาชนะใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมันอยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลงของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาว รูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกัน ด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝากระป๋องก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้ จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้" กับ "สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน "TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความสุจริตของผู้ขอ
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่นสีพ่นรถ ภาชนะที่ใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมัน อยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลมของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาวรูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกันด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกันขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝา กระป๋อง ก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้" จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้"กับ"สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน"TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการลวงสาธารณชน
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเนื่องจากโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าตราม้าลายสำหรับสินค้าจำพวกที่16จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าตราม้าลายสำหรับสินค้าจำพวกที่16(ด)นายทะเบียนไม่จดทะเบียนให้จำเลยจึงฟ้องโจทก์แล้วโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าทั้งโจทก์จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตราม้าลายร่วมกันในสินค้าทุกจำพวกที่ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนไว้ศาลพิพากษาตามยอมดังนี้คำว่า"ทุกจำพวก"จึงหมายถึงสินค้าในจำพวกที่16จำเลยจะอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราม้าลายสำหรับสินค้าจำพวกที่13ที่โจทก์จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วมิได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลาย และคำว่าหัวม้าลาย กับอักษรโรมันว่าHEADZEBRAส่วนของจำเลยเป็นรูปม้าลายยืนทั้งตัวอยู่ในวงกลมและคำว่าตราม้าลายและอักษรโรมันว่าZEBRABRANDสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปม้าลาย เมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนทำให้สับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลายและคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมันว่าHEADZEBRAส่วนของจำเลยที่1เป็นรูปม้าลายทั้งตัวยืนอยู่ในวงกลมและคำว่าตราม้าลายและอักษรโรมันว่าZEBRABRANDสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่1คือรูปม้าลายประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่าตราม้าลายเมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่13ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143-1144/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้เจ้าของเครื่องหมายเดิมยินยอมก่อนหน้า ก็ไม่อาจจดทะเบียนได้
เดิมโจทก์และ ส. ต่างเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ต่อมาโจทก์และส. ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สิน โดย ส. ยินยอมให้โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ดังกล่าวแต่ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขอจดทะเบียนนั้น ส. ได้โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ให้แก่บริษัทจำเลยซึ่งมี ส. เป็นกรรมการแล้วบริษัทจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ของบริษัทจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 วรรคแรกแล้วนายทะเบียนมี สิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เพราะนอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แล้ว มาตรา 16 วรรคแรกมีเจตนารมณ์ต้องการคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณชนเมื่อเครื่องหมายการค้าใดเข้าลักษณะที่บัญญัติไว้แล้วห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนโดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อนมีสิทธิคัดค้านการจดทะเบียนของโจทก์หรือไม่รวมทั้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือผู้รับโอนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้สินค้าต่างประเภท
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ในกรอบรูปไข่สองชั้น ส่วนบนเป็นรูปลายฝรั่ง ส่วนล่างมีอักษรโรมันคำว่า "LION" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า สิงโต อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมทับบนกรอบรูปไข่ ส่วนของจำเลยเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ภายในกรอบรูปวงกลมสองชั้น ไม่มีตัวอักษร ที่ใต้วงกลมมีรูปช่อรวงข้าวสองช่อโค้งรองรับตามขอบวงกลม แต่ไม่จรดกัน ระหว่างรวงข้าวทั้งสองช่อมีโบผูกห้อยชายอยู่ตรงกลาง หากพิจารณาแต่เพียงส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำรามอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสารสำคัญของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีประชาชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยเลือกใช้เครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะใช้สำหรับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ก็เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า 'Dior': การใช้ก่อนและการลวงสาธารณชนเป็นปัจจัยชี้ขาด
เมื่อพยานที่จำเลยขอระบุเพิ่มเติมเป็นพยานที่จำเลยรู้จักดีและได้มีอยู่ก่อนที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จและมิได้เป็นพยานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นจึงชอบแล้ว
โจทก์ใช้คำว่า 'CHRISTIANDIOR' และคำว่า 'DIOR' เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทำจากต่างประเทศมานานแล้วจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปนอกจากนี้ก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'DIOR' สำหรับสินค้าจำพวกเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายของจำเลยจำเลยก็เคยเห็นและทราบว่ามีแว่นตาที่ใช้เครื่องหมายการค้า 'DIOR' ขาย ทั้งการโฆษณาสินค้าของจำเลยที่ใช้เครื่องหมายการค้า 'DIOR' ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นสินค้าของจำเลยและจำเลยยังใช้คำว่าดิออร์เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนประมาณ 1 เดือนเศษอีกด้วยเห็นได้ว่าจำเลยใช้คำว่า 'DIOR'เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าของจำเลยเพื่อให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ทำจากต่างประเทศนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าของจำเลยโจทก์มีสิทธิใช้คำว่า 'DIOR' เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลยแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าอย่างเดียวกันของโจทก์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า CUPID ก่อนยื่นจดทะเบียน และการลวงสาธารณชนจากการใช้เครื่องหมายที่คล้ายกัน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีตัวเล็ก ๆ ว่า FULYIN อยู่บนอักษร CUPID ซึ่งเป็นอักษรตัวใหญ่เห็นชัดเจนมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า CUPID ของโจทก์ จนอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อนโจทก์แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า CUPID มาก่อนจำเลยทั้งในขณะที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนก็ยังไม่มีสินค้าที่มีเครื่องหมายตามที่ขอจดทะเบียนนั้นออกจำหน่ายโจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CUPID

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE''GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกัน คำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL' เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์ และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
of 6