พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดีแรงงาน: การรับเฉพาะการขาดงานไม่ใช่การยอมรับการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาไปรับราชการทหารมิใช่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลา
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใด ไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดยฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาไปรับราชการทหารมิใช่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลา
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใดไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดงานเนื่องจากรับราชการทหาร ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อ กัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้อง พิจารณาถึง เหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใดไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดย ฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อ กันเนื่องจากไปรับราชการทหารตาม กฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามประกาศนายจ้างเรื่องการทำงานล่วงเวลา หากไม่แจ้งลาถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และอาจถูกเลิกจ้างได้
นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยกรมแรงงานมีคำสั่งอนุมัติแล้ว นายจ้างจึงประกาศกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติงานตอนกลางคืนเวลา 20 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานและไม่แจ้งล่วงหน้า ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นขาดงานและละทิ้งหน้าที่ ดังนี้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าย่อมผิดข้อบังคับ ลูกจ้างจะอ้างว่าเป็นสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาหาได้ไม่ และการละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายประมาณ 600,000 บาท ถือว่าลูกจ้างกระทำผิดเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งล่วงหน้า แม้มีสิทธิปฏิเสธงานล่วงเวลา
นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยกรมแรงงานมีคำสั่งอนุมัติแล้ว นายจ้างจึงประกาศกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติงานตอนกลางคืนเวลา 20 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานและไม่แจ้งล่วงหน้า ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นขาดงานและละทิ้งหน้าที่ ดังนี้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าย่อมผิดข้อบังคับ ลูกจ้างจะอ้างว่าเป็นสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาหาได้ไม่ และการละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายประมาณ 600,000 บาท ถือว่าลูกจ้างกระทำผิดเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรงานและลงเวลาทำงาน: ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือละทิ้งหน้าที่หากมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวันเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานอันเป็นเท็จโดยทุจริต ไม่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนเวรและลงเวลาทำงาน: ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือทุจริต
โจทก์เป็นยามรักษาความปลอดภัยของจำเลยมิได้เข้าเวรตามวัน เวลาที่กำหนด แต่โจทก์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนเวรกับผู้อื่นแล้ว และโจทก์ลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตน มีสิทธิจะได้รับค่าจ้างดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังไม่ถึงกับเป็นการละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานเพื่อเบิกค่าจ้างก็โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะได้ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047-1048/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดซ้ำคำเตือน แม้การกระทำหลังแตกต่างจากครั้งแรก หากเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นวินัยเดียวกัน
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดวินัยของลูกจ้างไว้ว่า ต้องไม่ปฏิบัติงานล่าช้า ละทิ้งหน้าที่ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการทำงานการที่โจทก์ทั้งสองกับพวกหยอกล้อและเล่นกันในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งแรกและเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งหลังล้วนแต่เป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวทั้งสองครั้ง เมื่อจำเลยได้ลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ในการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่อันเป็นความผิดครั้งแรกแล้ว โจทก์ทั้งสองกลับละทิ้งหน้าที่โดยเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานอันเป็นความผิดครั้งหลังอีก ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยเท็จและการเลิกจ้าง: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้
ลูกจ้างเป็นลูกจ้างประจำรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างยื่นใบลาป่วย 1 วันเป็นเท็จ และนายจ้างไม่อนุมัติให้ลานั้น ถือว่าลูกจ้างขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ซึ่งนายจ้างมีสิทธิตัดค่าจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานแต่เมื่อนายจ้างมิได้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นกรณีนายจ้างไม่ใช้สิทธิของตนเอง จะอ้างว่าลูกจ้างแสวงหาประโยชน์จากค่าจ้างซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือฉ้อโกงและไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ แต่การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้างละทิ้งการงานไปเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า