คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495-496/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดยาเสพติดต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน และการละเลยไม่ถือเป็นการสนับสนุน
การที่ผู้สนับสนุนผู้กระทำความผิดจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100 นั้น จะต้องมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน ไม่ว่าจะเป็นในขั้นพยายามหรือความผิดสำเร็จโดยมีหลักเดียวกับหลักทั่วไปของการสนับสนุนผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่ากัญชาที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักรอยู่ในขั้นเตรียมการ ยังไม่ถึงขั้นพยายามกระทำความผิด แม้จำเลยจะได้ช่วยเหลือในการที่จะส่งกัญชาออกนอกราชอาณาจักร ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้มีการส่งกัญชาออกนอกราชอาณาจักร ส่วนการแกล้งละเลยทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นการกระทำความผิดก็มิได้หมายความว่าเป็นการสนับสนุนทางอ้อมเสมอไป เพราะการละเว้นไม่ขัดขวางในเมื่อไม่มีหน้าที่ขัดขวางไม่ถือเป็นการกระทำโดยงดเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารละเลยไม่เรียกเก็บเงินตามเช็คจากบัญชีลูกค้าที่มีเงินเพียงพอ ทำให้ลูกค้าเสียสิทธิเรียกร้อง
จำเลยเป็นธนาคาร ละเลยไม่เรียกเก็บเงินตามเช็คให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้า ทั้ง ๆ ที่เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีพอที่จะหักเข้าบัญชีให้โจทก์ได้ก่อน และบัญชีของผู้สั่งจ่ายก็อยู่ในธนาคารจำเลยเอง เป็นเหตุให้เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายกลับไม่พอชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์ เพราะได้มีการถอนเงินรายอื่นหลายรายการจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายในวันนั้น และจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องและคืนเช็คให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารละเลยไม่เรียกเก็บเงินจากเช็ค ทั้งที่บัญชีผู้สั่งจ่ายมีเงินพอ ทำให้ผู้รับเช็คเสียหาย ธนาคารต้องรับผิด
จำเลยเป็นธนาคาร ละเลยไม่เรียกเก็บเงินตามเช็คให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้า ทั้ง ๆ ที่เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีพอที่จะหักเข้าบัญชีให้โจทก์ได้ก่อนและบัญชีของผู้สั่งจ่ายก็อยู่ในธนาคารจำเลยเอง เป็นเหตุให้เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายกลับไม่พอชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์เพราะได้มีการถอนเงินรายอื่นหลายรายการจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายในวันนั้น และจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องและคืนเช็คให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษหรือเหตุสุดวิสัย มิใช่ละเลยการดำเนินคดี
การขอขยายกำหนดเวลายื่นฎีกาจะพึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและต้องมีคำขอขึ้นมาเสียก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นฎีกา เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จึงจะมีคำขอขึ้นมาภายหลังได้ ถ้าเหตุที่จำเลยอ้างตามคำร้องนั้นเห็นได้ชัดว่าแม้จะไต่สวนได้ความสมจริงดังข้ออ้างก็มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย แต่เป็นกรณีที่จำเลยเพิกเฉยละเลยต่อการดำเนินคดีของตน ศาลก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวน
จำเลยทราบดีว่าทนายจำเลยจะไม่มีโอกาสดำเนินคดีแทนจำเลยต่อไปเพราะจำเลยไม่ต้องการให้ทนายจำเลยดำเนินคดีในชั้นฎีกา จำเลยก็ชอบที่จะถอนทนายจำเลยขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้ทุกเมื่อ และติดตามฟังผลคดีด้วยตนเองเพื่อจะใช้สิทธิยื่นฎีกา ดังนั้นการที่ทนายจำเลยได้รับหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นคำขอขยายกำหนดเวลายื่นฎีกาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นฎีกา จึงเป็นความบกพร่องผิดพลาดของจำเลย ไม่ใช่เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ทั้งเหตุที่อ้างมาก็ไม่ถือได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายกำหนดเวลายื่นฎีกาให้จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานช่วยเหลือคนต่างด้าวหลบหนี แม้ละเลยไม่จับกุม แต่ไม่ถึงขั้นปฏิบัติหน้าที่มิชอบตาม ม.157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกับพวกช่วยพาคนต่างด้าวสัญชาติลาวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 ไปเสียจากที่ควบคุมเพื่อมิให้ต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยจำเลยกับพวกนำรถยนต์มารับคนลาวดังกล่าวไป จำเลยเห็นแต่ละเลยไม่จับกุมดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 58 แต่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สรรพากรจังหวัดละเลยการตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส.ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือน เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบ ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คีดได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมาย กรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้ว ส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้อง คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรมได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส.ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเอง เมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วย และได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือน มีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อ ๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส.รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2505 ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกัน และเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส.ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ. 2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับหอพักที่เจ้าของอยู่อาศัยด้วย และความผิดฐานละเลยการยื่นแบบแสดงรายการ
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินทุกชนิด เว้นแต่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 9 และ 10 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 โรงเรือนของจำเลยใช้ทำเป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนและบริการอย่างอื่นจากผู้มาพักตามพระราชบัญญัติหอพัก แม้จำเลยจะอยู่อาศัยในหอพักนั้นด้วย โรงเรือนของจำเลยก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว การใช้เป็นหอพักได้ผลประโยชน์ตอบแทนเหมือนการใช้ประกอบกิจการอย่างอื่นจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 10 เมื่อจำเลยไม่ไปรับแบบพิมพ์มากรอกรายการยื่นภายในกำหนดตามประกาศ ย่อมเป็นการละเลยต่อหน้าที่ของผู้รับประเมินที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย จึงมีความผิดตามมาตรา 20,46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลฎีกาไม่รับ เหตุทนายจำเลยละเลยหน้าที่ แม้มีเหตุผลด้านเวลา
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังกำหนดเวลาโดยอ้างว่าหลงลืมนั้น เป็นคำแก้ตัวที่ยากจะรับฟัง เมื่อกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของคู่ความในการระบุอ้างพยานไว้โดยชัดเจน เช่นนี้ จะยกเรื่องประโยชน์แห่งความยุติธรรมมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยหาควรไม่ เพราะความยุติธรรมนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่าย มิใช่เพื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว จึงไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยอายุความมรดก: การยอมรับแบ่งมรดกหลัง 20 ปี ถือละเลยอายุความ
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปีแล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ และอายุความมรดก: การละเลยอายุความโดยปริยาย
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้ โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลย แต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยวกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้น จนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้น เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง
of 9