คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลักทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,595 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3684/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์กระทบสาธารณูปโภค ลดโทษเมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งผ่านสายสัญญาโทรศัพท์ จากสายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7,192 หน่วย มีมูลค่าราคารวม 7,192 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นผลเสียต่อกิจการที่เป็นประโยชน์ในทางสาธารณะ เกิดผลกระทบต่อระบบการสื่อสารในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงลำพังแต่การที่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ยังไม่เหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากลักทรัพย์นายจ้าง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วย ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญาเพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น หาทำให้กลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 และ 227 มาใช้บังคับได้การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 จึงชอบแล้ว
โจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกเกินอัตรากฎหมายกำหนดในคดีลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษได้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงเจ็ดปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว วางโทษจำคุก 4 ปี นั้น จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12584/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์ vs ลักทรัพย์: การบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดเจน และการร่วมกันทำร้ายร่างกาย
อ. ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายล้มลง พอ อ. ถอยออกมา จำเลยเข้าไปล้วงกระเป๋าผู้เสียหายเอาซองเงินเดือนผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปทันที เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายและพวกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาเงินของผู้เสียหายหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้ในฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12578/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดฐานรับของโจร: ผู้รับจ้างขนส่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการถูกลักทรัพย์
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับจ้างขนส่งกระเบื้องจากบริษัท ค. ผู้ว่าจ้างไปส่งให้แก่ร้านค้าจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลและจะต้องรับผิดชำระค่ากระเบื้องที่สูญหายไปในระหว่างขนส่งให้แก่ผู้ว่าจ้าง โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงในการที่กระเบื้องดังกล่าวสูญหายไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง vs ลักทรัพย์: การกระทำทุจริตหลอกลวงให้เชื่อว่าจะซื้อของ แต่ไม่มีเจตนาจ่ายเงิน ถือเป็นฉ้อโกง
จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายในร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้นด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอนและไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สำเร็จ แม้ยังไม่ได้เคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกจากที่เกิดเหตุ หากทรัพย์สินเคลื่อนที่แล้ว ถือเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์
การที่จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยปีนขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าแล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมบนคานเสาไฟฟ้าและถูกเคลื่อนย้ายมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยเพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตาม หาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อลงมือเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน แม้ยังไม่ได้นำขึ้นยานพาหนะ
จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าแล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าวใช้เชือกผูกผลักลงจากคานบนเสาไฟฟ้า เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมและถูกเคลื่อนมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยเพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตามหาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในที่เกิดอุบัติเหตุ: ข้อจำกัดของมาตรา 335 วรรคแรก ป.อาญา และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
การลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2) วรรคแรก อุบัติเหตุนั้นเฉพาะเกิดแก่รถไฟหรือยานพาหนะที่ประชาชนโดยสารเท่านั้น ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2) วรรคแรกได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในที่เกิดอุบัติเหตุต้องเป็นอุบัติเหตุต่อรถไฟหรือยานพาหนะสาธารณะเท่านั้น
การลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ ต้องเป็นอุบัติเหตุที่เกิดแก่รถไฟหรือยานพาหนะที่ประชาชนโดยสารเท่านั้น ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(2) วรรคแรก ได้
of 160