พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกโดยสมัครใจ: มีผลผูกพันและตัดสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติม
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างสมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ซึ่งมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวง ความรับผิด ข้อเรียกร้อง และมูลคดีที่ข้าพเจ้าหรือบุคคลอื่นโดยการเรียกร้องผ่านข้าพเจ้า ซึ่งเคยมี กำลังมี หรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัท ฯลฯ ทั้งยังมีข้อความตามบันทึกอีกว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่า การที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจนั้นได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ทุน – การไม่ลงนามสัญญาและการลาออกถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน1,165,484.92 บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่คำพิพากษาในส่วนนี้ไม่ได้บังคับจำเลยที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งนักวิชาการ 4 ซึ่งตามข้อบังคับของโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นนักเรียนทุนประเภท 1(ข) และตามข้อ 6วรรคแรกของข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า "ให้สถาบันทำสัญญาผูกมัดให้พนักงานที่ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยกลับมาปฏิบัติงานตามแผนงานหรือโครงการที่สถาบัน กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเท่าของเวลาที่พนักงานผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างศึกษาฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย" จำเลยได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรีย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532โดยมิได้ทำสัญญาผูกมัดกับโจทก์เพื่อกลับมาชดใช้ทุน ระหว่างที่จำเลยได้รับทุนนั้นโจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนไปให้จำเลยลงชื่อที่ประเทศออสเตรียหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อกลับยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ตั้งแต่วันที่1 พฤศจิกายน 2533 ดังนี้ โจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนให้จำเลยลงชื่อหลายครั้งแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เพื่ออนุโลมให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่จำเลยกลับไม่ยอมลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์ จำเลยไม่อาจอ้างเหตุที่มิได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุนขึ้นมาปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทเมื่อกรรมการลาออก – องค์ประชุม – การเพิ่มกรรมการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับ เหตุที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ จึงต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1159 กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้น จะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับเวลาราชการต่อเนื่องหลังลาออกและกลับเข้ารับราชการใหม่: การปฏิบัติตามมาตรา 30 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แม้การขอกลับเข้ารับราชการใหม่กับการบอกเลิกรับบำนาญจะเป็นคนละเรื่องกันแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองดังกล่าวพร้อมกันทั้งตามบทบัญญัติในมาตรา30วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494ก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใดการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับการยื่นหนังสือขอกลับเข้ารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการใหม่เสียก่อนก็หาขัดต่อมาตรา30วรรคสี่ไม่ มาตรา30วรรคห้าบัญญัติเพียงว่าการบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังโดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วโจทก์จึงได้ปฏิบัติตามมาตรา30วรรคห้าแล้วจำเลยทั้งสองจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออก/ละทิ้งหน้าที่ - การนับวันขาดงาน - การเลิกจ้าง - ค่าชดเชย - การตอกบัตรลงเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ
โจทก์มาทำงานในวันที่ 6 กันยายน 2537 การที่โจทก์ออกจากที่ทำงานไปก่อนเวลาเลิกงานโดยไม่ได้ตอกบัตรลงเวลา เลิกงาน แม้จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่แต่มิใช่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่ตลอดทั้งวัน จะนำมารวมกับวันที่ 7 และ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันทำงานแต่โจทก์ไม่ได้มาทำงานเพื่อ ให้เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะกรรมการลูกจ้างเมื่อมีการลาออกบางส่วนและยังไม่มีการเลือกตั้งใหม่ การเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา48บัญญัติว่า"นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ"เมื่อจำเลยแถลงรับว่าขณะที่เลิกจ้างโจทก์ยังไม่มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะโจทก์จึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ 46 วรรคแรกว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง..." หมายความว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ดังนี้ การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย และมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ผม (หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญา ผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา..."ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่า โจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเอง จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ46วรรคแรกว่า"ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง"หมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างดังนี้การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยและมีข้อความตอนหนึ่งว่า"ผม(หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญาผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา"ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเองจำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วยก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด เงินโบนัสมิใช้เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปีซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงานจึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวการที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปีและปี2536ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้นเมื่อการประเมินผลงานในปี2537ปีที่พิพาทกันโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมากการที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือนในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนจึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเสนอให้ลาออกเพื่อพักรักษาตัว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึง ป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาหามีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่เมื่อ ป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ซึ่งเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากผู้มีอำนาจไม่สั่งเลิกจ้าง การเสนอให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึงป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาไม่มีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีเมื่อป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ในเชิงไม่ต้องการเลิกจ้างโจทก์และเป็นข้อแนะนำในเชิงทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว