พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้างในคดีชนแล้วเกิดความเสียหาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนกับรถแท็กซี่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ขับ ได้รับความเสียหายและโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ แม้คดีของโจทก์ที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว จึงทำให้คำวินิจฉัยในส่วนที่ว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อด้วยตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างเดียว จำเลยทั้งสองจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการลูกจ้างเข้าประกันสังคมตามกฎหมายประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน และมาตรา 34 บัญญัติให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อผู้ประกันตน อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามแบบที่เลขาธิการกำหนดต่อสำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตน เมื่อจำเลยเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อโจทก์ อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามที่มาตรา 34 บัญญัติไว้ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันจะพึงมีในฐานะเป็นผู้ประกันตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175-5177/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง: การพิจารณาความผิดและสิทธิประโยชน์
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับจำเลย แต่มิได้เป็นกรณีร้ายแรง ส่วนโจทก์ที่ 3 ไม่ได้กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ทั้งสามตามมติของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งไล่ออกแก่โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากต้องออกจากงานในช่วงระยะเวลาที่ถูกเลิกจ้างจนถึงวันกลับเข้าทำงาน ส่วนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย กรณีไม่ใช่คำสั่งของจำเลยไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด การที่จำเลยระบุในคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า ในระหว่างถูกลงโทษไล่ออกจากงาน โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากจำเลย เว้นแต่อายุการทำงานให้นับต่อเนื่องได้โดยไม่นับรวมระยะเวลาที่มิได้ปฏิบัติงานในช่วงที่ถูกลงโทษไล่ออก จึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยแรงงานและการสืบพยานในศาลแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ทันทีที่เลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ซึ่งจำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
การสืบพยานในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ซึ่งในมาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร คดีนี้เมื่อศาลแรงงานภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงจากการที่ ศ. ตอบคำซักถามของศาล และคำเบิกความของ ว. ต่อศาลตามที่บันทึกไว้ได้ความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้แล้ว จึงไม่จำต้องเรียกพยานจำเลยทั้งสองมาสืบใหม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 ได้ซักถามตัวโจทก์โดยไม่อนุญาตให้ทนายความของคู่ความและตัวความซักถามโจทก์ เป็นการชอบด้วยมาตรา 45 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว ศาลแรงงานภาค 2 สามารถนำคำเบิกความของโจทก์มาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้
การสืบพยานในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ซึ่งในมาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร คดีนี้เมื่อศาลแรงงานภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงจากการที่ ศ. ตอบคำซักถามของศาล และคำเบิกความของ ว. ต่อศาลตามที่บันทึกไว้ได้ความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้แล้ว จึงไม่จำต้องเรียกพยานจำเลยทั้งสองมาสืบใหม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 ได้ซักถามตัวโจทก์โดยไม่อนุญาตให้ทนายความของคู่ความและตัวความซักถามโจทก์ เป็นการชอบด้วยมาตรา 45 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว ศาลแรงงานภาค 2 สามารถนำคำเบิกความของโจทก์มาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการประกันภัยอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พารองประธานกรรมการจำเลยที่ 1 นั่งรถไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ขับรถไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือว่าทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นวันหยุดไม่ใช่วันทำงานปกติของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะอ้างว่า เกิดเหตุละเมิดนอกเวลาทำการงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง, การชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถ และความรับผิดของบริษัทประกันภัย
คำฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่ลูกจ้างโจทก์ขับได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งเพียงพอให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ ส่วนที่ไม่ได้ระบุว่าลูกจ้างโจทก์เป็นใคร มิใช่ข้อสาระสำคัญและเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 วันเกิดเหตุขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พารองประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ขับรถไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือว่าทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นวันหยุดมิใช่วันทำงานปกติของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่
โจทก์นำรถยนต์บรรทุกไปซ่อมแซมไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลา 173 วัน โจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถในระหว่างซ่อมแซม และค่าเสียหายจากการขาดรายได้ที่ส่งหนังสือพิมพ์ซึ่งบรรทุกอยู่ในรถขณะเกิดเหตุไปจำหน่ายไม่ทันและหนังสือพิมพ์ถูกส่งคืน
ตามกรมธรรม์ระบุว่า จำเลยร่วมจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถและค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากหนังสือพิมพ์ของโจทก์ที่ส่งล่าช้าจำหน่ายไม่ได้ ย่อมเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเกิดจากการกระทำละเมิดโดยตรงที่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 วันเกิดเหตุขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พารองประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 ขับรถไปตามคำสั่งของผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือว่าทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นวันหยุดมิใช่วันทำงานปกติของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่
โจทก์นำรถยนต์บรรทุกไปซ่อมแซมไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลา 173 วัน โจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถในระหว่างซ่อมแซม และค่าเสียหายจากการขาดรายได้ที่ส่งหนังสือพิมพ์ซึ่งบรรทุกอยู่ในรถขณะเกิดเหตุไปจำหน่ายไม่ทันและหนังสือพิมพ์ถูกส่งคืน
ตามกรมธรรม์ระบุว่า จำเลยร่วมจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถและค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากหนังสือพิมพ์ของโจทก์ที่ส่งล่าช้าจำหน่ายไม่ได้ ย่อมเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเกิดจากการกระทำละเมิดโดยตรงที่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าน้ำมันรถส่วนตัวที่ใช้ในการทำงาน ไม่ถือเป็นค่าจ้างในการคำนวณค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
จำเลยเหมาจ่ายค่าน้ำมันรถให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เพื่อชดเชยกับการที่โจทก์ใช้รถยนต์ส่วนตัวของโจทก์ไปในการทำงานให้แก่จำเลย ค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ไม่เป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839-4840/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างขาดงานและมีประวัติอาญา
ผู้คัดค้านเป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่ส่งสินค้าให้ลูกค้าของผู้ร้องซึ่งโดยสภาพของงานเห็นได้ว่าการส่งสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าให้ตรงเวลาเป็นส่วนสำคัญของงาน ผู้คัดค้านขาดงานหมายถึงผู้คัดค้านหยุดงานไปโดยไม่ลาและไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน อันเป็นการละทิ้งการงานไป ผู้คัดค้านมีสถานะเป็นลูกจ้างของผู้ร้องมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างโดยสม่ำเสมอและไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ แต่ในปี 2544 ผู้คัดค้านขาดงานถึง 10 วัน ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการหาคนมาทำงานแทนโดยกะทันหัน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านส่อชี้ถึงความไม่รับผิดชอบต่องานในหน้าที่พนักงานขับรถซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้าสู่กิจการของผู้ร้อง ประกอบกับปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางและคำร้องของ ศ. ภริยาผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ที่จังหวัดจันทบุรี จึงมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจให้ผู้คัดค้านยึดถือรถยนต์ น้ำมันรถ และสินค้าของผู้ร้องเพื่อไปส่งให้แก่ลูกค้าต่อไป ซึ่งเป็นเหตุอันเกิดแต่ตัวผู้คัดค้านที่เป็นกรรมการลูกจ้างเอง มีเหตุสมควรที่จะย้ายงานผู้คัดค้านจากพนักงานขับรถไปทำงานในแผนกตัดและซอยเทป แต่ทั้งนี้ให้ผู้คัดค้านได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321-4323/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนวันหยุดตามประเพณี นายจ้างต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขกฎกระทรวง หากไม่เข้าข่ายลูกจ้างมีสิทธิหยุดตามเดิม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคสุดท้าย บัญญัติถึงงานที่มีลักษณะและสภาพของงานประเภทต่าง ๆ ว่า นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างเพื่อหยุดงานในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีได้ถ้าเป็นงานประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 4 การที่ผู้ร้องประกาศให้นำวันหยุดวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2546 แลกกับวันจักรี ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2546 โดยให้ผู้คัดค้านทั้งสามและพนักงานทุกคนมาทำงานในวันหยุดชดเชยวันจักรีในวันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2546 นั้น เมื่องานที่ผู้คัดค้านทั้งสามทำไม่ใช่งานประเภทใดประเภทหนึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 จึงไม่อาจตกลงเปลี่ยนวันหยุดตามประเพณีได้ มีผลเท่ากับวันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2546 ยังเป็นวันหยุดตามประเพณีชดเชยวันจักรี การที่ผู้คัดค้านทั้งสามมาทำงานในวันหยุดดังกล่าวเฉพาะช่วงเวลาตั้งแต่ 8 นาฬิกา ถึง 12 นาฬิกา จะถือว่าในช่วงเวลาตั้งแต่ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา ที่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่เข้าทำงานเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055-4056/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน
ศาลแรงงานกลางตรวจสำนวนโดยพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานที่คู่ความส่งต่อศาลและสอบถามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้นั้น เป็นการรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 และ 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงาน โจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบโจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย การกระทำของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 (2) และ (3)
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงาน โจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบโจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย การกระทำของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 (2) และ (3)