คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อทรัพย์สินจากการล้มละลาย: การเข้าเป็นคู่ความบังคับคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิเรียกร้อง
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มา เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตาม ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้ โดยไม่จำต้องให้มีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิก่อนและเมื่อผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกคดี การขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนที่มีอยู่ผู้ร้องจึงต้องร้องขอเข้ามาในคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ โดยผู้ร้องไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ซ้ำซ้อนกับที่โจทก์เคยเสียไว้แล้วอีก ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยและมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกามีอำนาจส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ซื้อและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่อยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ไม่ ทั้งตามมาตรา 22 (1) ก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป ส่วนมาตรา 111 และ 112 ที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นอ้างก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่ลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย หาได้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ด้วยไม่ ดังนั้น หากเป็นความจริงตามข้ออ้างของผู้ร้องว่า ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าวย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย: การเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
โจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครองและบังคับตาม ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมิติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขคดีแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลางเป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการซื้อขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตเลื่อนการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในกระบวนการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วทำความเห็นส่งสำนวนคำขอรับชำระหนี้ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 เพื่อศาลจะได้มีคำสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107 ต่อไป การที่ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 51 เมื่อผู้คัดค้านหมายนัดให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดนำพยานมาให้ทำการสอบสวนประกอบคำคัดค้าน ผู้ร้องทั้งเจ็ดขอเลื่อนการสอบสวน ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งยังไม่แน่ว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นเสนอศาลอย่างไร จะฟังตามคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งเจ็ดหรือไม่ และเมื่อผู้คัดค้านทำความเห็นเสนอศาลแล้ว ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลแต่อย่างใดไม่ ทั้งเมื่อศาลพิจารณาตามมาตรา 106 หรือมาตรา 107 แล้วก็อาจมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องทั้งเจ็ดยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: การร้องสอดเพื่อคุ้มครองและบังคับสิทธิ
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อได้ซึ่งสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้เดิมบุคคลล้มละลายในคดีของศาลชั้นต้นหมายเลขแดงที่ 1139/2544 มีต่อจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จากการประกาศขายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 สิทธิของเจ้าหนี้เดิมที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตกเป็นของผู้ร้องแล้ว ทั้งผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยที่ 2 ไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินอันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายมีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: การพิจารณาหลักฐานและการไม่ขัดต่อเงื่อนไขระยะเวลา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งและคำพิพากษาให้เปิดคดีโดยมิได้มีการไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์เสียก่อนเป็นกระบวนการพิจารณาไม่ชอบและคำสั่งให้เปิดคดีล่วงเลยกำหนด 10 ปี นับแต่ศาลสั่งให้ปิดคดี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้จำเลยจะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อมีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าทรัพย์สินเป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดและความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วยจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (4) มีความหมายว่า เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลาย และคำสั่งให้ปิดคดีก็มีผลตามมาตรา 134 เพียงให้ระงับการจัดการต่างๆ ไว้ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำไปแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป กรณีมิใช่เป็นการจัดการทรัพย์ของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้ว คำสั่งให้เปิดคดีจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: ศาลพิจารณาจากหลักฐานเพียงพอหรือไม่ และผลกระทบต่อทรัพย์สินของลูกหนี้
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 6 กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินการต่อศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อให้มีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้บังคับบัญชาเห็นชอบด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงรายงานศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน และความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วย กรณีจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ หาจำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อนแต่อย่างใดไม่
ตามบทบัญญัติมาตรา 135 (4) มีความหมายว่าเมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ ส่วนที่ศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีมีผลตามมาตรา 134 คือเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้ ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุดแต่ประการใด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 109 จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวและนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป การที่ศาลมีคำสั่งให้เปิดคดีหลังจากมีคำสั่งให้ปิดคดีครบ 10 ปี แล้วหาใช่เป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้วแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันสูญเสียสิทธิจำนองก่อนฟ้อง ทำให้สถานะเจ้าหนี้เปลี่ยนไป
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินจำนวน 10 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ได้ขอศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดไปแล้ว จำนวน 8 แปลง และมีการไถ่ถอนที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยอีกจำนวน 2 แปลง สัญญาจำนองจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวที่ยังค้างชำระมายื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายหลังจากสิทธิตามสัญญาจำนองของโจทก์ระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองในขณะยื่นฟ้องคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7454/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานการล้มละลาย: การปิดธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และหน้าที่ในการนำสืบหักล้าง
การที่โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ถึง 2 ครั้ง โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ครั้งแรกได้รับแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ย้ายที่อยู่ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และครั้งหลังมีการระบุเหตุขัดข้องว่าไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า ทั้งในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวปรากฏในรายงานของพนักงานเดินหมายว่ามีลักษณะเป็นบ้านร้าง ไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลานานแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปิดสถานประกอบธุรกิจเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (4) (ข) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
of 192