คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทโดยชอบธรรมมีสิทธิเหนือวัด แม้วัดมีสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่น จึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทมีอำนาจหน้าที่เหนือวัด แม้ไม่มีทรัพย์มรดก
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใด ไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินสงเคราะห์วัดหลังมรณภาพ & สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินปลูกสร้างอาคาร
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ผ.จดทะเบียนยกให้พระภิกษุฮ. ระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุ ฮ. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ฮ. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1623
พระภิกษุ ฮ. ให้จำเลยปลูกห้องแถวอาศัยอยู่ในดินถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินใช้สิทธินั้นปลูกห้องแถวลงไว้ในที่ดินพิพาท ห้องแถวจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท และยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไป อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินของสำนักสงฆ์และวัด: อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของวัด/สำนักสงฆ์ในการครอบครองที่ดิน: การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่ยกให้วัด/สำนักสงฆ์ และสิทธิในการครอบครอง
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบศาสนสมบัติและเอกสารของวัดให้เจ้าอาวาสรูปใหม่หลังพ้นจากหน้าที่รักษาการ
ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 6 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 26 ด้วย คือ (1) มีพรรษาพ้น 5 และ (2) เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในถิ่นนั้น ปรากฏว่าใน การประชุมปรึกษาเพื่อหาตัวผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระภิกษุในวัดโจทก์ร่วมประชุม 19 รูป ออกเสียงให้พระ น. เป็นเจ้าอาวาส 14 รูปออกเสียงให้จำเลย 5 รูป ใน 5 รูปนี้ มีพระ น. รวมอยู่ด้วย แม้จำเลยมีพรรษายุกาลสูงกว่าพระ น. แต่ตามพระวินัย กฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคมตลอดจนสังฆาณัติไม่ปรากฏเลยว่าจะต้องแต่งตั้งจากพระภิกษุที่มีพรรษาสูงสุด ในวัดนั้น การที่พระ น. ลงชื่อในตราตั้งพระ น. เป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์กระทำในฐานะเจ้าคณะจังหวัดมิใช่ในฐานะส่วนตัว พระ น. จึงเป็น เจ้าอาวาสวัดโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184-2195/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของวัด: แม้มีโฉนด แต่สิทธิยังเป็นของวัด คดีอุทธรณ์ฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมออกจากที่ดิน จำเลยและจำเลยร่วมต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนจึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยทุกสำนวนได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คู่ความย่อมมีสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224, 248
ที่พิพาทแปลงใหญ่เป็นของวัดโจทก์ แม้ที่พิพาทบางแปลงจะมีโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยและจำเลยร่วมในโฉนด จำเลยและจำเลยร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ของวัดโจทก์ไม่ เพราะที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทเขตที่ดินระหว่างวัดและบุคคลทั่วไป
โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์วัดราษฎร์สามัคคีมีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเขตที่ดินของโจทก์ที่ 2 กับที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ซึ่งอยู่ติดต่อกันว่าอยู่ตรงที่ใด และที่ดินตรงนั้นจะเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือของสำนักสงฆ์โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงทำบันทึกข้อตกลงว่าให้ที่ดินตรงที่พิพาทกันนั้นตกเป็นของสำนักสงฆ์วัดราษฎร์สามัคคี.ส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 2 ที่ขาดไปนั้น จำเลยที่ 1 ยินยอมให้รังวัดที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ชดใช้โจทก์ที่ 2 จนครบข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนี้เป็นการผ่อนผันให้กันและกันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามมาตรา 1382 กรณีวัดได้รับที่ดินยกให้ก่อนจดทะเบียนเป็นวัด
วัดโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ยังเป็นเสนาสนะอันมีพระสงฆ์พำนักอยู่เป็นประจำและยังไม่มีประกาศของกระทรวงศึกษาธิการตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อนับเวลาดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาตั้งแต่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีวัดโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม มาตรา 1382
ถ้อยคำว่า 'วัดสุคันธารามหรือวัดหนองชะอม โดยพระอธิการเจริญจากวโรเจ้าอาวาสขอมอบให้จ่าสิบเอกนิติอิ่มจิตต์เป็นผู้มีอำนาจฟ้อง' นั้นถูกต้องชัดเจน แต่ข้อความว่าพระอธิการเจริญ เจ้าอาวาสวัดสุคันธารามมอบอำนาจให้จ่าสิบเอกนิติฟ้องจำเลยในคดีแพ่งเรื่องธรณีสงฆ์ก็เข้าใจได้ว่ามอบอำนาจในฐานะผู้แทนนิติบุคคล มิได้แสดงว่าพระอธิการเจริญมอบอำนาจในฐานะส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรจำกัดสัญญาไม่ผูกพันวัด, ห้องแถวถูกทำลายหมดสภาพตามกฎหมาย
ไวยาวัจกรของวัดได้รับมอบอำนาจให้จัดการผลประโยชน์ห้องแถวไม่มีอำนาจรวมถึงรื้อและสร้างอาคารใหม่จึงทำสัญญารื้อห้องแถวปลูกตึกใหม่ให้เช่าให้ผูกพันวัดไม่ได้
ห้องแถวไม้ถูกไฟไหม้เหลือแต่พื้นซิเมนต์ชั้นล่างกับเสาซึ่งไหม้เกรียมผู้เช่าซ่อมเพิ่มเติมชั้นล่างแล้วอยู่ทำการค้า ถือว่าห้องแถวหมดสภาพระงับไปตาม มาตรา 567 แล้ว
of 13