คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันหยุดราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ: การนับวันสุดท้ายในกรณีวันหยุดราชการ ศาลฎีกาชี้ว่าสามารถนำมาตรา 161 มาใช้ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 นั้น หมายความว่าคู่กรณีจะตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงอายุความตามกฎหมายให้สั้นเข้ามาหรือให้ยาวออกไปไม่ได้ แต่อายุความก็เป็นระยะเวลาอย่างหนึ่งเหมือนกัน จึงนำความในมาตรา 161 มาใช้ได้ เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันหยุด ก็ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การนับระยะเวลาเมื่อวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
เมื่อกำหนดอายุความมรดก 1 ปีสิ้นสุดลงในวันตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการก็ย่อมนำคดีมรดกมาฟ้องในวันจันทร์ต่อจากวันอาทิตย์นั้นซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ถือว่ายังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: วันหยุดราชการและวันเริ่มทำงานใหม่
เมื่อกำหนดอายุความมรดก 1 ปีสิ้นสุดลงในวันตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ก็ย่อมนำคดีมรดกมาฟ้องในวันจันทร์ต่อจากวันอาทิตย์นั้น ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ ถือว่ายังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10398/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: เริ่มนับจากวันส่งมอบสินค้า และวันหยุดราชการมีผลต่อการสิ้นสุดอายุความ
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยลงชื่อรับสินค้าตามใบส่งของ การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาต่างตอบแทนที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินค้านับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบจึงมีกำหนดอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ครบกำหนดสองปีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาและเป็นวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา และอายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คู่ความไม่จำต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11182/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันหยุดตามประเพณี นายจ้างกำหนดวันหยุดอื่นแทนวันหยุดราชการไม่ได้ ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามกฎหมาย
การที่นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดอื่นเป็นวันหยุดตามประเพณีแทนวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้การประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีของนายจ้างเป็นโมฆะ แต่ก็ถือได้ว่าประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีของนายจ้างไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย และไม่เป็นการยกเว้นวันหยุดตามประเพณีตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจึงยังคงต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ลูกจ้างทราบและให้ลูกจ้างหยุดงานในวันดังกล่าว หากให้ลูกจ้างมาทำงานก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกฎหมาย การที่นายจ้างกำหนดให้วันทำงานปกติของลูกจ้างเป็นวันหยุดแทนวันหยุดตามประเพณีและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดแทนวันหยุดตามประเพณีตามอัตราค่าจ้างในวันหยุด ถือเป็นการตกลงจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานเกินไปกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ไม่อาจนำเอาเหตุที่ได้จ่ายค่าจ้างเกินกว่าปกติกับการที่ลูกจ้างยอมรับค่าจ้างมาอ้างว่าลูกจ้างได้ให้ความยินยอม การที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างมากกว่าที่ควร ได้รับไม่ถือว่าเป็นการตกลงอันใดขึ้นใหม่ นายจ้างจะถือว่าได้ชำระหนี้ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดตามประเพณีแล้วหาได้ไม่และหากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณี ก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่ง
of 5