พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นทางสาธารณะ & สัญญาประนีประนอม: การวินิจฉัยนอกประเด็นและการอุทธรณ์ซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาททั้ง 6 สาย เป็นทางสาธารณะ จำเลยที่ 4 ก่อสร้างตึกแถวลงบนทางสาธารณะดังกล่าว ขอให้ระงับการก่อสร้างและนำสิ่งกีดขวางออกจากแนวเขตทางดังกล่าว จำเลยที่ 4 ให้การว่าทางทั้ง 6 สายมิใช่ทางสาธารณะ ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่า ทางทั้ง 6 สายเป็นทางภาระจำยอมและศาลชั้นต้นก็ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางทั้ง 6 สายเป็นทางสาธารณะหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าทางทั้ง 6 สาย ไม่ใช่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 3 อุทธรณ์ว่าทางทั้ง 6 สายเป็นทางสาธารณะ ปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงว่าทางทั้ง 6 สายเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางสายที่ 1 ที่ 2 และที่ 3เป็นทางภาระจำยอมสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กับพวก สมคบกันใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งหกจนโจทก์ทั้งหกกับพวกยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ให้การว่า สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายทำขึ้นโดยสมัครใจ มิได้มีการใช้กลอุบายหลอกลวง โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการสมประโยชน์แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กับพวก สมคบกันใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งหกจนโจทก์ทั้งหกกับพวกยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ให้การว่า สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายทำขึ้นโดยสมัครใจ มิได้มีการใช้กลอุบายหลอกลวง โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการสมประโยชน์แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่จำกัดและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล รวมถึงการรับฟังการยอมรับของจำเลย
ในการ ชี้สองสถานศาล กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงสองข้อคือโจทก์มี อำนาจฟ้องหรือไม่และจำเลยสั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่โดยมิได้กำหนดเรื่องจำเลยขอยกเลิกการลงโฆษณาไว้หรือไม่เป็น ประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทถือว่าจำเลยได้ สละประเด็นข้อนี้แล้วทั้งประเด็นข้อที่ว่าจำเลยสั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่กับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยขอยกเลิกการลงโฆษณาแล้วหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่แยกต่างหากจากกันได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยได้สั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่ย่อมหมายความถึงว่าได้มีการยกเลิกการลงโฆษณาแล้วหรือไม่ด้วยแล้วหยิบยกขึ้นวินิจฉัยด้วยนั้นเป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็น แม้คดีจะ ต้องห้ามฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้สั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์จริงดังที่โจทก์ฟ้องย่อมรับฟังได้โดยไม่ต้องฟังพยานหลักฐานอีกต่อไปจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องอ้างเจตนาเป็นเจ้าของต่อเนื่องสิบปี หากมิได้อ้าง ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
การให้การต่อสู้ว่าครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์เป็นข้ออ้างที่เป็นการรอนสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น ดังนั้นข้ออ้างจะต้องชัดแจ้งตามเกณฑ์ที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 กล่าวคือ นอกจากจะต้องอ้างว่าได้ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยแล้ว ยังจะต้องอ้างว่าโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีแล้วด้วย ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อจำเลยให้การแต่เพียงว่าได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผย โดยมิได้อ้างว่าด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวในคดีการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทและปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน การให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม และการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 วรรคแรก มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 928 ซึ่งอยู่ในเรื่องการรับรองตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย จะนำมาตรา 928 ใช้บังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินได้เพียงกรณีเดียว คือ กรณีตามมาตรา 986 วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้ว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นตามมาตรา 913(4) ผู้ทรงจะต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้เพื่อรับรองการจ่ายเงินภายในเวลาดังกำหนดไว้ในมาตรา 928 แต่เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3) ตอนต้น บทบัญญัติว่าด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้อย่างกรณีตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ภายหลังได้เห็น จึงต้องถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็นฉะนั้น โจทก์ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ดังนั้นหากคดีฟังได้ว่า โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดใช้เงินได้ บทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความเป็นบทตัดสิทธิของเจ้าหนี้จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001บัญญัติว่า ในคดีฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงินเช่นนี้จะแปลว่ากำหนดสามปีต้องนับแต่วันที่ออกตั๋วนั้นไม่ได้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม วันที่โจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคือวันที่4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินเพราะก่อนวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยทั้งสองยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท เพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีและจำเลยทั้งสองก็มีสิทธิจะชำระเงินได้ทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องทวงถามเท่านั้นตามหลักทั่วไปในมาตรา 203 และเมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามมาตรา 161 เดิม โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 5 กันยายน 2531จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีมูลหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ และศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชี้สองสถานและการวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนดเท่านั้น
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบเพียงว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ มิได้กำหนดประเด็นค่าเสียหายไว้ โจทก์มิได้คัดค้านหรือโต้แย้งการทักท้วงว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ประเด็นและหน้าที่นำสืบจึงต้องเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นค่าเสียหายไว้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาชี้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินโดยอ้างว่าจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่าเงินที่โจทก์เรียกมานั้นสูงเกินความเป็นจริง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ และถือว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือประเด็นที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นในคำฟ้อง และการยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ ย. และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.โดยอ้างเหตุว่าย.ผิดสัญญาเช่าซื้อแล้วถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาโจทก์ที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ย. แล้วขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนรถที่เช่าซื้อหรือชำระราคา จำเลยทั้งสามต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ รถที่เช่าซื้อเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ยึดไว้จำเลยทั้งสามจึงคืนให้ไม่ได้ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะหรือไม่ ย. และจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะและ ย. และฝ่ายจำเลยทั้งสามไม่ได้ผิดสัญญาแล้วก็ชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์ที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสามได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้วย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายใบยาสูบ: ประเด็นอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 และการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์อย่างสิ้นเชิงว่าไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์จริง จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ตามสัญญาหรือไม่ แม้ศาลล่างจะรับวินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินที่จ่ายล่วงหน้าเป็นค่าซื้อของส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าของที่จำเลยส่งมอบแล้วคืน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มิใช่กรณีตามมาตรา 165 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่คู่ความต่อสู้กันเท่านั้น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโกดังรุกล้ำที่ดินโจทก์เพียงใด เพราะจำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างโกดังรุกล้ำที่ดินโจทก์จริง และจำเลยต่อสู้ในประเด็นว่าเนื้อที่ดินที่รุกล้ำน้อยกว่าที่โจทก์ฟ้องเพื่อผลเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยก่อสร้างรุกล้ำโดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยประเด็นหลักคือเนื้อที่ดินที่รุกล้ำและค่าเสียหาย
จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างโกดังรุกล้ำที่ดินโจทก์จริง แต่การปลูกสร้างรุกล้ำมีเนื้อที่ดินที่รุกล้ำน้อยกว่าที่โจทก์ฟ้อง การยกข้อต่อสู้ดังกล่าวก็เพื่อโต้แย้งเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ศาลชั้นต้นจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโกดังที่รุกล้ำที่ดินโจทก์เพียงใด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยก่อสร้างรุกล้ำโดยสุจริต จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น