คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงโดยอ้างว่าเป็นข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ชี้เป็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ขณะที่ทำคำขอสินเชื่อ สัญญากู้เงิน และสัญญาค้ำประกันเงินกู้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนจันทร์ สะพาน 5 ยังไม่ได้จดทะเบียนสาขา ไม่อาจมีการมอบอำนาจจากโจทก์ให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการสาขา นิติกรรมที่ทำที่สาขาถนนจันทร์ สะพาน 5 ไม่อาจใช้บังคับได้ สัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันเงินกู้จึงตกเป็นโมฆะนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เป็นการยกเหตุแห่งการต่อสู้ขึ้นใหม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: การฟ้องกู้ยืมเงินหลังคดีซื้อขายเป็นโมฆะ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยไม่มีสิทธิเพราะขายให้แก่โจทก์ไปแล้ว อันเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์และยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินเป็นการกระทำโดยละเมิดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระเงินคืนโจทก์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายทำขึ้นเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยให้การถึงหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 200,000 บาท ซึ่งจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-การใช้คำเบิกความเป็นหลักฐาน: ศาลฎีกาพิพากษากลับ คดีกู้ยืมเงินที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องซ้ำ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาได้รับรองแล้ว แต่ตามฎีกาของโจทก์ทุกข้อเป็นข้อกฎหมาย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่ไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาจึงไม่จำต้องเพิกถอน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การโต้แย้งข้อเท็จจริงถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ จะต้องเป็นการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ศ. เข้าร่วมประมูลและทำหนังสือสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพียงแต่ผู้ร้องมิได้นำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาลนั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อไปว่า แม้ ศ. ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ได้รับทราบการกระทำทั้งหมดของ ศ. และมิได้คัดค้านเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในผลแห่งการที่ตัวแทนได้กระทำลงไปนั้นก็เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เพราะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ศ. เป็นตัวแทนของผู้ร้องหรือไม่ผลเท่ากับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยอ้างเหตุผลความถูกต้องของประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีสืบเนื่องจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้อง จึงตรงตามคำร้องขอ มิได้เป็นการคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทมิใช่ของผู้ร้อง ก็มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่อีก
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตเมทแอมเฟตามีน: การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และอำนาจศาลฎีกาในการปรับบทกฎหมาย
ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จำเลยกำลังนั่งปรุงผสมเมทแอมเฟตามีน โดยยึดได้เครื่องมือที่จำเลยใช้ มีแปรงสีฟัน ตลับพลาสติก บล็อกพิมพ์เมทแอมเฟตามีนที่มีรูปตัวอักษรดับเบิลยูวายทำด้วยเทียนสีเหลือง มีดคัทเตอร์ ไม้ไผ่เสียบลูกชิ้น และผงเมทแอมเฟตามีนปรุงแต่งผสมน้ำอยู่ครึ่งตลับ ตรวจค้นตัวจำเลยพบเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยประกอบกับเครื่องมือวัสดุต่าง ๆ ที่จำเลยใช้ในการปรุงผสมเมทแอมเฟตามีน ซึ่งจับกุมได้ชนิดที่เรียกว่าคาหนังคาเขาเช่นนี้ เห็นว่า แม้จะพบผงเมทแอมเฟตามีนปรุงแต่งผสมน้ำอยู่เพียงครึ่งตลับกับมีเครื่องมือต่าง ๆ เป็นเศษวัสดุที่สามารถหาได้ทั่วไปก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำผสมแปรสภาพเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติคำว่า "ผลิต" มีความหมายว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ลักษณะการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) และลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการผลิตโดยการทำ ผสม แปรสภาพเมทแอมเฟตามีน หาใช่การผลิตในการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุและมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัมอันจะต้องด้วยบทกำหนดโทษดังกล่าวไม่ แต่การกระทำความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาจึงมิอาจเปลี่ยนแปลงโทษของจำเลยให้ถูกต้องได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 1 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว คดีนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินให้ราคาตามท้องตลาดที่โจทก์ฟ้องเป็นเกณฑ์ ชี้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า สินค้าแกนม้วนเส้นด้ายไม่ใช่ของที่ต้องสำแดงเพื่อเสียภาษีศุลกากร โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายที่โจทก์ที่ 1 กำหนดมาว่าไม่ถูกต้องตามราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องในจำนวนเงินราคาของแกนม้วนเส้นด้ายตามที่โจทก์ที่ 1 กำหนดแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับราคาของแกนม้วนเส้นด้ายว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่ เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การและนอกประเด็น และปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางยกปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งการวินิจฉัยโดยไม่ชอบดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการ/ดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษ
ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลและความผิดฐานดำเนินการสถานพยาบาล แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน แต่กฎหมายได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองกรณีแยกจากกันตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยมีหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่าการกระทำความผิดในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน สามารถแยกเป็นส่วนต่างหากจากกันได้ ซึ่งหากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลล่างลงโทษจำเลยเป็นกรรมเดียวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องส่งคำร้องให้จำเลยคัดค้านก่อน หากไม่ส่งถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศาลได้นำสำเนาอุทธรณ์และสำเนาคำร้องของผู้ร้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดหมายโดยที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ส่งสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายได้ แต่มิได้สั่งอนุญาตให้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดหมาย การส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ ผลเท่ากับยังมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องของผู้ร้องให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
of 344