พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8449/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะ: ศาลพิจารณาเหตุแห่งการกระทำและอายุของผู้กระทำ
โจทก์ร่วมขับรถยนต์โดยประมาททับเท้าซ้ายของจำเลยโดยมิได้มีเจตนาใช้กำลังทำร้ายรังแกหรือแกล้งทำความเดือดร้อนให้จำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมอันจะอ้างเหตุบันดาลโทสะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8437/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม และดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวน 1,797,750บาท ไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์รับซื้อฝากมาราคา4,287,500 บาท เงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้กล่าวอ้างว่าจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ด้วยแล้ว ซึ่งศาลก็ได้กำหนดเป็นประเด็นในคดีว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมหรือไม่ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ศาลล่างทั้งสองจึงกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำนองเดียวกับที่คณะกรรมการฯใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพียงแต่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 50 เปอร์เซนต์ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,200 บาท ซึ่งไม่สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของที่พิพาท เหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแล้วเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ชอบด้วยมาตรา 21 แล้วศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษานอกประเด็นหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาทั้งตามมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ก็บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ และให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการเพื่อชำระหนี้จากการประกอบกิจการพาณิชย์ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307เป็นเวลาประมาณ8เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดและจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริงจำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดและจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใดการที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอยๆว่าจำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้างพฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควรกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาแต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซ้ำ vs. ประเด็นผูกพัน: ศาลพิจารณาประเด็นละเมิดซ้ำจากคดีเดิมที่พิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยคำพิพากษาเดิมผูกพันโจทก์
คดีก่อน จำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินจำนวนอื่นจากโจทก์ในคดีนี้ กล่าวอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยจำเลยไม่ได้กระทำผิด แม้โจทก์จะให้การต่อสู้คดีในคดีนั้นว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยเพราะโจทก์เลิกจ้างจำเลยเนื่องจากจำเลยกระทำผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์หายไป5,621,315.14 บาท ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนก็มีเพียงว่าจำเลยฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินจำนวนอื่นจากโจทก์ได้ดังฟ้องของจำเลยเพียงใดหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้ โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำละเมิดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไป 5,621,315.14 บาท คดีนี้จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งหกได้กระทำละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ดังฟ้องโจทก์เพียงใดหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีก่อน คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน แต่เนื่องจากในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาอันถึงที่สุดแล้วว่า โจทก์ในคดีนี้ได้เลิกจ้างจำเลยในคดีนี้โดยจำเลยไม่ได้กระทำความผิด จำเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปดังที่โจทก์ให้การต่อสู้คดีในคดีก่อนคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ในคดีนี้ว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไป โจทก์จึงกลับมาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้สินค้าโจทก์สูญหายไปไม่ได้ ทั้งนี้ ตามนัยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน-และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการรับของโจร ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียวและจำกัดโทษตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสามได้นำรถยนต์ของกลางออกใช้ขับไปในที่ต่าง ๆโดยมีแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกัน โดยมีเจตนาแสดงเอกสารดังกล่าวต่อผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกันจนกระทั้งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาอย่างเดียวคือเพื่อให้ผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่า รถยนต์คันที่จำเลยทั้งสามใช้ขับเป็นรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายเพียงอย่างเดียวเท่านั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงมีความผิดกรรมเดียว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานรับของโจรจำคุกคนละ 4 ปี และลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมกับใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอม โดยจำคุกกระทงละคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดสองกรรมว่าเป็นความผิดกรรมเดียวโดยพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหานี้ จำคุกคนละ 3 ปี โดยมิได้เปลี่ยนบทและโทษที่ได้รับก็ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสาม ถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำเลยทั้งสามในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและรับของโจร ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียวได้ หากมีเจตนาเดียวกัน
จำเลยทั้งสามได้นำรถยนต์ของกลางออกใช้ขับไปในที่ต่างๆโดยมีแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันโดยมีเจตนาแสดงเอกสารดังกล่าวต่อผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกันจนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาอย่างเดียวคือเพื่อให้ผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันที่จำเลยทั้งสามใช้ขับเป็นรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายเพียงอย่างเดียวเท่านั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงมีความผิดกรรมเดียว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานรับของโจรจำคุกคนละ4ปีและลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมกับใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมโดยจำคุกกระทงละคนละ3ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดสองกรรมว่าเป็นความผิดกรรมเดียวโดยพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหานี้จำคุกคนละ3ปีโดยมิได้เปลี่ยนบทและโทษที่ได้รับก็ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสามถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำเลยทั้งสามในแต่ละกระทงไม่เกิน5ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและการโต้แย้งข้อผิดพลาดในการบันทึกคำเบิกความ
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินมาชำระเพื่อเป็นการไถ่ถอนจำนองภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น นับว่าเป็นเวลาอันสมควรแล้ว ส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นการเฉพาะตัว โจทก์ชอบที่จะมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวแทนได้
จำเลยกล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นไม่บันทึกคำเบิกความของโจทก์ตามที่ทนายจำเลยถามค้าน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลพิจารณาผิดระเบียบ ตามป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้นคู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใดก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามวรรคสองของมาตรา 27 ดังกล่าว จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
จำเลยกล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นไม่บันทึกคำเบิกความของโจทก์ตามที่ทนายจำเลยถามค้าน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลพิจารณาผิดระเบียบ ตามป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้นคู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใดก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามวรรคสองของมาตรา 27 ดังกล่าว จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีสืบพยานและผลของการแถลงไม่ครบถ้วน ศาลต้องดำเนินการพิจารณาต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแต่ขอให้พระภิกษุส.มาแถลงต่อศาลว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแน่หากพระภิกษุส.แถลงต่อศาลเช่นใดคู่ความก็ยอมรับและไม่ติดใจคัดค้านแต่พระภิกษุส.แถลงต่อศาลเพียงว่าพระภิกษุส. เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพี่ชายโจทก์กับจำเลยแต่เงินที่ซื้อเป็นของจำเลยหรือไม่และจำเลยซื้อแทนใครหรือไม่พระภิกษุส.ไม่ทราบคำแถลงพระภิกษุส. ไม่ครบถ้วนตามคำท้าคดีจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานตามประเด็นข้อพิพาท
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาโจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเมื่อฟ้องโจทก์ได้ระบุโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้วก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองคำสั่งของศาลที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321-322/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาซื้อขายแม้ใช้แบบพิมพ์สัญญาผิดประเภท ศาลพิจารณาจากข้อความในสัญญาเป็นหลัก
การทำสัญญาจะใช้แบบพิมพ์สัญญาประเภทใดไม่ใช่ข้อสำคัญหากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความที่ทำกันไว้ในแบบพิมพ์สัญญาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาประเภทใดเมื่อสัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความที่เขียนไว้ว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา100,000บาทโดยโจทก์ได้ชำระราคาจำนวน72,000บาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยได้มอบที่พิพาทพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาสำหรับราคาค่าที่พิพาทส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยในภายหลังจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาเช่าซื้อ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา171หมายถึงในกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้งอาจตีความได้หลายนัยจึงให้ตีความการแสดงเจตนาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรแต่สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นสัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อจึงนำมาตรา171มาบังคับให้ต้องสืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่