คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับแต่วันศาลพิพากษาคดี ไม่ใช่เมื่อมีการขายที่ดิน
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12กำหนดให้อายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปและมาตรา602วรรคหนึ่งกำหนดให้สินจ้างพึงใช้เมื่อรับมอบการที่ทำการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วแสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุว่าจำเลยตกลงจะขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไม่เป็นเงิน3,500,000บาทซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์500,000บาทหากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้นจำเลยจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ10เปอร์เซ็นของจำนวนเงินที่ขายที่ดินได้ทั้งหมดแต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใดค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า280,000บาทนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้นโดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนดแต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน280,000บาทโดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้นคือศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันทีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่31กรกฎาคม2535โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยวันที่5กันยายน2537เป็นระยะเวลาเกินกว่า2ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9307/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลพิพากษาตามคำฟ้องได้หากมีหลักฐานชัดเจนที่ดินถูกล้อมรอบและมีทางออกทางเดียว
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมไว้รอบไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้คงมีทางออกอยู่ทางเดียวที่จำเลยปิดกั้นเสียทางดังกล่าวจึงเข้าลักษณะทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้บังคับให้จำเลยรือถอนสิ่งปลูกสร้างใดๆที่ทำขึ้นบนที่ดินเพื่อให้โจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลยดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางพิพาทจึงไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันจำเลยตามนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงจำนวนและสถานที่ผิดไปจากเดิม มิใช่ข้อผิดพลาดเล้กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จำเลยไม่อาจจะขอแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร้องค่าเสียหาย: ศาลมิอาจพิพากษาเกินหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ค่าติดตามยึดรถพิพาทและค่าซ่อมรถพิพาทโดยมิได้เรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์ในการที่จำเลยครอบครองรถพิพาทอยู่นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่โจทก์ติดตามยึดรถพิพาทคืนมาได้แต่อย่างใดแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ จึงมิได้บรรยายฟ้องขอมา การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท เป็นระยะเวลา 7 เดือน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าและนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเรื่องกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเป็นเด็ดขาด เว้นแต่มีสิทธิอื่นที่ดีกว่า โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าจำเลยได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีซึ่งตามกฎหมายจะเพิกถอนไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดสืบโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่าทั้งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินและอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดนอกจากอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีก่อนอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทและขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วยังขอให้พิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดอยู่และขอให้ขับไล่จำเลยด้วยพอแปลความหมายแห่งคำฟ้องได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นบุคคลภายนอกมีความประสงค์ให้ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยและคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา145วรรคสอง(2)ศาลอุทธรณ์ภาค2จึงมีอำนาจพิพากษาให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้กรณีไม่ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีดอกเบี้ย: กำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ชัดเจนเฉพาะช่วงเวลาที่ศาลพิพากษา
เมื่อคำพิพากษาได้กำหนดโดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้จำเลยและ พ.ร่วมกันชำระเงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2533 จนถึงวันที่ 1สิงหาคม 2533 ให้แก่ผู้ร้อง แต่ทั้งนี้ดอกเบี้ยก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2533 คำนวณไม่เกินจำนวน 216,260.53 บาท ซึ่งย่อมหมายความว่าเฉพาะดอกเบี้ยก่อนวันที่ 1สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องฟ้องจำเลย จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในส่วนนี้ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2533 จนถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2533 เท่านั้น และการคิดคำนวณดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ห้ามมิให้เกินจำนวน 216,260.53 บาท มิได้หมายความรวมไปถึงดอกเบี้ยส่วนอื่นก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นส่วนที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลพิพากษาได้แม้จำเลยอ้างเรื่องนอกฟ้อง หากโจทก์บรรยายฟ้องถึงการขาดรายได้ของผู้ตายไว้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความตายของผู้ตายทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีของผู้ตายต้องขาดรายได้จากผู้ตายเท่ากับเงินเดือนที่ผู้ตายได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรายเดือนเดือนละ 8,960 บาท หรือปีละ107,520 บาท เป็นเวลา 14 ปี รวมเป็นเงิน 1,505,280 บาทเป็นการบรรยายฟ้องถึงเรื่องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเองศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าขาดไร้อุปการะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าคดีสืบพยานและผลของการแถลงไม่ครบถ้วน ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิพากษาตามรูปคดี
คู่ความตกลงท้ากันว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแต่ขอให้พระภิกษุส. มาแถลงต่อศาลว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแน่หากพระภิกษุส. แถลงต่อศาลเช่นใดคู่ความก็ยอมรับและไม่ติดใจคัดค้านแต่พระภิกษุส.แถลงต่อศาลเพียงว่าพระภิกษุส. เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพี่ชายกับโจทก์กับจำเลยแต่เงินที่ซื้อเป็นของจำเลยหรือไม่และจำเลยซื้อแทนใครหรือไม่พระภิกษุส. ไม่ทราบคำแถลงพระภิกษุส. ไม่ครบถ้วนตามคำท้าคดีจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยกันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำเลยต้องเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลพิพากษาเกินคำขอไม่ได้
ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 2 ฉบับ คำขอท้ายฟ้องแต่ละสำนวนไม่ขอให้นับโทษจำเลยต่อ จึงนับโทษต่อกันไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยแต่ละสำนวนต่อกันจึงไม่ชอบ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับ vs. ค่าเสียหาย: ศาลพิพากษาเกินคำฟ้อง
ตามสัญญาข้อ 9 เป็นเรื่องกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน และผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้ขาย ส่วนสัญญาข้อ 10 กำหนดค่าปรับในกรณีผู้ซื้อไม่บอกเลิกสัญญาต่อผู้ขาย และยังคงยินยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ตกลงขายตามสัญญามาส่งให้ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ ซึ่งต้องปรากฎว่าผู้ขายได้มีการส่งมอบสิ่งของแล้วจะครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ เนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของทั้งหมดภายในกำหนดสัญญา โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันซึ่งเป็นการปฏิบัติตามสัญญาข้อ 9 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 10 อีก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันตามสัญญา การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับรายวัน แต่ใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 10,000 บาท โดยอาศัยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 นั้น เป็นการพิพากษาเกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 26