คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลสำหรับผู้ยากไร้ ต้องยื่นภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้เฉพาะแต่บางส่วน หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย จำเลยอุทธรณ์ขอให้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนดระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เป็นการยื่นอุทธรณ์ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย เมื่อจำเลยเสียค่าคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและค่าคำร้องฎีกาคำสั่งมา จึงต้องคืนให้แก่จำเลยทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้เหมาะสมกับจำนวนกรรมความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) ป.อ. มาตรา 83, 91 จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงกรรมเดียวและไม่อาจที่จะเข้าใจหรือแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะหากนำโทษจำคุก 3 เดือน มาเฉลี่ยเป็นโทษสำหรับความผิด 4 กระทงแล้ว ก็เป็นโทษจำคุกกระทงละ 22 วันครึ่ง ซึ่งผิดวิสัยไม่สอดคล้องกับระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติ ศาลชั้นต้นจึงมิได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพจึงเป็นการที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวมเป็นจำคุก 4 เดือน 60 วัน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5355/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษอาญาตามกฎหมายใหม่และการใช้คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริงก็พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุผลให้รับฟังหรือไม่ และเมื่อรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดแล้ว หากปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 หามีกรณีต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งหากอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่เกิน 5 ปี จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพของจำเลยโดยไม่ต้องพิจารณาพยานโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำกัดสิทธิในการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 คงจำคุกกระทงละ 5 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน ริบเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลยด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ฟังว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องดำเนินคดีอนาถาเป็นที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว การนำพยานหลักฐานเพิ่มเติมจึงไม่อาจทำได้
จำเลยเคยได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นถึงหากจะฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย จึงไม่มีเหตุที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4689/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่เคยตัดสินแล้วในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาหมาย จ. 6 โจทก์เป็นผู้ร่างขึ้น จำเลยได้ทักท้วงสัญญาข้อที่ 8 ไว้ก่อนลงนามในสัญญาแล้ว แต่โจทก์ยังคงกำหนดข้อสัญญาข้อนี้ไว้เพื่อเอาเปรียบจำเลย สัญญาข้อนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จึงตกเป็นโมฆะ นั้น ในปัญหาข้อนี้ เดิมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในครั้งแรกด้วยเหตุที่ว่า ข้อสัญญาข้อ 8 เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลอุทธรณ์ได้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยว่าข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น ๆ ตามรูปคดี จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น และผลของคำอนุญาตฎีกาจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และในกรณีนี้ ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คำอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากจำเลยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการรอการลงโทษ และการแก้ไขโทษบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จำเลยมิได้อุทธรณ์ คงมีโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้อง ถือว่าจำเลยพอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ไม่รอการลงโทษจำคุกให้ แก่จำเลยแล้ว ปัญหาว่าควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่จึงไม่เคยเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยจะฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกมิได้ ถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและ ขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำโทษจำคุก ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยด้วยนั้น เป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: เหตุขอขยายเวลาอุทธรณ์ไม่ชัดเจน และมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า คดีของจำเลยมีทุนทรัพย์และค่าธรรมเนียมศาลสูงมาก จำเลยหาเงินยังไม่ครบ มีเอกสารหมายหลายฉบับที่ต้องใช้เวลาในการจัดทำ เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องในข้อใดอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง และที่จำเลยฎีกาว่าคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นการขอขยายระยะเวลาโดยอ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่เป็นการขออนุญาตให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายนั้นก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชอบ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เดิม และการกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการถือเป็นความผิดของนิติบุคคล
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อ 3 กล่าวอ้างในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 2 ขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 กลับกล่าวระบุเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยคัดลอกถ้อยคำต่างๆ ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชนิดคำต่อคำมาไว้ในฎีกา ซึ่งข้ออุทธรณ์ดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยไว้แล้วทั้งสิ้น กรณีจึงถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใดๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ส่วนการที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 ในการแต่งตั้งทนายความก็เป็นเรื่องที่มิได้มีกำหนดเป็นข้อจำกัดไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนจึงไม่อาจลบล้างผลของการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดทางอาญาร่วมกับจำเลยที่ 2
of 225