คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลใช้ดุลยพินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายบัญญัติ และการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยรับผิดในอัตราสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(6)เป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาที่พิพากษาคดีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และเมื่อไม่ปรากฏเหตุสมควรการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและการพิพากษาคดีหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ โดยจำเลยบางฝ่ายขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและผลของการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีละเมิด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา95มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าหากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่3จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1และที่2ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้อง & ละเมิดจากจัดการงานเกินอำนาจ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 133
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ ทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 396 บัญญัติว่า "ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการ เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่า ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น หรือน่าจะรู้ว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ หลังจากหมดงบประมาณแล้ว และโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมา กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงาน หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา 396 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาและการถอนตัวจากตำแหน่งผู้อนุบาล: ศาลไม่อนุญาตถอนฎีกา แต่เห็นสมควรให้ถอนจำเลยออกจากตำแหน่งผู้อนุบาลตามความประสงค์
จำเลยขอถอนฎีกาและขอถอนตัวจากการเป็นผู้อนุบาล ส.แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ค้าน ศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา และสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลส ตามความประสงค์ของจำเลยได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่านในที่ดินแปลงอื่น ต้องจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย และศาลใช้ดุลยพินิจในการรื้อสิ่งกีดขวาง
ก่อนที่โจทก์จะรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากมารดาแม้โจทก์เคยใช้ถนนพิพาทมาก่อนก็เป็นการใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมการใช้ถนนพิพาทดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ดังนั้นที่คู่ความนำสืบโต้เถียงกันว่าถนนพิพาทมีมาแต่เดิมหรือไม่จึงหาใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่แต่ภายหลังที่จำเลยรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทจากมารดาซึ่งมีถนนพิพาทผ่านแล้วตามฟ้องและทางนำสืบโจทก์อ้างว่าโจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยอาศัยข้อตกลงยินยอมของจำเลยให้ใช้ได้ตลอดไปโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดแม้จำเลยจะมิได้นำสืบปฏิเสธในข้อนี้เพียงแต่ตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่จำเลยและครอบครัวเท่านั้นอย่างไรก็ดีลำพังข้อตกลงยินยอมของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิแก่โจทก์ใช้ถนนพิพาทได้โดยไม่เป็นการละเมิดเท่านั้นโจทก์ไม่มีสิทธิยกเอาความยินยอมนั้นผูกพันจำเลยตลอดไปจำเลยอาจยกเลิกไม่ให้ใช้ถนนพิพาทเสียเมื่อไรก็ได้การที่ต่อมาจำเลยทำประตูเหล็กใส่กุญแจปิดประกาศกำหนดเวลาผ่านเข้าออกและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทดังกล่าวซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทให้พอสมควรแก่ความจำเป็นเช่นที่เคยผ่านมาอันมีผลเท่ากับจำเลยได้ยกเลิกข้อตกลงยินยอมให้ใช้ถนนพิพาทโดยปริยายข้อตกลงยินยอมของจำเลยที่ให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆจึงสิ้นสุดลงแต่โดยที่ถนนพิพาทโดยสภาพยังเป็นทางจำเป็นอยู่เพราะที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาว่าที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยนั้นตกอยู่ในวงล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะคงมีถนนพิพาทเท่านั้นที่ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ซึ่งสะดวกมีระยะทางสั้นและเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยน้อยที่สุดดังนั้นโจทก์จึงอาจใช้ถนนพิพาทได้ดังเดิมโดยอาศัยสิทธิดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้ายบัญญัติว่าผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นโจทก์จึงต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349วรรคสามผู้ที่ใช้ทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็นความจำเป็นของโจทก์คือให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยสะดวกการที่จำเลยทำถนนพิพาทเป็นถนนคอนกรีตทำรั้วคอนกรีตด้านที่ติดกับที่ดินบ้านโจทก์โดยเว้นช่องประตูเป็นทางเข้าออกกับทำประตูรั้วเหล็กด้านที่ติดริมซอยเหรียญทองแล้วโจทก์ก็ยังคงใช้ถนนพิพาทได้โดยสะดวกตลอดมาจนกระทั่งต่อมาจำเลยใส่กุญแจประตูรั้วเหล็กและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทเป็นสาเหตุให้เกิดพิพาทกันเป็นคดีนี้จึงฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยทำกำแพงรั้วมีช่องประตูกว้างเพียง2.80เมตรกับการทำประตูรั้วเหล็กริมซอยเหรียญทองดังกล่าวทำให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทไม่ได้พอแก่ความจำเป็นกับทั้งได้คำนึงถึงในข้อที่ควรให้จำเลยได้รับความเสียหายน้อยที่สุดแล้วจึงไม่สมควรบังคับให้จำเลยรื้อประตูรั้วเหล็กและขยายช่องกำแพงรั้วดังกล่าวเพียงแต่จำเลยต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการขัดขวางโจทก์และบริวารในการใช้ถนนพิพาทให้พอแก่ความจำเป็นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6455/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบัญชีระบุพยานหลังพ้นกำหนด & ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยหลังจากระยะเวลากำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคหนึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วโดยอ้างว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88ให้อำนาจไว้เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์เพียง27,500บาทคู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา248วรรคหนึ่งตามลำดับการที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นอันเป็นการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ผู้แพ้คดีต้องรับผิด แม้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการยึดทรัพย์
โจทก์เป็นผู้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามปกติแล้วโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่ต้องชำระ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตามตาราง5ข้อ3ท้ายป.วิ.พ.และป.วิ.พ.มาตรา149แต่มาตรา149อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งมาตรา161วรรคแรกบัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองบัญญัติว่าถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยคดีนี้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงต้องรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีอย่างไรก็ตามบทบัญญัติมาตรา161วรรคแรกให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง, การนำสืบที่มาของหนี้, และการพิพากษาเกินคำขอ
แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา87 (2) จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าวเปลือกก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน 42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานนอกคำฟ้อง, การพิพากษาเกินคำขอ, และข้อยกเว้นการฎีกา
แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าเปลือกก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่26 กรกฎาคม 2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 14