พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทด้วยการกล่าวอ้างเรื่องเหนือธรรมชาติ: ศาลไม่รับฟ้องหากไม่ทำให้เสียชื่อเสียง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหมิ่นประมาท โดยจำเลยกล่าวว่าโจทก์เปนผีกะเข้าสิงและกินคนหลายคนดังนี้ ศาลไม่รับฟ้องไว้พิจารณา เพราะไม่ใช่ข้อความที่เปนหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง และแก้ไขค่าขึ้นศาลให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาแบ่งส่วนกำไรจากการให้บริการดาวน์โหลดเสียงเพลงริงโทนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระส่วนแบ่งกำไรโดยอ้างว่า จำเลยทั้งหกผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงในหนังสือดังกล่าวให้โจทก์ จำเลยทั้งหกฟ้องแย้งโดยบรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ให้สร้างพัฒนาออกแบบ ควบคุมดูแลบริหารจัดการ และทำการตลาดข้อมูลดิจิตอล ข้อมูลทางธุรกิจลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของโจทก์และบริษัทในเครือผ่านสื่อมัลติมีเดีย ตามสัญญาจ้างพัฒนาธุรกิจ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างตามสัญญาพัฒนาธุรกิจดังกล่าว ขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เมื่อสัญญาพัฒนาธุรกิจที่จำเลยทั้งหกอ้างมีเนื้อหาเป็นคนละส่วนกับสัญญาแบ่งส่วนกำไรที่โจทก์ฟ้อง แม้ว่าสัญญาแบ่งส่วนกำไรจะมีที่มาจากสัญญาพัฒนาธุรกิจ แต่สาระสำคัญของเนื้อหาแตกต่างเป็นคนละเรื่องกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งหกจึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องโจทก์ ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยทั้งหกจะฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 กรณีศาลไม่รับฟ้องแย้ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด" มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 525/2553 มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต: ศาลไม่รับฟ้องคดีที่จำเลยเป็นตัวแทนทางทูต
คำฟ้องของโจทก์บรรยายชัดแจ้งถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย และจำเลยที่ 2 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งก็เป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตของจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้โจทก์ตกแต่งติดตั้งอาคารสถานทูตแห่งใหม่ของสถานทูต อิสลามมิครีปับลิคแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ทั้งสัญญาตามเอกสารท้ายฟ้องก็ลงนามโดยจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญา การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนทางทูต เป็นการปฎิบัติไปตามกรรมวิถีทางของหน้าที่ของตนในกิจกรรมคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง ไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการในการทำสัญญาของคู่สัญญาให้มีการสละเอกสิทธิความคุ้มกันจากอำนาจศาลเป็นที่ชัดแจ้งโดยรัฐผู้ส่ง จำเลยทั้งสองย่อมได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งของรัฐผู้รับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ.2527 มาตรา 3 ประกอบอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ซึ่งทำเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2504 ข้อ 31 (1) ประกอบข้อ 1 (จ) ซึ่งข้อกฎหมายนี้แม้จะไม่มีผู้ใดยกขึ้นโต้แย้ง แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องและปรากฏชัดแจ้งในคำฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นผู้ตรวจรับคำฟ้องย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่ยกเหตุโมฆะในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้องใหม่
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้ ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกับจำเลยอื่นละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพของโจทก์ด้วยการร่วมกันนำอุปกรณ์ชุดเครื่องรับสัญญาณ อุปกรณ์ถอดรหัสและแปลงสัญญาณ อุปกรณ์กระจายสัญญาณของโจทก์ทั้งสองไปติดตั้งไว้ในอาคารแล้วแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำโดยการกระจายสัญญาณเสียงและภาพทางโทรทัศน์ในระบบของโจทก์ไปตามสัญญาหรือสายอากาศที่ต่อเข้าไปในห้องเช่าในอาคารจำนวน 225 ห้อง ไปพร้อมกับระบบการให้บริการสัญญาณทางโทรทัศน์ของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิก เพื่อให้ผู้เช่าห้องได้รับฟังและรับชมรายการทางโทรทัศน์ของโจทก์โดยมีเครื่องหมายบริการของโจทก์ปรากฏในรายการโทรทัศน์นั้นด้วย ขอให้จำเลยที่ 4 ชดใช้ค่าเสียหายและหยุดการกระทำละเมิด ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่อ้างว่า ตัวแทนหรือพนักงานของโจทก์พ่วงต่อสัญญาณโทรทัศน์ของโจทก์เข้ามาในเครื่องรับสัญญาณของจำเลยที่ 4 ทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับความเสียหาย แม้เป็นการฟ้องในมูลละเมิดเช่นกัน แต่ก็เป็นการละเมิดต่างครั้งต่างคราวกันและมูลเหตุคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลไม่รับฟ้อง: เริ่มนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มีความหมายว่า กำหนดระยะเวลา 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นซึ่งได้รับคำฟ้องไว้แต่แรกมีคำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 9 พร้อมกับมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 กำหนดระยะเวลา 60 วัน ย่อมนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2548 มิใช่นับแต่วันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นวันที่ประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล