คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร
โจทก์นำสินค้าผ้าฝ้ายจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อผลิตเป็นสินค้าเสื้อผ้าส่งออกไปยังต่างประเทศซึ่งการส่งออกดังกล่าวต้องมีโควตาและรับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เป็นหนังสือ แต่โจทก์ไม่มีโควตา จึงมอบให้บริษัท ว. เป็นผู้ส่งออกในนามของบริษัทดังกล่าว แม้ว่าตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 จะเพียงแต่บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออกดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วย การที่บริษัท ว. ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุในใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์: ศุลกากรมีสิทธิประเมินราคาสินค้าใหม่ได้หากพบราคาต่ำกว่าตลาด
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึงเสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อจำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและการเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112ตรี นั้นว่ามีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิอย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่า จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปี ก็ตาม แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4 ของลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี" และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมดมาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ความผิดต่อเนื่องและขอบเขตโทษสูงสุด
แม้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ นี้เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้นในเรื่องโทษปรับนี้จึงย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ปรับจำเลยเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆเกินกว่าสี่เท่า ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ ต้องไม่เกินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากร การปรับเกินกว่าสี่เท่าขัดต่อกฎหมาย
แม้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวินี้เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษปรับนี้จึงย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ปรับจำเลยเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: การประเมินอากรและการเปรียบเทียบปรับ
กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร เพื่องดการนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำการประเมินอากรที่โจทก์ต้องเสียและออกแบบแจ้งการประเมินอากรไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์นำเงินค่าอากรมาชำระตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว หากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดครั้งเดียวและบทบัญญัติเฉพาะ
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่บัญญัติให้ลงโทษปรับ 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากรนั้น เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังนั้นการปรับจำเลยเรียงตัว คนละ 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันย่อมเป็น การปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งเกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อ บทกฎหมายดังกล่าว และในมาตรา 120 ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ว่าเมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ กรณีจึงไม่อาจนำความ ในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินอากรหลังนำของออกจากอารักขา: ไม่เข้าข่าย 2 ปีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แต่มีอายุความ 10 ปี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า เป็นการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไปแล้วก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40ไม่รวมถึงการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ถูกประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ เห็นได้จากมาตรา 10วรรคห้า ให้นับกำหนดเวลา 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และมิให้รับพิจารณาการเรียกร้องขอคืนเงินอากร หลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้น ๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ จะไม่อาจใช้ระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าและไม่อาจแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้อง การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินอากรขาเข้าตามที่ถูกประเมินให้ชำระเพิ่มเติมมิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากร สิทธิของโจทก์จึงไม่สิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทบัญญัติศุลกากรที่ถูกต้อง และการแก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินบนรางวัล
การที่จำเลยที่ 2 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางจากผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยยังมิได้เสียค่าภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ อันเป็นความผิดสำเร็จในตัวอยู่แล้วต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 กับพวกนำเลื่อยยนต์ของกลางไปบุกรุกแผ้วถางป่าโดยมิได้รับอนุญาตย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง,74,74 ทวิ อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 66,768 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา 27 ทวิ เป็นการปรับเป็นเงิน 4 เท่า โดยรวมค่าอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเจ็ดเข้าไปด้วยซึ่งไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น หมายถึง ค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยแก้เป็นปรับ 63,128 บาท
of 32