คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครต้องมีสถานะเป็นผู้สมัคร ณ เวลาเกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2535จำเลยได้มอบเงินให้แก่วัดบ้านบัวบกสะดำ เพื่อจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนหรืองดเว้นมิให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครอื่นทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์ไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวาที่บัญญัติว่า ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครต้องมีสถานะ ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความใน พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานของกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน แม้มีคณะกรรมการอื่นเข้ามาดูแล
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน อันเป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายจากอุทกภัย แล้วให้ทำเรื่องผ่านคณะกรรมการตรวจสอบการจ่ายเงิน แม้ต่อมาทางราชการได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายโดยไม่มีจำเลยเป็นกรรมการด้วยก็ตาม แต่คำสั่งในภายหลังก็ไม่มีการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามที่นายอำเภอมีคำสั่ง จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล-กฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการลูกจ้างเริ่มเมื่อใด การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สถานประกอบกิจการของจำเลยมีคณะกรรมการลูกจ้างได้ 11 คนลูกจ้างของจำเลยเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน อ.สหภาพแรงงานอ. ได้แต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง6 คน โดยโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้างด้วย ดังนี้โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งแม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีก 5 คนก็ตาม จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ: ต้องเปิดโอกาสสืบพยานเพื่อพิสูจน์สถานะกรรมการ
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลา แม้ไม่ได้เข้าเวร การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงาน-สอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป.ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการสหภาพแรงงานและการคุ้มครองกรรมการลูกจ้าง แม้ยังมิได้จดทะเบียน
เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้วว่าผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน ถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 แล้ว แม้จะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองการเป็นกรรมการก็ตาม จึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง vs. นายจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้อำนวยการธนาคารจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างตามคำนิยาม"นายจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2แต่ก็เป็นนายจ้างของพนักงานของจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างของจำเลยฐานะระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์ก็เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตามคำนิยาม "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยนั้นในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่1 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่นับจากวันที่ฟ้องย้อนหลังไปเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การพิสูจน์สถานะผู้กระทำการแทนและดุลพินิจศาลที่ไม่รับฟังพยาน
ข้อเท็จจริงว่า นายอาษายังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา84(1) เมื่อโจทก์ไม่นำสืบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้นำพยานมาเบิกความเพื่อยืนยันว่านายอาษายังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นเรื่องที่ศาลจะรู้ได้เองไม่จำต้องสืบพยานแล้วบันทึกเพียงว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 นั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้.
of 18