พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมทำเองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีพยาน และมีข้อความระบุผู้รับมรดกชัดเจน
ผู้ตายเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 โดยหาจำต้องมีพยานพินัยกรรมไม่ ข้อความในบันทึกของผู้ตายมีว่า "ถ้าหากช่วงต่อไปฉันมีอันที่จะต้องตายจากไป ฉันมีทรัพย์สินทั้งหมดที่เห็น ๆ อยู่นี้ ฯลฯในใจจริงนั้นคิดจะยกให้กับต่าย ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวของน้าสาวคนเล็กซึ่งฉันเห็นว่าเขาเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี ฉันเพียงแต่คิดว่าฉันจะควรที่ฉันจะยกข้าวของซึ่งเป็นของฉันให้ต่าย ฯลฯ ส่วนข้าวของอย่างอื่นก็แล้วแต่บรรดาญาติจะเห็นสมควรจะให้อะไรแก่เด็กเหล่า บ้างฯลฯ (ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ขอยกเว้นไม่มีการแบ่งให้กับแม่และลูก ๆของแม่ทุกคนโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น) ในข้อความทั้งหมดที่เขียนมานี้ ฉันมีสติดีทุกประการ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉันเองก็ขอให้ถือว่านี้คือการสั่งเสีย ฯลฯ แล้วลงชื่อ น.ส.ยุพินฉัตรพงศ์เจริญ(พิน)" ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวมีข้อความว่าเมื่อผู้เขียนตายไปทรัพย์สินของตนให้แก่ใครบ้าง มีใครบ้างที่ไม่ยอมให้และลงท้ายด้วยว่ามีสติดี จึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามมาตรา 1646,1647 แล้ว หาใช่บันทึกบรรยายความคิดความรู้สึกในใจเท่านั้นไม่ ผู้คัดค้านฎีกาในข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเพื่อให้การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์ แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุ "เปลี่ยนมือไม่ได้" ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้าน หน้าว่า"เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดย รูปการและด้วย ผลอย่างการโอนสามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 985,917,306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้อง ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าผู้โอนโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ด้วย วิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมาย เจ้าหนี้จึงยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วผู้โอนจะได้ ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึง การสลักหลัง และส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดย ชอบไม่ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้: การพิสูจน์การมีผลใช้บังคับของกฎหมายและประกาศ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามพ.ศ. 2530 กำหนดให้ไม้ตะเคียน หินในป่าท้องที่ทุกจังหวัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอด เขตท้องที่ทุกจังหวัดดัง ปรากฏรายละเอียดตาม สำเนาประกาศท้ายฟ้อง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพ้นกำหนดเก้า สิบวันนับแต่วันประกาศแล้ว ในสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องนั้น ปรากฏว่าประกาศดังกล่าวได้ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรณีจึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าประกาศนั้นได้ มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นเก้า สิบวันนับแต่วันประกาศตาม มาตรา 47แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และเมื่อตาม ฟ้องของโจทก์ฟังได้ว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นกำหนดเก้า สิบวันนับแต่วันประกาศแล้วพระราชกฤษฎีกาฉบับ ดังกล่าวย่อมมีผลใช้ บังคับได้ เป็นกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำความผิด แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาพร้อมกับฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่เป็นหนังสือ แต่สมบูรณ์ด้วยการโอนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 136 และ 1378
จำเลยซื้อ ที่ดิน พิพาทซึ่ง มี น.ส. 3 จากโจทก์โดย มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก และ 115 แต่ ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยฐาน เป็นนิติกรรมอย่างอื่นได้ ตาม มาตรา 136 กรณีปรากฏว่าโจทก์ได้ มอบการครอบครองที่ดิน พิพาทให้จำเลยแล้วซึ่ง กระทำได้ ตามมาตรา 1378 ตาม พฤติการณ์สันนิษฐานได้ ว่าคู่กรณีตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดย มี ค่าตอบแทน ดังนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้อง มีหนังสือมาแสดง ศาลรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้ ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: แม้ใช้คำไม่ตรงตามกฎหมาย แต่หากใจความชัดเจนถือเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องสมบูรณ์
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า "โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง"โดยมิได้ใช้คำว่า "โอนสิทธิเรียกร้อง" ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไปการที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือโอนสิทธิลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบ ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ต้องจดทะเบียน
ผู้ตายซึ่งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ได้ยกที่ดินดังกล่าวให้ผู้ร้องและได้ส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องแล้ว ย่อมเป็นการยกให้ที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองโดยมิพักต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ดังกล่าวผู้ตายไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง กรณีไม่จำเป็นต้องมีการจัดการมรดก จึงไม่จำต้องตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง ถือเป็นการโอนที่สมบูรณ์ ไม่ต้องจดทะเบียน
ผู้ตายมีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อยกให้ผู้ร้องและได้ส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องแล้ว ก็ย่อมเป็นการยกให้ที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองโดยมิพักต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ตายยกที่ดินให้ผู้ร้องโดยวิธีส่งมอบการครอบครอง ผู้ตายจึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่มีสิทธิครอบครองหรือทรัพย์สินอื่นเป็นมรดกที่จะต้องจัดการ จึงไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก