พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสในความเชื่ออิสลาม: ทรัพย์สินที่ซื้อระหว่างสมรสเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิก อยู่ในจังหวัดนราธิวาสซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว และมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการนั้นก็ตาม แต่เนื่องจากกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว และมรดกไม่มีบัญญัติไว้ว่าทรัพย์สินที่ซื้อมาระหว่างสมรส เป็นสินสมรสระหว่างผู้ซื้อกับคู่สมรสหรือเป็นสินส่วนตัว ของผู้ซื้อ จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับแก่กรณี โจทก์สมรสกับจำเลยตามกฎหมายอิสลามตั้งแต่ พ.ศ. 2521และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยซื้อมาจากเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสภายหลังเกิดเหตุพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา ผลกระทบต่อความผิดทางอาญา
ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ม. มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 กรณีที่จำเลยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับเด็กหญิง ม. โดยนาง จ.มารดาเด็กหญิง ม. ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขออนุญาตให้เด็กหญิง ม. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้วแม้ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก็มิอาจลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำมา ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงชอบแล้ว แต่เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้อนุญาตให้จำเลยและเด็กหญิง ม. สมรสกันการกระทำของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้ายแม้จำเลยจะมิได้ฎีกามาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสต่างประเทศและการสมรสซ้อน: โมฆะตามกฎหมายไทย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส.ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส.ถ้ามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยผูกข้อมือ ไม่ถือเป็นหลักฐานการหมั้นหรือสินสอด สิทธิเรียกร้องทรัพย์สินและค่าเสียหายไม่มี
โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามมาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440
การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยผูกข้อมือ ไม่ถือเป็นหมั้นหรือสมรสตามกฎหมาย สิทธิเรียกร้องสินสอดและค่าเสียหายจึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ฉะนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนส่วนการที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1458การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยผูกข้อมือไม่มีผลทางกฎหมายเรื่องสินสอดทองหมั้นและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ตกลงแต่งานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามมาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ระหว่างสมรส และผลของการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์กับ ช. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2480 ตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ ตามมาตรา 1462 วรรคสอง เดิม ช. ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2509 และปี 2529 ช. ได้จดทะเบียนให้จำเลยเช่า 30 ปี ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตกลงเป็นอย่างอื่น ช. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการตึกแถวพิพาทได้ฝ่ายเดียวมาแต่แรกตามมาตรา 1468 เดิม และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ท้าย พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบรรพ 5 ใหม่นี้ ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้จัดการสินบริคณห์แต่ฝ่ายเดียวให้ถือว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ยินยอมให้คู่สมรสนั้นจัดการสินสมรสด้วย ช. เพียงฝ่ายเดียวจึงมีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิม นิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินในสมรสและสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต: การบอกล้างสัญญาและการคุ้มครองสิทธิ
ทรัพย์ พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย และพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์ พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมในสมรสและการยึดทรัพย์สินส่วนตัว: สิทธิภริยาที่ได้รับการคุ้มครอง
จำเลยที่ 2 สามีของผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ.แก่โจทก์ โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังและให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ร้องเอง ถือได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส ผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา282 วรรคท้าย โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง โจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการค้ำประกันในสมรส และการยึดทรัพย์สินส่วนตัว
จำเลยที่2สามีของผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัทบ. แก่โจทก์โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังและให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ร้องเองถือได้ว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรสผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา282วรรคท้ายโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์แม้หนี้ที่จำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องโจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้