คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สวัสดิการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างหลังถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล: แม้ได้รับสวัสดิการจากรัฐวิสาหกิจ ยังมีสิทธิเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิด
จำเลยขับรถประมาทชนรถโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายแม้โจทก์เป็นพนักงานขององค์การ ท. มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากองค์การ และได้เบิกไปตามสิทธิแล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาจาก จำเลยได้เพราะสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากองค์การ ท. เป็นสิทธิซึ่งรัฐวิสาหกิจนั้นจะพึงให้สวัสดิการแก่พนักงาน ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่มีต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่ขัดกับกฎหมาย
โจทก์กับสหภาพแรงงานมีข้อขัดแย้งซึ่งตกลงกันไม่ได้กรมแรงงานได้รับเรื่องข้อขัดแย้งดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณา คำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ชี้ขาดให้โจทก์ปรับปรุงอัตราค่าจ้างลำดับต่ำสุดถึงลำดับอื่น ๆ เป็นการชี้ขาดไปตามข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ จึงมีอำนาจชี้ขาดได้ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เพราะหาได้ชี้ขาดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่และคำชี้ขาดไม่ขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวที่กำหนดให้ปรับอัตราค่าจ้างเฉพาะขั้นต่ำเป็นวันละ 45 บาท โดยมิได้กำหนดให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นอื่น ๆ ด้วยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้ให้ความหมายของคำว่า'สวัสดิการ' ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไป ซึ่งหมายความถึงการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ การที่โรงงานสุรานายจ้างจำหน่ายสุราให้ลูกจ้างในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายทั่วไป ย่อมเป็นการอนุเคราะห์ช่วยเหลือลูกจ้างอย่างหนึ่ง จึงเป็นสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องนี้เป็นข้อพิพาทแรงงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับสภาพการจ้าง รวมถึงค่าจ้างและสวัสดิการ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดย วิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง "สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการลูกจ้างภายใต้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8491/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สวัสดิการบริษัท (ค่าอาหาร/กระดาษทิชชู) ไม่ถือเป็นค่าจ้าง แม้จ่ายเป็นตัวเงิน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในหมวดสวัสดิการกำหนดว่า นายจ้างจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารแก่พนักงานทุกคนที่เป็นพนักงานประจำตามสภาพการจ้าง ยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าอาหารนั้น เดิมนายจ้างเคยมอบคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ 1 ใบ ต่อวัน เป็นมูลค่าวันละ 5 บาท และปี 2535 นายจ้างมอบกระดาษทิชชูให้แก่ลูกจ้างคนละ 2 ม้วน ต่อเดือน แสดงให้เห็นว่านายจ้างมีเจตนาแต่แรกที่จะให้ค่าอาหารเป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานประจำยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวดสวัสดิการ และเห็นเจตนาชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อระยะแรกนายจ้างจ่ายค่าอาหารในรูปคูปองและจ่ายกระดาษทิชชูให้ลูกจ้าง แม้ต่อมานายจ้างเปลี่ยนการจ่ายค่าอาหารในรูปคูปองและการจ่ายกระดาษทิชชูมาเป็นตัวเงิน โดยจ่ายให้พนักงานที่มีสิทธิได้รับทุกคนเป็นประจำทุกเดือนและไม่มีเงื่อนไขว่าพนักงานจะขาดลามาสายหรือไม่ ก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติของบริษัทนายจ้างเท่านั้น มิได้แสดงว่าเมื่อนายจ้างเปลี่ยนการให้สวัสดิการจากรูปแบบอื่นมาเป็นตัวเงินแล้วจะทำให้สวัสดิการดังกล่าวกลายเป็นค่าจ้าง สวัสดิการจึงเป็นตัวเงินได้ ไม่จำต้องเป็นแต่สิ่งของหรือบริการที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้าง ดังนั้นเงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำทุกเดือนจึงเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้ามหักค่าใช้จ่ายสวัสดิการลูกจ้างจากค่าจ้าง หากไม่ใช่การชำระภาษีหรือหนี้ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างโดยตรง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (3) หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง ตามหนังสือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดตากขอความร่วมมือไปยังนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว ให้จัดหาที่พักให้แก่แรงงานต่างด้าวเพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของชุมชนและเป็นไปเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกจ้างในการที่จะทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ทั้งโจทก์ก็ได้รับประโยชน์เป็นตัวเงินได้เพราะมีผลทำให้จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดน้อยลงด้วย หนังสือดังกล่าวมิใช่กฎหมายแต่เป็นเพียงหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการไปยังผู้ประกอบกิจการเอกชนเท่านั้น ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันสุขภาพ และค่าใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวจึงมิใช่เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ลูกจ้างต้องชำระและนายจ้างชำระแทนลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1) หากแต่เป็นสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดหาให้แก่ลูกจ้าง เพื่อให้ความสะดวกแก่โจทก์สามารถจ้างงานลูกจ้าง ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดตากมีหนังสือขอความร่วมมือโดยโจทก์ได้รับประโยชน์จากการออกค่าใช้จ่ายนั้นด้วย เงินดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (3) โจทก์จึงไม่สามารถหักเงินค่าใช้จ่ายนั้นออกจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้
การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ย่อมหมายความว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลแรงงานพิจารณาทบทวนคำสั่งของจำเลยว่าถูกต้องหรือไม่ หากจำเลยมีคำสั่งไม่ถูกต้องศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของจำเลยได้ โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องเพราะหนี้ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องบางส่วนขาดอายุความและโจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายหักจากหนี้ดังกล่าวโจทก์จะไม่มีเงินค้างจ่ายแก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยและขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความและโจทก์ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่าย แม้ศาลแรงงานภาค 6 จะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุที่ต้องแก้ไขคำสั่งของจำเลยหรือไม่ แต่การที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามที่อ้างมาหักจากเงินที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างได้ แต่ที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ลูกจ้างโดยนำเอาหนี้ตามสิทธิเรียกร้องบางส่วนที่ขาดอายุความมาคิดคำนวณด้วยไม่ถูกต้องนั้น ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าคำสั่งของจำเลยถูกต้องหรือไม่ เมื่อเห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องบางส่วน ศาลแรงงานภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำสั่งของจำเลยในส่วนที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวโดยมิต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งหมดได้ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15462/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสวัสดิการและค่าชดเชยของลูกจ้างหลังการรวมกิจการและการเกษียณอายุ
การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานนั้น ไม่มีบทกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องกระทำ จึงเป็นอำนาจทางการบริหารจัดการของนายจ้างตามแต่ที่จะกำหนดหรือตามที่ได้ตกลงกับลูกจ้างหรือพนักงานไว้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะให้รับฟังได้ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่พนักงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่พนักงานเป็นสิทธิเฉพาะของจำเลย และเป็นไปตามนโยบายหรือแนวทางการพิจารณาปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานตามที่จำเลยประกาศไว้ ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขว่าพนักงานจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยพนักงานจะรู้ว่าได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนประมาณวันที่ 15 มีนาคม ส่วนพนักงานที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานก่อนงวดการจ่ายเงินเดือนในเดือนมีนาคม 2550 จำเลยจะไม่พิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนให้ ดังนั้นเมื่อโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 การที่จำเลยไม่ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี 2550 ให้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นไปตามอำนาจทางการบริหารจัดการของจำเลยตามระเบียบโดยชอบแล้ว
การที่โจทก์ใช้รถประจำตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2544 นั้น เป็นสิทธิประโยชน์และเป็นสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่ตัวเงินที่จำเลยจัดให้เฉพาะพนักงานระดับสูง แม้ต่อมาโจทก์จะได้รับอนุมัติจากจำเลยเป็นกรณีพิเศษ ให้เปลี่ยนเป็นการรับเงินช่วยเหลือค่ารถเดือนละ 50,000 บาท และค่าน้ำมันรถเดือนละ 3,000 บาท แทนก็ตามก็ยังถือว่าเป็นสวัสดิการอยู่นั่นเองเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินแทน เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถ จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ มิใช่เป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ขอและจำเลยยินยอมให้โจทก์รับเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง หลังจากจำเลยออกระเบียบงานที่ 14/2549 โดยข้อ 2.7 กำหนดไม่ให้นำเงินช่วยเหลือค่ารถไปรวมกับเงินเดือนเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณผลประโยชน์อื่นใด อันรวมถึงค่าชดเชยด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางไม่นำเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถมารวมเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
จำเลยประกอบกิจการธนาคารและเคยใช้ชื่อว่าธนาคาร ส. จำกัด โจทก์เคยเป็นพนักงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะต้องรวมกิจการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่น จำเลยกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงานไว้กับโจทก์ ว่าจำเลยจะจัดสวัสดิการให้โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่จำเลยจัดให้กับพนักงานของจำเลยซึ่งขณะนั้นจำเลยใช้ชื่อว่า ธนาคาร ส. ยกเว้นสวัสดิการว่าด้วยเงินบำเหน็จนั้น แสดงว่ากรณีเงินบำเหน็จที่จัดไว้สำหรับพนักงานของธนาคาร ส. ที่ทำงานมาก่อนที่จะมีการรวมกิจการ เป็นสวัสดิการที่มีมาก่อนแล้วและจำเลยยังคงที่จะสงวนสิทธิไว้ให้แก่พนักงานที่ร่วมทำงานกับจำเลยมาแต่แรก ไม่รวมถึงโจทก์ที่เป็นพนักงานใหม่ซึ่งเพิ่งเข้ามาหลังมีการรวมกิจการ ทั้งไม่ถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อนายจ้างเดิมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ตามความหมายในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น ที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15462/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ: สวัสดิการพิเศษ, เงื่อนไขการจ้าง, และการคำนวณฐานค่าชดเชย
การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานไม่มีบทกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องกระทำ จึงเป็นอำนาจทางการบริหารจัดการของนายจ้างตามแต่ที่จะกำหนดหรือตามที่ได้ตกลงกันไว้ การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีแก่พนักงานของจำเลยจึงต้องเป็นไปตามนโยบายหรือแนวทางการพิจารณาปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานตามที่จำเลยประกาศไว้ ซึ่งมีเงื่อนไขว่า พนักงานจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ส่วนพนักงานที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานก่อนงวดการจ่ายเงินเดือนในเดือนมีนาคม 2550 จำเลยจะไม่พิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนให้ เมื่อโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 การที่จำเลยไม่ปรับขึ้นเงินเดือนให้โจทก์จึงเป็นไปตามอำนาจทางการบริหารจัดการของจำเลยตามระเบียบโดยชอบแล้ว
โจทก์ใช้รถประจำตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2554 อันเป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในรูปที่มิใช่ตัวเงินที่จำเลยจัดให้เฉพาะพนักงานระดับสูง แม้ต่อมาโจทก์จะได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้เปลี่ยนเป็นการรับเงินช่วยเหลือค่ารถเดือนละ 50,000 บาท และค่าน้ำมันรถเดือนละ 3,000 บาท แทนรถประจำตำแหน่งก็ตาม ก็ยังคงเป็นสวัสดิการเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นตัวเงิน เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถนั้นจึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ มิใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร เดิมใช้ชื่อว่าธนาคาร ส. ส่วนโจทก์เคยเป็นพนักงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ซึ่งธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต้องรวมกิจการกันตามประกาศกระทรวงการคลัง จำเลยกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงานกับโจทก์ว่า จำเลยจะจัดสวัสดิการให้แก่โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานของจำเลย (ขณะนั้นจำเลยใช้ชื่อว่าธนาคาร ส.) ยกเว้นสวัสดิการว่าด้วยเงินบำเหน็จ จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องการสงวนสิทธิที่จะจัดสวัสดิการเงินบำเหน็จไว้ให้แก่พนักงานที่ร่วมทำงานกับจำเลยมาตั้งแต่แรกไม่รวมถึงโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานใหม่ที่เข้ามาภายหลังรวมกิจการ ทั้งเงินบำเหน็จดังกล่าวไม่ถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อนายจ้างเดิมที่จะทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จตามฟ้องแก่โจทก์
of 6