พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมและสอบสวนข้ามเขตท้องที่: ความผิดซึ่งหน้าและต่อเนื่อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และตามมาตรา 17 ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ซึ่งอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นอันหมายความว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจนั้น ย่อมเป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน แล้วได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 1 ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร เป็นการต่อเนื่องกันทันทีเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกันซึ่งหากล่าช้าจำเลยที่ 1 อาจหลบหนีไปได้และจากการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังได้เมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจจับกุมได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 81(1),92(2) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนและสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3)และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและสอบสวนความผิดซึ่งหน้า การใช้สายลับล่อซื้อ และการรับคำสารภาพโดยสมัครใจ
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลย จะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมี อำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับ ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจ สืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้ สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริงจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทน
ป.วิ.อ.มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมาย เช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องการรับเอกสารและงดสืบพยาน เป็นขั้นตอนการสอบสวน ยังไม่สร้างความเสียหาย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเพื่อขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารที่อ้างเป็นพยานไว้ผู้คัดค้านไม่อนุญาต และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งงดการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้อง โดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจอ้างต้นฉบับเอกสารตามที่ผู้ร้องอ้างเป็นพยานไว้ และมีคำสั่งยกคำร้องที่ผู้ร้องขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารหลังจากครบกำหนดวันนัดเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เป็นการแน่นอนว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องหรือไม่ แม้ต่อมาหากผู้คัดค้านทำความเห็นควรอนุญาตหรือควรยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ เพราะศาลพิจารณาแล้วอาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านในชั้นนี้ได้ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จก่อนถูกสอบสวน: ไม่ใช่การให้การในฐานะผู้ต้องหา
จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า "ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตาม แต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 78, 157, 160 วรรคหนึ่งและ ป.อ.มาตรา 137 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนและการแจ้งข้อหา, ความผิดฐานล่วงละเมิดความปกครองผู้เยาว์, ความประสงค์ในการอยู่กินฉันสามีภริยา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 134 พนักงานสอบสวนอาจทำการสอบสวนได้เมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในหลายกรณีด้วยกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีการจับตัวผู้ต้องหามามอบให้และทำบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด การที่ร้อยตำรวจเอก ส.เบิกความว่าได้จับจำเลยนั้น แม้จะมิใช่การจับในความหมายตามป.วิ.อ.แต่เป็นเรื่องนำตัวจำเลยและผู้เยาว์ไปพบกับพนักงานสอบสวนในฐานะที่ ส.เป็นผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยไว้พร้อมกับแจ้งข้อหาแก่จำเลยและบันทึกคำให้การของจำเลยไว้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องและการจับกุม รวมถึงผลของการสอบสวนที่ไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นปัญหาสำคัญ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยจะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายและอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มาในฟ้อง ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158
ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ปัญหาที่ว่าการจับกุมจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 เพียงแต่ห้ามไม่ให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง หรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ต้องหาเพื่อจูงใจให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้นเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนทำการฝ่าฝืนก็มีผลเพียงว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นใช้เป็นหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณาไม่ได้ตามมาตรา 134 ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
การกระทำของจำเลยจะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายและอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มาในฟ้อง ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158
ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ปัญหาที่ว่าการจับกุมจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 เพียงแต่ห้ามไม่ให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง หรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ต้องหาเพื่อจูงใจให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้นเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนทำการฝ่าฝืนก็มีผลเพียงว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นใช้เป็นหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณาไม่ได้ตามมาตรา 134 ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถ่วงดุลอำนาจในกระบวนการสอบสวนและลงโทษข้าราชการอัยการ: ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
พนักงานอัยการมีตำแหน่งหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนไว้มากหลายการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการจึงต้องมีอิสระ ปราศจากอิทธิพลทั้งภายนอกจากทางการเมือง และภายในจากการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้ประธาน ก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลย์อำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากจนเกินไป อันเป็นการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากอิทธิพลครอบงำใด ๆ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง การที่จะแปลกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 15 ตรี วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 5 และมาตรา 20วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ก.อ.ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธาน ก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงให้รองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ก.อ.ได้ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. ยังไม่พ้นจากตำแหน่ง ย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 54 และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันจึงไม่อาจกระทำได้
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ. โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการ ก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้
เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าว จึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2540)
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ. โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการ ก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้
เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าว จึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ แม้เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้สอบสวน หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่อที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยดังนี้แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วโจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้วแต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมายทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถจะสั่งการใดๆให้โจทก์จำเลยปฏิบัติได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55