พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นจำนอง และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ที่เหลือ
เมื่อระหว่างปี2522ถึงปี2524เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยาม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม7ครั้งคิดเป็นเงิน2,093,300บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี2528เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเองหาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมเพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิมหนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่านอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง980,000บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้: เบี้ยปรับหรือดอกผลนิตินัย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 379 การที่จะเรียกเบี้ยปรับแก่กัน คู่สัญญาจะต้องตกลงกันกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้คดีนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความว่า "ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาและโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้ ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสาม กรณีไม่อาจอนุโลมเป็นเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกาชี้สิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ผู้กู้ผิดนัด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379การที่จะเรียกเบี้ยปรับแก่กัน คู่สัญญาจะต้องตกลงกันกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้คดีนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความว่า "ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาและโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้ ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตามการคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 148 วรรคสาม กรณีไม่อาจอนุโลมเป็นเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา, สัญญากู้, ชำระหนี้, โมฆะเฉพาะส่วน, สิทธิเรียกร้อง
เอกสารระบุว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา โจทก์จะนำเงินของผู้ใดมาให้จำเลยกู้ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่ทำให้สัญญากู้และสัญญาจำนองเสียไปแต่ประการใด
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสัญญากู้ไปโดยไม่คืน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 เนื่องจากทำให้ผู้เสียหายขาดหลักฐานในการฟ้องร้อง
สัญญากู้14ฉบับผู้เสียหายในฐานะผู้ให้กู้และจำเลยในฐานะผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญามีข้อความระบุว่าจำเลยได้กู้เงินผู้เสียหายไปจำนวน1,100,000บาทมีพยานรับรองถูกต้องจึงเป็นสัญญากู้ที่สมบูรณ์เป็นเอกสารที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีให้ชำระเงินกู้จำนวนดังกล่าวได้การที่จำเลยนำเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวไปโดยมิได้นำมาคืนให้แก่ผู้เสียหายไม่ว่าจะนำไปทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเอาไปด้วยประการใดๆเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้เสียหายขาดหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีจึงเป็นการกระทำโดยประการที่น่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9262/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและสัญญากู้: การลดหย่อนสินไถ่ก่อนกำหนด และผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญากู้เงินจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาว่าเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน โจทก์ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่จำเลย หากโจทก์ไถ่ถอนก่อนกำหนดจะมีส่วนลดให้ ข้อสัญญานี้ไม่ได้ขัดหรือลบล้างสัญญาขายฝาก แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ขอไถ่ที่ดินก่อนครบกำหนดโจทก์สามารถวางเงินสินไถ่ตามส่วนลดดังกล่าวได้ การนำสืบพยานของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนเงินสินไถ่และส่วนลดหาใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองที่ดิน-สัญญากู้-ดอกเบี้ย-สถาบันการเงิน-การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมาย
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารแต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นโจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเองอันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ(ร้อยละ14.5ต่อปี)กับดอกเบี้ยผิดนัด(ร้อยละ18.5ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดแต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19ต่อปีตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้นโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่1ได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่20พฤศจิกายน2533ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และการคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และเพิ่มวงเงินกู้2ครั้งรวมเป็นวงเงิน5,000,000บาทคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ15ต่อปีโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลังจากนั้นจำเลยที่1ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนดจำเลยที่1คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไปแต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1จำเลยที่1คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน7,095,820.70บาทรายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณาขอให้จำเลยที่1รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ดังนี้คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วแม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด(บัญชีกระแสรายวัน)ของจำเลยที่1แนบมาท้ายฟ้องแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1มาท้ายฟ้องจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์2ฉบับตั๋วแลกเงิน6ฉบับและทรัสต์รีซีท6ฉบับรวม15ฉบับซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม3ครั้งค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้องโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้วเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แต่จำเลยที่1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม6ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อนโดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม6ฉบับให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระจำเลยที่1ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วนคงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19บาทโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้าชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศเลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋วและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้วคำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้วเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้นแม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้งป. เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาคดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวงป. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใดๆเกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียวและหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์30บาทถูกต้องตามข้อ7(ข)ของบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้วโจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรมาตรา118ไม่การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว จำเลยที่1ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์2ครั้งในวงเงิน5,000,000บาทโดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ2และ3ใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าวก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราวๆไปและให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือนประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้นดังนี้แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัดโดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ3ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่1ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วยเมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดไปด้วยปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อวันที่25เมษายน2532จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์5,492,962.01บาทหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้งโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2533หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกหรือถอนเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีกดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่1ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไปและโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่28กุมภาพันธ์2533ปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่1ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28กุมภาพันธ์2533ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้-ค้ำประกัน: การคิดดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เอง ส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญากู้-ค้ำประกัน, การตีความดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, เงินกู้จากกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่1ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เองส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505นั้นจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการแต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่1กู้ยืมไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใดศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ สำหรับจำเลยที่1นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.17.2และจ.3ว่าจำเลยที่1กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมายจ.1เท่านั้นคืออัตราชั่งละ1บาทต่อเดือนหรือร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใดต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ7.5ต่อปีสำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา7เท่านั้น ส่วนจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.1และจ.2เท่านั้นส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.3จำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.3ด้วยจึงไม่ถูกต้องทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมายจ.4และจ.5มีข้อความเพียงว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้จำเลยที่2จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่2ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยจึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน