พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9223/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การชำระหนี้, สัญญาค้ำประกัน, การปิดอากรแสตมป์, สัญญาซื้อขายตั๋วสัญญาใช้เงิน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 กำหนดให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นสุดของเดือน หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยก็มีข้อกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อ 3 ให้โจทก์มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินเดิมเป็นต้นเงินใหม่ได้ทันที แต่มิได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้ เมื่อสัญญายังไม่เลิก โจทก์จึงจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดโดยอ้างเหตุ จำเลยผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยกำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึง 18กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันนั้นยังไม่ถึง 1 เดือนตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม2533 แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยชำระหนี้ โดยทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างไร จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้นมิใช่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงข้อ 3 ที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดได้ แต่ต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่โจทก์คิดจากลูกค้าชั้นดีบวกอีกอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคนแต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรฯ แล้ว
เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยกำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึง 18กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันนั้นยังไม่ถึง 1 เดือนตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม2533 แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยชำระหนี้ โดยทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างไร จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้นมิใช่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงข้อ 3 ที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดได้ แต่ต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่โจทก์คิดจากลูกค้าชั้นดีบวกอีกอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคนแต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรฯ แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเช่าซื้อไม่ระงับ แม้มีการทำสัญญารับสภาพหนี้ใหม่ เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมารถยนต์เช่าซื้อได้รับอุบัติเหตุเสียหายทั้งคัน บริษัทผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ยังไม่คุ้มราคาที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงตกลงทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ยินยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างรวมดอกเบี้ยชำระล่าช้า โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายงวด แต่หนังสือสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนี้ หนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้าประกันยังไม่หลุดพ้นความรับผิด เพระโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น มิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกันจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ยินยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ด้วยก็ตามเพราะโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและหนี้ยังไม่ระงับนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่ระบุในสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัท ส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ส. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัท สก. แต่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ สัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่จดทะเบียนแล้วในขณะทำสัญญา ผู้ทำสัญญาค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทที่จดทะเบียนภายหลัง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท ย. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัทส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยที่ 2 จะค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ย. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท ย. ทุกบริษัท ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้วในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 โจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ก็ตามสัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อหลักประกันไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 (กรมสรรพากร) กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันหนี้ภาษีอากรอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระ โดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2 เข้ามาทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2 ว่าการค้ำประกันดังกล่าวไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้อง ทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองเสียใหม่ให้ถูกต้อง หรือหากไม่จดทะเบียนจำนองก็ต้องจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ประการใด แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้อง การแจ้งอนุมัติดังกล่าวจึงหาใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 1 กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระโดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2ซึ่งมิใช่ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ที่ 2ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2ว่าไม่ตรงตามหลักเกณฑ์วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้ แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้องจึงมิใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เมื่อต่อมาหลังจากที่จำเลยที่ 2 เสนอหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองแล้วเป็นเวลา 6 ปีแต่โจทก์ทั้งสองไม่รับ จำเลยที่ 2 ได้ขอหนังสือสัญญาค้ำประกันคืนจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และการร่วมรับผิดในสัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากสัญญาว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์สองจำนวน คือจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้อง เพิ่มเงินจ้างบุคคลอื่นเป็นเงิน 856,067.45 บาท และอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท แต่ยกฟ้องค่าเสียหาย ส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ในส่วนนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในส่วนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท โจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริงหรือไม่ เป็นปัญหา ข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้ ให้จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหานี้ได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารชลประทานและบ้านพักพนักงานสูบน้ำสถานีสูบน้ำ ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้ว เสร็จบริบูรณ์ ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 302,800 บาท มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 20 (1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ทั้งสองจำนวน แต่ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 20 (1) และ (2) เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าหากกำหนดได้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อศาลล่าง ทั้งสองกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวคุ้มกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากเป็นอีกจำนวนหนึ่งแต่ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 302,800 บาท
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารชลประทานและบ้านพักพนักงานสูบน้ำสถานีสูบน้ำ ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้ว เสร็จบริบูรณ์ ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 302,800 บาท มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 20 (1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ทั้งสองจำนวน แต่ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 20 (1) และ (2) เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าหากกำหนดได้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อศาลล่าง ทั้งสองกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวคุ้มกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากเป็นอีกจำนวนหนึ่งแต่ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 302,800 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5959/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าลิสซิ่งกับสัญญาค้ำประกัน: การใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายและการปิดอากรแสตมป์
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทมีข้อความและรายละเอียดเช่นสัญญาเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่าแม้จะมีข้อตกลงที่ให้ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า หากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้า สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทจึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ลักษณะแห่งตราสาร 1 กำหนดให้สัญญาเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพเท่านั้นที่ต้องปิดอากรแสตมป์ สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
สัญญาค้ำประกันพิพาทเป็นการค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ลักษณะแห่งตราสาร 17(ก) โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน เมื่อสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เป็นผลให้โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2และที่ 3 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ลักษณะแห่งตราสาร 1 กำหนดให้สัญญาเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพเท่านั้นที่ต้องปิดอากรแสตมป์ สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
สัญญาค้ำประกันพิพาทเป็นการค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ลักษณะแห่งตราสาร 17(ก) โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน เมื่อสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เป็นผลให้โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2และที่ 3 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274-1275/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีกำหนดเวลา โจทก์ไม่แจ้งเรียกภายในกำหนด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2540 หนี้ที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2540ย่อมอยู่ภายในอายุสัญญาค้ำประกัน แต่สัญญาค้ำประกันได้ระบุเงื่อนไขว่า โจทก์จะต้องยื่นคำเรียกร้องตามหนังสือสัญญาค้ำประกันภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 อันเป็นกรณีที่หากมีการผิดสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแล้ว โจทก์จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนดนั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วเสียก่อนการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวไปถึงจำเลยที่ 2 เกินกำหนดเวลาในเงื่อนไขนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น และมาตรา 680 วรรคสอง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ซึ่งมีความหมายว่า สัญญาค้ำประกันต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่ผู้ค้ำประกันลงชื่อฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้แล้ว ไม่จำต้องลงลายมือชื่อโจทก์ด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น และมาตรา 680 วรรคสอง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ซึ่งมีความหมายว่า สัญญาค้ำประกันต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่ผู้ค้ำประกันลงชื่อฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้แล้ว ไม่จำต้องลงลายมือชื่อโจทก์ด้วย