พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด: สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมและอายุความตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการ และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน 559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามสัญญา แม้ผู้ว่าจ้างรับมอบเรือแล้ว คดีไม่ขาดอายุความ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการและโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้วก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไรเหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็น การกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาทซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขภายใน 30 วันจำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600,601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ vs ค่าเสียหาย: การบังคับใช้ตามสัญญาจ้างเหมาและการพิสูจน์ความเสียหายเพิ่มเติม
ค่าปรับรายวันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างคือเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคแรก นั่นเอง ส่วนค่าตัดลดเปลี่ยนแปลงรายการอันเป็นค่าเสียหายตามสัญญา จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคสอง ที่ให้บังคับตามบัญญัติแห่งมาตรา 380 วรรคสอง โจทก์จะเรียกค่าเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต่อเมื่อโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายสูงกว่าเบี้ยปรับที่กล่าวแล้ว โดยหากมีโจทก์ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวนที่สูงกว่าเบี้ยปรับนั้นอีกได้ สำหรับคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งไม่สูงไปกว่าเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาติดตั้งเสาไฟฟ้าและวัสดุอุปกรณ์: การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคล
สัญญาข้อ 3.2 ระบุหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์มีหน้าที่จัดหาแรงงานวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดและปฏิบัติงานทั้งสิ้นกับข้อ 3.3 ระบุว่าการไฟฟ้ามีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้และงานที่โจทก์ทำไป ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587ส่วนการที่โจทก์ที่ประเทศอินเดียมีโรงงานผลิตเสาไฟฟ้าแรงสูงจำหน่ายทั่วโลกนั้น ก็มิได้หมายความว่าผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายจะรับจ้างทำของด้วยไม่ได้ และข้อที่ปรากฏว่าการส่งเสาไฟฟ้าแรงสูงมายังประเทศไทย การไฟฟ้าจะเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและดำเนินการต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ซื้อนั้น ก็ปรากฏว่าค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างครั้งนี้ การไฟฟ้าจะจ่ายจากเงินที่กู้จากธนาคารโลกโดยให้ธนาคารโลกส่งเงินไปให้โจทก์โดยตรงที่ประเทศอินเดีย ฉะนั้น วิธีการปฏิบัติดังกล่าวน่าจะเพื่อให้สามารถแยกราคาค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ออกไปได้และเพื่อความสะดวกเท่านั้น หาทำให้สัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายรวมอยู่กับสัญญาจ้างทำของไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าโดยนำเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มารวมเป็นค่าจ้างหรือรายรับจากการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิด ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในประมวลรัษฎากรจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์จัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทยเพื่อดำเนินการตามสัญญาจ้างทำของก็เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ดำเนินการรับจ้างทำของในประเทศไทย วัสดุที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยจึงเป็นสัมภาระที่โจทก์จัดหามาเพื่อการรับจ้างทำของของโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการในประเทศไทยของโจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ส่วนที่การนำเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาได้กระทำโดยการไฟฟ้าสั่งซื้อ และการจ่ายเงินก็ได้ให้ธนาคารโลกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ประเทศอินเดียโดยตรง ก็เป็นเพราะการไฟฟ้าได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาจ่ายเป็นค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ วิธีการได้วัสดุมาดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและเพื่อความสะดวกบางอย่างเท่านั้น ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์จึงมิใช่เงินที่การไฟฟ้าซื้อจากโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวก็ย่อมรวมอยู่ในค่าจ้างทำของของโจทก์อันได้ดำเนินการในประเทศไทยนั่นเอง เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย มิใช่นำมาคำนวณเฉพาะค่าติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง เมื่อโจทก์มิได้นำเงินจำนวนนี้มาคำนวณในการเสียภาษีด้วย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตรวจสอบภาษีและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพียงพอแล้ว จึงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อหาต้นทุนสินค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) การประเมินจึงชอบแล้ว การที่เงินกำไรที่รวมอยู่ในค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้ส่งจากธนาคารโลกซึ่งอยู่ต่างประเทศไปยังประเทศอินเดียให้โจทก์โดยตรง ก็เนื่องจากการไฟฟ้าได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้จากธนาคารโลก การกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสะดวกเท่านั้น กรณีเท่ากับว่าธนาคารโลกได้ส่งเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มาให้การไฟฟ้าในประเทศไทย แล้วการไฟฟ้าผู้ว่าจ้างได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้สาขาโจทก์ในประเทศไทย และสาขาโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินไปยังโจทก์ในประเทศอินเดียนั่นเอง สาขาโจทก์ในประเทศไทยก็คือตัวโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ส่งหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย กรณีต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีโดยคำนวณหากำไรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาจ้างเหมาสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้ แม้รวมสิทธิริบผลงาน
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ตามสัญญาจ้างเหมามีสาระสำคัญว่า ถ้าจำเลยทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำงานต่อจากจำเลยได้ด้วย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่นใดตามจำนวนที่โจทก์ต้องเสียไปโดยสิ้นเชิง และถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้เรียกค่าเสียหายอันพึงมีได้อีกด้วย ดังนั้น แม้ยังไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างรายใหม่หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทำการก่อสร้างงานตามสัญญาต่อจากจำเลยจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ตามข้อความในสัญญาจ้างเหมานั้นเองเห็นเจตนารมณ์ได้ว่าถ้าหากจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างงานแทนจำเลย โดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องเสียค่าจ้างแพงกว่าเดิม โดยมิพักต้องรอให้งานก่อสร้างที่กระทำภายหลังต้องสำเร็จเสียก่อน เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย
ตามสัญญาจ้างเหมามีสาระสำคัญว่า ถ้าจำเลยทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำงานต่อจากจำเลยได้ด้วย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่นใดตามจำนวนที่โจทก์ต้องเสียไปโดยสิ้นเชิง และถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้เรียกค่าเสียหายอันพึงมีได้อีกด้วย ดังนั้น แม้ยังไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างรายใหม่หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทำการก่อสร้างงานตามสัญญาต่อจากจำเลยจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ตามข้อความในสัญญาจ้างเหมานั้นเองเห็นเจตนารมณ์ได้ว่าถ้าหากจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างงานแทนจำเลย โดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องเสียค่าจ้างแพงกว่าเดิม โดยมิพักต้องรอให้งานก่อสร้างที่กระทำภายหลังต้องสำเร็จเสียก่อน เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การลดค่าปรับ, สิทธิริบผลงาน, สัญญาจ้างเหมา
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์ จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ตาม สัญญา จ้าง เหมา มี สาระ สำคัญ ว่า ถ้า จำเลย ทำ ผิด สัญญา ข้อหนึ่ง ข้อใด โจทก์ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา นี้ ได้ และ มี อำนาจจ้าง ผู้อื่น ทำงาน ต่อ จาก จำเลย ได้ ด้วย โดย จำเลย ยอม จ่าย เงินค่าจ้าง และ ค่าใช้จ่าย อื่นใด ตาม จำนวน ที่ โจทก์ ต้อง เสีย ไปโดย สิ้นเชิง และ ถ้า ผู้ว่าจ้าง บอกเลิก สัญญา แล้ว ผู้รับจ้าง ยอม ให้ เรียก ค่าเสียหาย อัน พึง มี ได้ อีก ด้วย ดังนั้น แม้ ยัง ไม่ ปรากฏ ว่า ผู้รับจ้าง ราย ใหม่ หลังจาก โจทก์ บอกเลิก สัญญา ได้ ทำการ ก่อสร้าง งาน ตาม สัญญา ต่อ จาก จำเลย จน งาน แล้ว เสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ ตาม ข้อความ ใน สัญญา จ้างเหมา นั้นเอง เห็นเจตนารมณ์ ได้ ว่า ถ้า หาก จำเลย ผิดสัญญา โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ที่จะ จ้าง บุคคลอื่น ทำการ ก่อสร้าง งาน แทน จำเลย โดย จำเลย ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย และ โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก การ ที่ ต้องเสีย ค่าจ้าง แพง กว่า เดิม โดย มิพัก ต้อง รอ ให้งาน ก่อสร้าง ที่กระทำ ภายหลัง ต้อง สำเร็จ เสียก่อน เพราะ เป็น ที่ เห็น ได้ชัดว่า เป็น ความเสียหาย อันเกิด จากการ ผิดสัญญา ของ จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาล่าช้าและไม่เป็นไปตามสัญญา ผู้รับจ้างผิดสัญญา แม้โจทก์ยินยอมให้จัดหาเครื่องจักรจากต่างประเทศก็ไม่ถือเป็นการผ่อนผันเวลา
ตามสัญญาการจ้างเหมามีข้อความว่า จำเลยผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสร้างระบบน้ำประปาให้โจทก์ผู้ว่าจ้างซึ่งรวมถึงการสร้างหอส่งน้ำสายล่อฟ้าการวางท่อเมนส่งน้ำ ท่อต่อส่งไปยังอาคารต่าง ๆ และการจัดหาการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบาดาลตามชนิด คุณภาพและขนาดที่กำหนดให้โจทก์โดยครบถ้วนถูกต้องตามสัญญา และส่งมอบการงานให้โจทก์ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับมอบสถานที่ ถ้าจำเลยทำการงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดในสัญญาจะเป็นด้วยอุปสรรคใด ๆ ก็ตาม จำเลยจะต้องทำงานต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยยอมให้โจทก์ผู้ว่าจ้างริบเงินประกันที่วางไว้ หรือเสียค่าปรับวันละ 1,001 บาท นอกจากจะได้รับแจ้งจากโจทก์ให้งดทำการต่อไป โจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำและเรียกร้องค่าเสียหาย เว้นไว้แต่โจทก์ได้ยอมผ่อนผันเลื่อนเวลาต่อออกไปให้โดยแสดงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ตกลงเลื่อนกำหนดเวลาการทำงานต่อไปให้อีกเท่าใด และยอมสละสิทธิในการริบเงินประกันหรือการปรับให้ด้วย เมื่อจำเลยส่งมอบงานงวดที่ 7 ช้ากว่ากำหนด 81 วันแล้ว จำเลยมีหนังสือขอต่ออายุสัญญาแต่โจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ต่ออายุสัญญา ต่อมาจำเลยส่งมอบเครื่องสูบน้ำให้โจทก์ คุณภาพและระบบไฟไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์ไม่ยอมรับ และจำเลยมีหนังสือขอให้โจทก์งดการปรับโจทก์ไม่ตอบทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทักท้วงแต่อย่างใด จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องตระเตรียม จัดหา ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แต่ไม่จัดหาและติดตั้งให้โจทก์ให้ทันตามสัญญาโดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตราบใดที่โจทก์ไม่ได้มีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ตกลงเลื่อนกำหนดเวลาการทำงานและยอมสละสิทธิในการริบเงินประกันในการปรับแล้วเพียงเหตุที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยจัดหาเครื่องสูบน้ำมาจากต่างประเทศจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ยินยอมให้ต่ออายุสัญญาหรือยอมสละสิทธิในการริบเงินประกันในการปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การชำระเงินค่าจ้างเมื่อผลงานเสร็จและผ่านการตรวจรับ แม้จำเลยยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้าง
ข้อความในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ข้อ 5 ที่ว่า "ผู้ว่าจ้าง(จำเลย) ตกลงจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 36,977 บาท เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเหมา เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริงและได้ผ่านการตรวจรับงานจากบริษัท ว. และและวิศวกรผู้ควบคุมงานแล้ว โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัท ว." นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่ว่า "เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริง และได้ผ่านการตรวจรับงานตามที่ระบุไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่ข้อความส่วนที่สองที่ว่า" โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัทว." หาใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระเงินค่าจ้างไม่ เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่มุ่งหมายให้จำเลยเร่งรัดให้บริษัท ว. ชำระค่าก่อสร้างแก่จำเลยตามสัญญาที่จำเลยทำกับบริษัท ว. เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จและผ่านการตรวจรับงานตามเงื่อนไขในสัญญาส่วนแรกแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำงานเสร็จส่งมอบงานและมีการตรวจรับงานตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินงวดจากบริษัท ว. จึงไม่ต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6279/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าก่อสร้าง: สัญญาจ้างเหมาเลิกกันแล้ว เงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 8 ไม่ใช่สิทธิของจำเลย
หุ้นส่วนและผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 เข้าไปทำการก่อสร้างงานงวดที่ 8 ในฐานะที่ตนเป็นผู้รับจ้างจากผู้ร้อง มิใช่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เงินที่โจทก์ขออายัดนั้นจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยที่ 1 จะมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่อาจขออายัดเงินจำนวนดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าจ้างงานงวดที่ 8 ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยในผลของประเด็นที่ว่ามีเงินค่าจ้างของจำเลยที่ 1อยู่ที่ผู้ร้องตามที่ขออายัดหรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่ากันมาโดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาทำงานไม่แล้วเสร็จ ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนต่างราคาประมูลใหม่
สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้