คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องได้เอง นายจ้างเรียกค่าจ้างคืนไม่ได้
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่เป็นสินสมรส การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องได้ตามลำพังตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี การที่โจทก์มาทำงานสายและทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ครบตามเวลาที่กำหนด หากเป็นการผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยชอบที่จะลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวได้ หาชอบที่จะเรียกเงินค่าจ้างคืนจากโจทก์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอำนาจศาลแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาตัวแทน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแยกเป็น 2 ประการ คือนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ และเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ปัญหาข้อแรก อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงาน โดยพิเคราะห์จากคำฟ้อง คำให้การ ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยและพยานเอกสารและคำสั่งของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ใช่สัญญาตัวแทน ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายืนตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่รับว่ามีความสัมพันธ์สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลย
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแยกเป็น 2 ประการคือนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่และเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ปัญหาข้อแรก อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงาน โดยพิเคราะห์จากคำฟ้อง คำให้การ ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยและพยานเอกสารและคำสั่งของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ใช่สัญญาตัวแทน ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ร่วมกันอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และระบุว่ากรณีจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวทำให้ข้าวเปลือกที่โจทก์รับฝากไว้ในคลังสินค้าขาดหายไป ดังนี้คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญยาจ้างแรงงานอันมีอายุความฟ้องร้อง 10ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดฐานกระทำละเมิดตามมาตรา 420 อันมีอายุความฟ้องร้อง 1ปีตามมาตรา 448 วรรคแรกไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิด: ใช้มาตรา 164 ป.พ.พ. หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการ สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้กำหนดอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน, ความรับผิดของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา, การชดใช้ค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธิปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป. ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง ป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตาม มาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากสัญญาจ้างแรงงานและการปฏิบัติผิดสัญญา vs. ละเมิด และความรับผิดของลูกจ้างร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป.ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่ ป.ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตามมาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุด และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของนายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยกับโจทก์ต้องผูกพันกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ทำให้ความเป็นลูกจ้างนายจ้างสิ้นสุดลง คงเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะได้กำหนดขึ้น เมื่อโจทก์ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ จำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างตามข้อผูกพันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนี้ โจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วยอายุความในการฟ้องร้องจึงต้องถืออายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ตกเป็นผู้ผิดนัดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีฟ้องเองได้ ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้ โบนัสจ่ายเมื่อทำงานครบปี
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเก็บเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส หญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย
นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ถูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาจ้างแรงงาน, อำนาจฟ้องของหญิงมีสามี, ค่าชดเชย, โบนัส, ค่านายหน้า
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคมลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ
of 12