พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฎิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับให้จำเลยต้องปฎิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่พร้อมชำระหนี้ของทั้งสองฝ่ายทำให้สัญญาเลิกกันโดยปริยาย
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ประมาณ 3,400 ตารางวา ในราคา 18,360,000 บาท มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องถมที่ดินทั้งแปลง ทำถนนลาดยางเข้าสู่ที่ดินจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า 3 สายจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย แบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายออกเป็น 6 โฉนด และจดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะและมีข้อตกลงอื่นอีก ส่วนโจทก์จะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันนัดไปจด ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากโจทก์ผิดนัดยอมให้จำเลยทั้งสองริบเงินมัดจำแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 3,672,000 บาท ในวันครบกำหนดที่โจทก์และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจำเลยมิได้ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังที่ดิน ที่จะซื้อขายกันไว้ตามสัญญา และจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกออกไปมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ และ ในวันนัดไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย ต่างก็ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญา จะซื้อขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสองต่างมีหนี้ที่จะชำระเป็นการตอบแทนกัน เมื่อโจทก์ไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยคืนมัดจำและชำระค่าปรับตามสัญญา โดยมิได้เรียกร้องให้บังคับจำเลย ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา และจำเลยให้การ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยมิได้ฟ้องแย้งให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันจำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนและการบังคับคดี
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ภายในกำหนดวันดังกล่าว โจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ปรากฏว่าในวันที่ 28 เมษายน 2538 จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัด หากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไร แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญา กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่30 เมษายน 2534 และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ภายในกำหนดวันดังกล่าว โจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอนปรากฏว่าในวันที่ 28 เมษายน 2538 จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัด หากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไร แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญา กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่างตอบแทน: การปฏิบัติตามสัญญาต้องพร้อมกันทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติตามเช่นกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าจำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่30เมษายน2534และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน40,000บาทภายในกำหนดวันดังกล่าวโจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอนปรากฏว่าในวันที่28เมษายน2538จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัดหากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่ายแต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไรแสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญากรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทน 10 ปี ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 ดังนั้น คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความตามมาตรา 601 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหาร ยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์ โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหาร ยา และวัคซีน ซึ่งจำเลยได้ใช้ไป คงเหลือยอดสุทธิเท่าใด ให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลย สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน จึงมิใช่สัญญาจ้างทำของ หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามสัญญาการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหาร ยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์ โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหาร ยา และวัคซีน ซึ่งจำเลยได้ใช้ไป คงเหลือยอดสุทธิเท่าใด ให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลย สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน จึงมิใช่สัญญาจ้างทำของ หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี มิใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน6เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ดังนั้นคดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา671หรือไม่เท่านั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด1ปีคดีจึงขาดอายุความตามมาตรา601จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามสัญญาการเลี้ยงการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่อาหารยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหารยาและวัคซีนซึ่งจำเลยได้ใช้ไปคงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่สัญญาจ้างทำของหากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย แม้จะมีการกำหนดให้ชำระเงินเป็นงวด ๆ รวม 4 งวด โดยกำหนดวันชำระเงินแต่ละงวดไว้แน่นอนก็ตาม แต่สัญญาก็มีข้อความระบุว่าถ้าโจทก์จ่ายเงินในแต่ละงวดไม่ทันตามกำหนด โจทก์ยินยอมเสียดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารให้จำเลยทั้งสอง และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31ธันวาคม 2532 หากโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินไม่เสร็จภายในกำหนดดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา แสดงว่า ในการชำระเงินตามงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3คู่สัญญามิได้ถือเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องชำระเงินแต่ละงวดให้จำเลยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยคู่สัญญายอมให้โจทก์ชำระเงินแต่ละงวดล่าช้ากว่ากำหนดได้ เพียงแต่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้จำเลยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร คงมีแต่เฉพาะงวดที่ 4 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายเท่านั้นที่โจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองเนื่องจากการชำระเงินไม่ตรงตามงวด โดยโจทก์ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31ธันวาคม 2532 มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ดังนั้น การที่โจทก์มิได้ชำระเงินในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3 ตามกำหนดเวลาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่ และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกำหนดระยะเวลาขึ้นมาใหม่ แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินภายในระยะเวลานั้น โดยแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา อันจะเป็นผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ได้ เพราะหนังสือสัญญาจะซื้อขายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระไว้แน่นอนตายตัวแล้ว คือ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2532การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือทวงถามโจทก์ให้ชำระเงินในงวดที่ 1 โดยกำหนดเวลาให้ชำระภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2532 และโจทก์ได้รับหนังสือทวงถามของจำเลยทั้งสองแล้ว แต่โจทก์ไม่ชำระเงินให้จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เช่นนั้น การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงหาเป็นผลให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นอันเลิกกันไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองยังคงมีผลผูกพันต่อกันอยู่ แต่การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลา ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายอีกต่อไป ดังนั้น กำหนดเวลาตามสัญญาที่ให้จำเลยทั้งสองไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2532 จึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นเสียแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 154วรรคสอง เดิม เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 ธันวาคม 2532 แจ้งให้จำเลยทั้งสองไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 15 ธันวาคม 2532 จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว ไม่ไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2532 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้จากสัญญาต่างตอบแทนที่ไม่สมบูรณ์ การออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันก่อนการทำงานไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยที่2ว่าจ้างให้พ.ถมดินซึ่งพ.ขอให้จำเลยที่2สั่งจ่ายเช็คพิพาทก่อนเพื่อไปแสดงกับเจ้าของรถบรรทุกสิบล้อที่จะนำมาใช้ในการถมดินแต่หลังจากนั้นพ. ไม่ถมดินให้จำเลยที่2มีสิทธิจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าพ. จะชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนฉะนั้นในขณะจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คหนี้ระหว่างจำเลยที่2กับพ. ยังบังคับกันไม่ได้จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่