พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปได้ หากเงื่อนไขไม่สำเร็จผล ทำให้คำพิพากษาตามยอมเป็นอันตกไป โจทก์ฟ้องซ้ำได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกับคดีหลัง แต่คดีก่อนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีหลังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นคดีหนึ่งซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นกัน จึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีหลัง โจทก์จึงฟ้องคดีหลังได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10872/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจากสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. สิทธิได้มาโดยครอบครองปรปักษ์: ผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันเฉพาะคู่กรณี แม้ศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็เพียงแต่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเท่านั้น แต่สิทธิของผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นด้วยผลของกฎหมาย เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดยืนยันสิทธิดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน ส. กับพวก ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันทุกคน และผลของคำพิพากษานั้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ให้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก่อนการจดทะเบียนสิทธิให้แก่โจทก์จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยพินัยกรรมและสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์หมดอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินที่แบ่งไป
โจทก์และ ส. ตกลงแบ่งมรดกเจ้ามรดกทั้งที่มีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 1.3 ว่า โจทก์ยอมสละที่ดินตามฟ้องทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เมื่อโจทก์และ ส. ลงลายมือชื่อไว้จึงต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ถือได้ว่าที่ดินตามฟ้องทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้แบ่งปันไปเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้จัดการมรดกที่จะใช้สิทธิขอแบ่งหรือมีอำนาจจัดการอีกต่อไป ดังนั้นหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ประการใดก็เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินจะไปว่ากล่าวแก่จำเลยต่างหากหาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้ และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่า ในกรณีจำเลยทั้งสี่ผิดนัดยอมชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากจำนวนที่ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ และจำเลยทั้งสี่ผิดนัด แต่เมื่อถึงวันนัดพร้อมโจทก์แถลงต่อศาลว่า จะให้โอกาสจำเลยทั้งสี่อีกครั้งโดยให้ชำระเงินส่วนค้างทั้งหมดแก่โจทก์ส่วนที่เหลือให้ชำระตามวันเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้แถลงขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยในยอดเงินที่ค้างชำระด้วย แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยจากยอดเงินที่จำเลยทั้งสี่ผิดนัด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยแสดงเจตนาแก่จำเลยทั้งสี่ว่าติดใจจะเรียกร้องดอกเบี้ยส่วนนี้แต่อย่างใด จนกระทั่งจำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ทั้งหมดครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ แม้จะอ้างสำคัญผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น
ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 แปลความได้ว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด สัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดย่อมต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีตามข้อความในสัญญา ข้อ 4 ส่วนข้อความในสัญญาข้อ 2.1 ที่ว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้วแต่ไม่เกิน 1 ปี ดังกล่าวในข้อ 2 มีความหมายชัดเจนถึงว่า หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เมื่อใดจำเลยทั้งสอง ก็จะชำระเงินให้แก่โจทก์เมื่อนั้น แต่หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสองก็ยังจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 2นั่นเอง
กรณีที่จะต้องมีการตีความข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น
ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 แปลความได้ว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด สัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดย่อมต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีตามข้อความในสัญญา ข้อ 4 ส่วนข้อความในสัญญาข้อ 2.1 ที่ว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้วแต่ไม่เกิน 1 ปี ดังกล่าวในข้อ 2 มีความหมายชัดเจนถึงว่า หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เมื่อใดจำเลยทั้งสอง ก็จะชำระเงินให้แก่โจทก์เมื่อนั้น แต่หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสองก็ยังจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 2นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นตามกฎหมาย และต้องมีส่วนได้เสียโดยตรง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุแต่เพียงจำนวนเนื้อที่ที่แบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่นเป็นการแบ่งอย่างเลื่อนลอยไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินที่ได้รับแบ่งตั้งอยู่ส่วนใด มีอาณาเขตอย่างไร ผู้ได้รับส่วนแบ่งไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินกันได้ถูกต้อง จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลฎีกาส่งเรื่องคืนให้ศาลชั้นต้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งแยกที่ดินกันให้มีอาณาเขตแน่นอนว่าส่วนใดเป็นของใครบ้างนั้น ไม่เข้าเหตุหนึ่งเหตุใด ตามข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งโจทก์จะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาได้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มโฉนดที่ดินใหม่ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ข้อที่โจทก์หรือจำเลยทั้งสองขอเพิ่มนั้นเป็นการเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินอีก 1 แปลง เข้ามาใหม่ กรณีจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันตามคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 เท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองขอเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินอีก 1 แปลงเข้ามาใหม่ ซึ่งผิดไปจากเดิม จึงมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไข โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่อาจขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มโฉนดที่ดินใหม่ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ข้อที่โจทก์หรือจำเลยทั้งสองขอเพิ่มนั้นเป็นการเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินอีก 1 แปลงเข้าใหม่กรณีจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มเติมโฉนดที่ดินไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่จะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เท่านั้น เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองขอเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินอีก 1 แปลง เข้ามาใหม่ จึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้