คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเพื่อประโยชน์บุคคลที่สาม: สิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก & ผลบังคับของสัญญา
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการโครงการติดตั้งไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 รับเป็นผู้จัดทำให้กับ โอ.ไอ.ซี.ซี ซึ่งเป็นหน่วยราชการของกองทัพเรือสหรัฐ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการรับจ้างทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี มีข้อความด้วยว่า 'และถ้าหากว่าตัวการ (จำเลยที่ 1) จะต้องจ่ายเงินให้กับบุคคลใดๆ อันเป็นบุคคลที่สามโดยทันทีเพื่อค่าอุปกรณ์ค่าแรงงาน หรือค่าวัสดุเพื่อการดำเนินการในสัญญาตามสัญญานั้น และโดยไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ค้ำประกันทราบ หนังสือฉบับนี้ยังคงให้มีผลบังคับและให้มีอำนาจบังคับได้ และจะสิ้นผลบังคับเมื่อตัวการ (จำเลยที่ 1) ได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยถูกต้องทุกประการแล้ว' ข้อกำหนดนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะค้ำประกันไม่มีระบุให้ความรับผิดของผู้ค้ำประกันคลุมเลยไปถึงบุคคลที่สามก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญามีข้อความผูกพันตนต่อโอ.ไอ.ซี.ซี เพื่อชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่สาม ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับบุคคลนั้นสัญญาดังกล่าวนี้ก็เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใดจึงมีผลบังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาท้ายฟ้องโจทก์ ศาลก็ย่อมรับฟังสัญญาค้ำประกันนั้นได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้-โอนสิทธิจำนอง: สัญญาผูกพัน-ดอกเบี้ย-จำกัดการคิดดอกเบี้ยทบต้น
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้อง และในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาล ซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัดซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องทำเป็นหนังสือ หากยังไม่ได้ทำสัญญาเสร็จสมบูรณ์ แม้จะมีการมอบเงินแล้ว สัญญาจึงยังไม่ผูกพัน
โจทก์เป็นข้าราชการครูและเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลย ได้ยื่นคำขอกู้เงินจำเลย 6,500 บาท โดยมอบอำนาจให้ ว. ศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยเป็นผู้รับเงินแทน ในหนังสือมอบอำนาจนั้นระบุไว้ด้วยว่าเมื่อโจทก์ได้รับเงินกู้จากผู้รับมอบอำนาจ โจทก์จะลงลายมือชื่อในหนังสือกู้และให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันตามแบบของสหกรณ์ให้เสร็จไปจำเลยยอมให้กู้เพียง 6,300 บาท น้อยกว่าที่โจทก์เสนอ และได้มอบเงินให้ ว.รับไปโดย ว. ทำคำรับรองให้ไว้ต่อจำเลยว่าจะนำเงินรายนี้ไปจ่ายให้ผู้กู้ และเมื่อจ่ายเงิน จะได้จัดให้ผู้กู้และผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในหนังสือกู้และหนังสือค้ำประกันต่อหน้า ว. ซึ่งจะได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วย แล้วจะได้จัดส่งหนังสือกู้และค้ำประกันต่อจำเลยโดยเร็วที่สุด ว. จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยอยู่ด้วย เมื่อ ว.ยังไม่ได้มอบเงินให้โจทก์ จะถือว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่ยืมให้โจทก์แล้วยังไม่ได้ ทั้งตามหนังสือมอบอำนาจและคำรับรองของ ว. ก็มีข้อความแสดงอยู่ว่า การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา366 วรรคท้าย ให้นับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือ การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผูกพันรับราชการ: การปลดออกจากราชการไม่ปลดจากพันธสัญญาค้ำประกัน
นักเรียนจ่าในสถานศึกษาของกองทัพเรือซึ่งทำสัญญาไว้ว่าเมื่อเรียนสำเร็จ จะต้องรับราชการในสังกัดกองทัพเรือไม่น้อยกว่า 5 ปี มิฉะนั้นต้องเสียค่าตอบแทน แม้การที่รับราชการไม่ครบ เป็นเพราะทางราชการสั่งปลด เนื่องจากกระทำผิดวินัยย่อมถือว่าผู้นั้นกระทำตนเองให้ไม่อาจรับราชการต่อไปได้ จึงต้องใช้ค่าตอบแทนตามสัญญา กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ากองทัพเรือบอกเลิกสัญญาหรือบอกปัดการชำระหนี้ของลูกหนี้
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต เจ้าหนี้ย่อมทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้
คดีฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนในการที่นักเรียนจ่ามิได้รับราชการให้ครบกำหนดตามสัญญา ไม่อยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(11), (12), (13)
กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือและป้องกันราชอาณาจักรการจัดตั้งสถานศึกษาฝึกคนเตรียมกำลังไว้ย่อมเป็นหน้าที่ การที่กองทัพเรือทำสัญญาผูกมัดบุคคลที่เข้าศึกษาอบรมให้รับราชการในสังกัดตามระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นต้องเสียค่าตอบแทน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหาย ย่อมอยู่ในอำนาจของกองทัพเรือ หาเป็นการนอกขอบเขตแห่งวัตถุที่ประสงค์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัตยาบันสัญญาโดยบริษัท แม้ไม่มีตราบริษัท สัญญาผูกพันเมื่อบริษัทได้รับประโยชน์และใช้สัญญานั้น
ประธานกรรมการบริษัทจำกัด ไปทำสัญญาแทนบริษัทโดยมิได้ประทับตราตามข้อบังคับ ถ้าบริษัทได้นำเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน ย่อมถือว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันบริษัทแล้ว บริษัทจะปฏิเสธไม่รับผิด และขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำเหมืองแร่และการโอนประทานบัตรตามกฎหมายเหมืองแร่ สัญญาผูกพันระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้รับประทานบัตร
บ.ผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองแร่ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินของบ. ได้โอนตกมาเป็นของบริษัทโจทก์ รวมทั้งประทานบัตรรายนี้ด้วย การที่คณะรัฐมนตรีต้องเป็นผู้อนุมัติให้บริษัทโจทก์ถือประทานบัตรสืบเนื่องจาก บ. ก็เพราะ พ.ร.บ. การทำเหมืองแร่ พ.ศ. 2461 มาตรา 46 บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะอนุญาตในกรณีเข้าถือประทานบัตรสืบเนื่องจากเจ้าของเดิมผู้ถึงแก่กรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์ยื่นเรื่องราวขอประทานบัตรขึ้นมาใหม่เป็นคนละรายต่างหาก บ.โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ผ. ทำสัญญาให้ไว้แก่ บ. ยอมให้ บ. ทำเหมืองแร่ในที่ดินของ ผ. ได้ตามเรื่องราวที่ขอประทานบัตร ต่อมา บ. ถึงแก่กรรมและบริษัทโจทก์ถือประทานบัตรนี้สืบเนื่องจาก บ. ตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ดังกล่าวแล้ว ฝ่ายผ. ก็ถึงแก่กรรมและที่ดินของ ผ. ก็เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย โจทก์จำเลยย่อมรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยขัดขวางไม่ยอมให้บริษัทโจทก์เข้าทำเหมืองแร่ในที่ดินนี้ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประมูลและการยินยอมให้ทำประโยชน์ แม้มิได้ทำสัญญาตามระเบียบ แต่หากมีการยินยอมและทำประโยชน์แล้ว สัญญาก็มีผลผูกพัน
ในเรื่องการประมูลผูกขาดทำประมง มีกฎกระทรวงเกษตรฯ วางระเบียบว่าเมื่อชี้ขาดให้ผู้ใดได้รับประมูลแล้ว ก็ให้เรียกผู้นั้นมาชำระเงินและดำเนินการออกประทานบัตรตามแบบพิมพ์ ปรากฏว่าจำเลยประมูลได้และได้วางเงินมัดจำไว้10% แล้วจำเลยไม่มาทำสัญญาตามแบบพิมพ์ และเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ออกประทานบัตรให้ถ้าหากเจ้าหน้าที่ได้ยินยอมอนุญาตให้จำเลยเข้าทำประมงตามที่ประมูลได้นั้นและจำเลยเข้าทำ ก็ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้วการไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้ไม่ได้ทำให้สัญญาเป็นโมฆะหรือฟ้องร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดก: หนังสือถึงนายอำเภอถือเป็นสัญญาที่ผูกพันได้
โจทก์จำเลยร่วมกันทำหนังสือถึงนายอำเภอ ขอให้จัดการทำนิติกรรมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นมรดกตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ เป็นสัญญาประณีประนอมยอมความกันโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 850.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากำหนดตลอดไปขัดต่อกฎหมาย หากเกิน 3 ปี สัญญาข้อผูกพันทั้งสองฝ่ายไม่มีผลบังคับ
สัญญาเช่าที่มีข้อสัญญาผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ว่าการเช่าจะต้องมีอยู่ตลอดไป เว้นแต่จะมีเหตุการบางประการเกิดขึ้นนั้น เป็นสัญญาที่มุ่งหวังประโยชน์ในการเช่ากันเกิน 3 ปีขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 ไม่มีผลใช้บังคับได้เกิน 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามสัญญายอมความต้องเป็นไปโดยความยินยอมของผู้เช่า หากไม่ยินยอม สัญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพัน
การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าเคหะทำยอมกันว่า ผู้เช่ายอมออกไปภายในกำหนดวันแน่นอน ฝ่ายผู้ให้เช่ายอมจะชำระเงินให้หนึ่งหมื่นบาทและยอมให้ผู้เช่ารื้อสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าทำไว้ไป แต่แล้วผู้เช่ากลับไม่ยอมออกไป จนต้องศาลมีหมายจับมาขัง จึงยอมออกไปและเป็นเวลาล่วงเลยมา ถึง 1 ปี 4 เดือน นับจากวันยอม ดังนี้ ถือว่าผู้เช่าและบริวารมิได้ออกจากที่เช่าไปโดยความยินยอม หรือสมัครใจ ผู้เช่าจะมาขอให้ศาลบังคับผู้ให้เช่าให้ปฏิบัติศาลยอมมิได้
of 6